หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิขั้นต้น

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01T22

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิขั้นต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    T2 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ ชั้น 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยสามารถรู้และเข้าใจความเป็นมาด้านมาตรวิทยาคำจำกัดความมาตรวิทยาพื้นฐาน หน่วย SI Unit การใช้การอ่านค่าการดูแลรักษา Volt/Ohm Meter หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดอุณหภูมิการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมการบันทึกผลการสอบเทียบภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - ปฏิบัติตามแนวทางการสอบเทียบ Euramet CG-08 หรือASTM 01E220    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01T2201 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 1.เลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2201.01 141946
01T2201 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 2.เตรียมความพร้อมเครื่องมือมาตรฐานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2201.02 141947
01T2201 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 3.กรอกรายละเอียดในแบบบันทึกตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2201.03 141948
01T2202 สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 1.ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีดำเนินการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2202.01 141949
01T2203 บันทึกผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 1.บันทึกผลการสอบเทียบให้ครบถ้วนตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2203.01 141950
01T2204 คำนวณผลการสอบเทียบด้านอุณหภูมิ 1.ใช้เครื่องมือคำนวณในการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2204.01 141951

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    มีความรู้ความเข้าใจภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพ วงจรไฟฟ้าฟ้าเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยและการปนเปื้อนของตัวอย่าง

    2. อธิบายความเป็นมามาตรวิทยา และบอกหน่วย SI ทางด้านอุณหภูมิ

    3. เลือกใช้เครื่องมือการตั้งค่าและจัดเก็บตามที่ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนด

    4.การวัดแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

    5. บันทึกผลการสอบเทียบได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ชนิดประเภท และใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

    2. วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น

    3. เครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันขณะปฏิบัติงานในขณะหยิบจับอุปกรณ์ที่มีมีความร้อนและอ่อนไหวกับการปนเปื้อน

        2. อธิบายถึงหลักการและเหตุผลในการรักษาความลับ

        3. อธิบายการทำงานของเครื่องมือวัดทางด้านอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบ

        4. การทำความสะอาดและการเก็บรักษาเครื่องมือ

        5.สอบเทียบและบันทึกค่าเป็นไปตามที่คู่มือปฏิบัติงานกำหนดและให้ผลที่ถูกต้อง

    (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสอบข้อเขียนหรือสัมภาษณ์

        2. ใบรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

        3. ใบรับรองการฝึกอบรมการสอบเทียบเครื่องมือวัดทางด้านอุณหภูมิ

    (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบ โดยพิจารณาจากหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องทั้ง หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาหลักฐานการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจากสถานที่ทำงาน

        2. พิจารณาการเปรียบเทียบผลการวัดกับผู้เชี่ยวชาญหรือสิ่งที่รู้ค่า

        3. พิจารณาใบรับรองการฝึกอบรมจากหน่วยงานฝึกอบรม

        4. พิจารณาการให้สัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

        1. เครื่องมือวัดอุณหภูมิขั้นต้นได้แก่ เทอร์โมมิเตอร์แบบแท่งแก้ว(Liquid in glass thermometer), ตัววัดอุณหภูมิชนิดความต้านทาน (Resistance Temperature Detector) (RTD), เทอร์โมคัปเปิล(Thermocouple Temperature Indicator/Controller with RTD), Temperature Indicator/Controller with Thermocouple

        2. การประเมินโดยการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานเพื่อให้ผลการสอบเทียบที่ให้ค่าถูกต้อง แม่นยำจะต้องทำภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกันหรือเบี่ยงเบนไม่เกินไปจากที่กำหนดระหว่างผู้เชี่ยวชาญหรือสิ่งที่รู้ค่า

    (ก)  คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยและการปนเปื้อนของตัวอย่าง

        2. ผู้เข้าร่วมการประเมินต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน

        3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องตั้งค่าอุปกรณ์-เครื่องมือในการสอบเทียบด้วยความระมัดระวังรวมถึงแหล่งจ่ายไฟที่เหมาะกับอุปกรณ์นั้นๆ

        4. ผู้เข้าร่วมการประเมินให้บันทึกค่าการสอบเทียบที่ให้ผลการวัดถูกต้องโดยเบี่ยงเบนไม่เกิน คือ EN <= 1

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1. การปนเปื้อนเช่นการที่สัมผัสโดยตรงกับกับตัวอย่างหรือสัมผัสกับของเหลวหรือใช้งานที่ไม่เหมาะสม

        2. การตั้งค่าอุปกรณ์ต้องเป็นไปตามที่คู่มือกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1  วิธีการประเมินเตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิ

        1. แบบฟอร์มประเมินการสังเกต

        2. ข้อสอบ

    18.2 วิธีการประเมินสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิ     

        1. แบบฟอร์มประเมินการสังเกต

        2. ข้อสอบ

    18.3 วิธีการประเมินคำนวณผลการสอบเทียบ

        1. แบบฟอร์มประเมินการสังเกต



ยินดีต้อนรับ