หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01T32

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    T3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถปฏิบัติงานสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิโดยปราศจากการควบคุมสามารถประเมินแหล่งที่มาของค่าความไม่แน่นอนในการวัดและคำนวณค่าความไม่แน่นอนในการวัดและการพิมพ์ใบรายงานผลเพื่อให้ผู้มีอำนาจลงนามได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - ISO/IEC 17025  General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01T3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 1.ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T3201.01 141960
01T3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 2.วิธีการแปลผลการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T3201.02 141961
01T3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 3.ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T3201.03 141962
01T3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 4.ใช้ข้อมูลจากใบรับรองการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T3201.04 141963
01T3202 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 1.ปฏิบัติตามข้อกำหนดของการออกใบรับรองการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 01T3202.01 141964
01T3202 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 2.ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T3202.02 141965

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ผ่านหน่วยสมรรถนะของสาขาอาชีพผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดทางด้านอุณหภูมิ ชั้น 2


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การออกใบรับรองการสอบเทียบตามขั้นตอนของห้องปฏิบัติการ

    2. การใช้ข้อมูลจากใบรับรองการสอบเทียบมาตรฐานอ้างอิง

    3. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้ข้อกำหนดการออกใบรับรองการสอบเทียบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

    2. เข้าใจขั้นตอนการออกใบรับรอง

    3. ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์

    4. การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ผลการสอบเทียบที่ถูกต้องแม่นยำ

        2. คิดค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสามารถในการวัดซ้ำ

        3. ประเมิน คำนวณค่าความไม่แน่นอน

        4. ใบรายงานผลการสอบเทียบครบถ้วนตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025

    (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสอบเทียบ

        2. ผลการสอบข้อเขียนหรือสัมภาษณ์

        3. ใบรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

        4. ใบรับรองการฝึกอบรมการคิดค่าความไม่แน่นอนในการวัด

        5. ใบรับรองการฝึกอบรมข้อกำหนด ISO/IEC 17025

    (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินความต้องการหลักฐาน โดยพิจารณาจากจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาหลักฐานการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจากสถานที่ทำงาน

        2. พิจารณาการเปรียบเทียบผลการวัดกับผู้เชี่ยวชาญหรือสิ่งที่รู้ค่า

        3. พิจารณาใบรับรองการฝึกอบรมจากหน่วยงานฝึกอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. ทำใบรายงานผลการสอบเทียบให้เป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025 ในหัวข้อการ “การจัดทำใบรายงานผล”

        2. รู้สถิติ และคณิตศาสตร์เบื้องต้น

        3. ตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับ การถ่ายโอนข้อมูล  การพิมพ์ผิด

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. สถิติเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย  ค่ากลาง ความแปรปรวน  ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น

        2. คณิตศาสตร์เบื้องต้น เช่น การปัดเศษ  เลขนัยสำคัญ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 วิธีการประเมิน ทวนสอบผลการสอบเทียบ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2 วิธีการประเมิน จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบ    

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ