หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานด้านมวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M52

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานด้านมวล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถประประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานสอบเทียบและบริหารจัดการงานด้านมวล โดยสามารถบ่งชี้ปัญหาที่เกิดในระบบการวัดและวิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหารวมถึงสามารถกำหนดวิธีการปัญหาอย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)    - ISO/IEC 17025  General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M5201 สามารถบ่งชี้ปัญหาในระบบการวัดด้านมวล 1.วิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหาได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M5201.01 141938
01M5202 กำหนดวิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมด้านมวล 1.วิเคราะห์หาวิธีการเพื่อขจัดต้นเหตุของปัญหาและข้อกำหนด ISO/IEC 17025 01M5202.01 141939

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    มีประสบการณ์การปฏิบัติงานสอบเทียบด้านมวลอย่างน้อย 5 ปี มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ มาตรฐานและเครื่องมือวัดด้านมวล มีความเชี่ยวชาญการสอบเทียบเครื่องชั่งและตุ้มน้ำหนัก การทวนสอบ และการตรวจสอบระหว่างใช้งานของเครื่องมือรวมถึงการวิเคราะห์ความถูกต้องผลการวัด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. มีความสารถการใช้งานและการดูและรักษามาตรฐานอ้างอิงและเครื่องมือวัดด้านมวล

    2. มีความสามารถการสอบเทียบเครื่องชั่งและการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

    3. มีความสมารถในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบด้านมวล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานและการดูและรักษามาตรฐานอ้างอิงและเครื่องมือวัดด้านมวล

    2. ความรู้เรื่องวิธีมาตรฐานการสอบเทียบเครื่องชั่งและการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

    3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความไม่แน่นอนของการวัด

    4. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. รายงานผลการวิเคราะห์การแก้ปัญหา หรือ

        2. บันทึกการแก้ไขงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือ

        3.  บันทึกการแก้ไขข้อบกพร่อง

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะข้อการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานด้านมวล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. ปัญหาในระบบการวัด ได้แก่ ปัญหาที่พบระหว่างการปฏิบัติงาน และระหว่างการตรวจประเมิน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ปัญหาจากการตรวจประเมิน หมายถึง ข้อบกพร่องที่เกิดจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน และการตรวจประเมินภายนอกจากหน่วยรับรอง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน สามารถบ่งชี้ปัญหาในระบบการวัด

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2. วิธีการประเมิน กำหนดวิธีการแก้ปัญหาได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ