หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ระบบมาตรวิทยาเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01A21

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ระบบมาตรวิทยาเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    A2 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด ชั้น 2 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถรู้และเข้าใจความเป็นมาระบบมาตรวิทยา คำจำกัดความของคำศัพท์มาตรวิทยา หน่วยวัดสากล (SI Unit) และการสอบกลับได้ของการวัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - หนังสือมาตรวิทยาเบื้องต้น โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ    - บทเรียนเรียนมาตรวิทยา โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ    - หนังสือมาตรวิทยา - ฉบับย่อ โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01A2101 ใช้คำศัพท์พื้นฐานมาตรวิทยา 1.สามารถอธิบายเกี่ยวกับคำศัพท์มาตรวิทยาพื้นฐาน 01A2101.01 141772
01A2101 ใช้คำศัพท์พื้นฐานมาตรวิทยา 2.สามารถเลือกใช้ศัพท์และหน่วยวัดอย่างถูกต้องในแบบบันทึก 01A2101.02 141773
01A2102 ใช้ระบบหน่วยวัดสากล 1. สามารถอธิบายเรื่องหน่วยวัดสากล(SI Unit) Base SI Unit และ DerivedSI Unit 01A2102.01 141774
01A2103 การสอบกลับได้ของการวัด 1. สามารถอธิบายประเภทของมาตรฐานการวัดคือprimary,secondary, reference, working, consensus, transfer และการสอบกลับได้จากผลการวัดของเครื่องมือวัดของภาคอุตสาหกรรมสู่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติจนถึงองค์กรนานาชาติด้านการวัด 01A2103.01 141775

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจคำศัพท์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. อธิบายความเป็นมาระบบมาตรวิทยา

    2. อ่านค่าการแปลงค่าระหว่างหน่วยวัดที่เกี่ยวข้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. เข้าใจความหมายของคำศัพท์พื้นฐานด้านมาตรวิทยา

    2. การใช้คำศัพท์และหน่วยวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ประวัติการปฏิบัติงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสอบข้อเขียน หรือ

        2. ใบรับรองหรือผลการประเมินจากสถานประกอบการ หรือ

        3. ใบรับรองการฝึกอบรมการสอบเทียบเครื่องมือวัด 

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานด้านมาตรวิทยาโดยพิจารณาจาก หลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. การทดสอบข้อเขียน หรือ

        2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานจากสถานที่ทำงาน หรือ

        3. พิจารณาใบรับรองการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับมาตรวิทยา 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ  

        เนื้อหาความรู้จะอยู่ในกรอบของหนังสืออ้างอิง ในหัวข้อ 10

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. Base Unit คือ หน่วยวัดพื้นฐาน 7 หน่วยวัด ในระบบหน่วยวัดสากล (International system of Unit, SI)

        2. Derived Unit  คือ หน่วยวัดอนุพันธ์ที่ประกอบด้วยหน่วยวัดพื้นฐาน ตั้งแต่ 2 หน่วยวัดขึ้นไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    ข้อสอบข้อเขียนเป็นข้อสอบปรนัยจำนวน 40 ข้อ เวลา 45 นาที



ยินดีต้อนรับ