หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้งานเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01T21

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้งานเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    T2 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ ชั้น 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถรู้และเข้าใจความเป็นมาด้านมาตรวิทยาคำจำกัดความมาตรวิทยาพื้นฐาน หน่วยวัดสากล(SI Unit) การใช้การอ่านค่าการดูแลรักษา Volt/Ohm Meter หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดอุณหภูมิการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01T2101 ใช้งานเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 1.เลือกใช้ชนิดและประเภทของเครื่องมือวัดอุณหภูมิตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2101.01 141943
01T2101 ใช้งานเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 2.สามารถใช้งานและอ่านค่าได้ถูกวิธีตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2101.02 141944
01T2102 ดูแลรักษาเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ 1.สามารถดูแลบำรุงรักษาขนย้ายและจัดเก็บเครื่องมือวัดอุณหภูมิตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01T2102.01 141945

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านอุณหภูมิ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. เลือกใช้เครื่องมือการตั้งค่าและจัดเก็บตามที่ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่กำหนด

    2. การวัดแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น

    2. เครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. อธิบายการทำงานของเครื่องมือวัดทางด้านอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบ

        2. การสังเกตการณ์ทำความสะอาดและการเก็บรักษาเครื่องมือ

    (ข)หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสอบข้อเขียนหรือสัมภาษณ์

        2. ใบรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ

        3. ใบรับรองการฝึกอบรมการสอบเทียบเครื่องมือวัดทางด้านอุณหภูมิ

    (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้และดูแลรักษาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ การสอบเทียบด้านอุณหภูมิ     โดยพิจารณาจากหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. เครื่องมือวัดมือวัดอุณหภูมิวัดอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมคือ ดิจิตอล เทอร์โมมิเตอร์ (Digital Thermometer  with Thermocouple, (Digital Thermometer with RTD, Digital Thermometer with Thermistor), เทอร์โมมิเตอร์แบบแท่งแก้ว(Liquid in glass Thermometer)

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1.การดูแลรักษาตามคู่มือหรือวิธีการที่กำหนดระยะเวลาตามแผนของห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดอุณหภูมิได้แก่  Liquid in Glass Thermometer,  Resistance Temperature Detector (RTD), Thermocouple  และ เครื่องอ่านอุณหภูมิเครื่องกำเนิดอุณหภูมิได้แก่  Dryblock Bath

        2.เครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อม ได้แก่ เครื่องมือวัดอุณหภูมิ เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เครื่องมือวัดความดันบรรยากาศ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 วิธีการประเมิน ใช้งานเครื่องมือวัดอุณหภูมิ

        1. แบบฟอร์มประเมินการสังเกต

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2 วิธีการประเมิน ดูแลรักษาเครื่องมือวัดอุณหภูมิ     

        1. แบบฟอร์มประเมินการสังเกต

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ