หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบด้านมวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M42

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบด้านมวล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M4 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ชั้น4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านมวลมีความเชี่ยวชาญและ ความสามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการแบบบันทึกที่เกี่ยวข้องรวมถึงมีความเข้าใจสามารถประเมินผลความไม่แน่นอนของการวัดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - ISO/IEC 17025  General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M4201 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีมาตรฐานด้านมวลหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น 1.ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านวิชาการมาตรฐาน ISO/IEC 17025 01M4201.01 141920
01M4201 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีมาตรฐานด้านมวลหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น 2.จัดทำเอกสารตามระบบคุณภาพ 01M4201.02 141921
01M4201 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีมาตรฐานด้านมวลหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น 3.จัดทำแผนงานที่ต้องทำตามระบบคุณภาพ 01M4201.03 141922
01M4201 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีมาตรฐานด้านมวลหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น 4.แบบบันทึกที่ใช้ในงานสอบเทียบด้านมวลตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M4201.04 141923
01M4202 ประเมินความไม่แน่นอนของการวัดด้านมวล 1.จัดทำขั้นตอนตามเอกสารอ้างอิงและประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M4202.01 141924
01M4202 ประเมินความไม่แน่นอนของการวัดด้านมวล 2.วิธีการประเมินความไม่แน่นอนตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M4202.02 141925
01M4202 ประเมินความไม่แน่นอนของการวัดด้านมวล 3.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบเครื่องชั่งตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M4202.03 141926
01M4202 ประเมินความไม่แน่นอนของการวัดด้านมวล 4.วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M4202.04 141927

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจการสอบเทียบเครื่องชั่งและการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักเอกสารในระบบคุณภาพ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC  17025


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถระบุถึงเอกสารระดับต่างๆ ในระบบคุณภาพและความเชื่อมโยงเอกสาร

    2. สามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงานขั้นตอนการทำงานและแบบบันทึกตามที่กำหนดในระบบคุณภาพ

    3. การประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบเครื่องชั่ง

    4. การประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารระดับต่างๆ ให้สอดคล้องข้อกำหนดวิชาการตามมาตรฐาน ISO/IEC17025

    2. เข้าใจวิธีประเมินความไม่แน่นอนของการวัดระบุถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบได้

    3. รู้ขั้นตอนการขอจัดทำเอกสารการอนุมัติการประกาศใช้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกการขอจัดทำเอกสาร หรือ

        2. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการฝึกอบรม

        2. บันทึกการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการกำหนดขั้นตอนการสอบเทียบด้านมวล โดย    พิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบด้านมวล ได้แก่ การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือด้านมวลแผนงาน และบันทึกด้านวิชาการ

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. เอกสารการสอบเทียบด้านมวล หมายถึง วิธีการสอบเทียบการตรวจสอบระหว่างใช้งาน

        2. แผนงาน หมายถึง แผนสอบเทียบ แผนบำรุงรักษา แผนตรวจสอบระหว่างใช้งาน แผนอบรม เป็นต้น

        3. บันทึก หมายถึง บันทึกด้านวิชาการ เช่น บันทึกข้อมูลการสอบเทียบ บันทึกประวัติเครื่องมือ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน จัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงานตามวิธีมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2 วิธีการประเมิน การประเมินความไม่แน่นอนของการวัดด้านมวล

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ