หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบด้านมวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M51

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบด้านมวล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความสามารถในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมวล มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านมวลมีความรอบรู้เกี่ยวกับมาตรฐานด้านมวลระดับต่างๆวิธีการสอบเทียบตามมาตรฐานทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับสากล เพื่อนำมาศึกษาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานอย่างเหมาะสมความเข้าใจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สอบเทียบด้านมวล เช่น สามารถบ่งชี้ได้ถึงมาตรฐานระดับต่างๆคำจำกัดความ องค์กรมาตรวิทยาทั้งในระดับและสากล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - บทเรียนมาตรวิทยา โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M5101 สามารถประยุกต์ใช้วิธีการมาตรฐานอย่างเหมาะสมด้านมวล 1.เลือกใช้วิธีการวัดเพื่อให้เกิดความผิดพลาดในระดับที่ยอมรับได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M5101.01 141933
01M5101 สามารถประยุกต์ใช้วิธีการมาตรฐานอย่างเหมาะสมด้านมวล 2.เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้เกิดความผิดพลาดในระดับที่ยอมรับได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M5101.02 141934
01M5102 ออกแบบวิธีการสอบเทียบให้เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการด้านมวล 1.เลือกใช้วิธีการวัดเพื่อให้เกิดความผิดพลาดในระดับที่ยอมรับได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M5102.01 141935
01M5102 ออกแบบวิธีการสอบเทียบให้เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการด้านมวล 2.เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้เกิดความผิดพลาดในระดับที่ยอมรับได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M5102.02 141936
01M5103 ทวนสอบความใช้ได้ของวิธีด้านมวล 1.พิสูจน์ยืนยันความถูกต้องของวิธีการวัดตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M5103.01 141937

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจงานมาตรวิทยาการสอบเทียบด้านมวล มีทักษะทางเทคนิคการปฏิบัติงานสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคเพื่อพัฒนางานได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล

    2. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือด้านการสอบเทียบมวล

    3. การอ่านและตีความเอกสารวิธีการมาตรฐานต่างๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรวิทยาการสอบเทียบและการวัดในระดับสากล

    2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือวัดด้านมวล

    3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการมาตรฐานต่างๆ สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล

    4. ความรู้ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกการขอออกเอกสาร หรือ

        2. เอกสารวิธีปฏิบัติงาน หรือ

        3. หลักฐานการออกแบบและพัฒนาการวัดด้านมวล

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกการการสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะข้อการออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบด้านมวล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. วิธีมาตรฐานได้แก่ วิธีการสอบเทียบที่จัดทำโดยหน่วยงานระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ตรวจสอบระหว่างใช้งาน หมายถึง วิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น พัฒนาขึ้น หรือทำตามวิธีมาตรฐานไม่ครบถ้วน จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องของวิธี ก่อนนำไปใช้งาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน ศึกษาวิธีการมาตรฐานและสามารถประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2  วิธีการประเมิน ออกแบบวิธีการวัดให้เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.3  วิธีการประเมิน สามารถทวนสอบความใช้ได้ของวิธีวัด

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ