หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ทวนสอบและรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M41

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ทวนสอบและรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M4 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ชั้น4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถทวนสอบและวิเคราะห์ผลความถูกต้องของผลการวัดก่อนออกใบรับรองผลการสอบเทียบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)    - ISO/IEC 17025  General Requirements for the Competence of Testing and Calibration Laboratories    - ISO/IEC 17043  Conformity Assessment -- General Requirements for Proficiency Testing

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M4101 วิเคราะห์และทวนสอบความถูกต้องด้านมวล 1.วิเคราะห์ความถูกต้องของแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M4101.01 141916
01M4101 วิเคราะห์และทวนสอบความถูกต้องด้านมวล 2.ทวนสอบผลการสอบเทียบได้ตามข้อกำหนดISO/IEC 17043 01M4101.02 141917
01M4102 ออกใบรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล 1.รับรองให้ออกรายงานผลการสอบเทียบได้ตามข้อกำหนดISO/IEC 17025 01M4102.01 141919

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจการสอบเทียบเครื่องชั่งและการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักการคำนวณผลการสอบเทียบรวมถึงการประเมินความไม่แน่นอนของการวัด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. วิธีการสอบเทียบเครื่องชั่ง และการคำนวณผล

    2. วิธีการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก และการคำนวณผล

    3. การประเมินความไม่แน่นอนการสอบเทียบเครื่องชั่ง

    4. การประเมินความไม่แน่นอนการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องชั่งและการคำนวณผล

    2. ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักและการคำนวณผล

    3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินความไม่แน่นอนการสอบเทียบเครื่องชั่ง

    4. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินความไม่แน่นอนการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

    5.  ข้อกำหนดการจัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกผลการทวนสอบ   หรือ

        2. เอกสารการมอบหมายความรับผิดชอบ 

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการรับรองผลการสอบเทียบด้านมวลโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้ง     หลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. การวิเคราะห์และทวนสอบได้แก่ บันทึกข้อมูลสอบเทียบการคำนวณและการประเมินความไม่นอน

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ทวนสอบผลการสอบเทียบหมายถึง การตรวจสอบการถ่ายโอนข้อมูลต่างๆวันหมดอายุคุ้มน้ำหนักมาตรฐานความถูกต้องของชื่อ-ที่อยู่ ผู้ใช้บริการ เป็นต้น

        2. ออกใบรับรองผลสอบเทียบหมายถึง สามารถพิมพ์ใบรับรองผลกรสอบเทียบเพื่อลงนามและจัดส่งให้ผู้ใช้บริการได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน วิเคราะห์และทวนสอบความถูกต้องผลการสอบเทียบ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2 วิธีการประเมิน ออกใบรับรองผลการสอบเทียบ        1. ข้อสอบข้อเขียน

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ