หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำการสอบเทียบด้านมวลแก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M34

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำการสอบเทียบด้านมวลแก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องชั่งและตุ้มน้ำหนักเรื่องการใช้งานการดูแลรักษาการจัดเก็บและการขนย้ายรวมถึงสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่แสดงในใบรับรองผลการสอบเทียบให้แก่ผู้รับบริการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M3401 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบด้านมวล 1.อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือด้านมวลตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3401.01 141912
01M3401 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบด้านมวล 2.อธิบายขั้นตอนการสอบเทียบอย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3401.02 141913
01M3401 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบด้านมวล 3.อธิบายข้อมูลแสดงในใบรับรองผลการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3401.03 141914
01M3402 สามารถประเมินผลการวัดเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดได้ด้านมวล 1.ประเมินผลการวัดเทียบกับเกณฑ์การยอมรับที่กำหนดได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3402.01 141915

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจเกี่ยวข้องกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวลได้การสอบเทียบเครื่องชั่งและตุ้มน้ำหนักเรื่องการใช้งานและการดูแลรักษาเครื่องชั่งและตุ้มน้ำหนัก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การใช้งานและการดูแลรักษา การจัดเก็บ การขนย้าย ตุ้มน้ำหนักและเครื่องชั่ง

    2. การสอบเทียบเครื่องชั่ง

    3. การสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องชั่ง

    2. รู้เกี่ยวกับการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก

    3. รู้เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ที่แสดงไว้ในใบรับรองผลการสอบเทียบ

    4. รู้เรื่องความสอบกลับได้ของการวัด 

    5. รู้เกี่ยวกับหลักการประเมินผลเครื่องชั่งและตุ้มน้ำหนัก หลังสอบเทียบ

    6. รู้เกี่ยวกับ พิสัยและขอบข่ายที่สามารถให้บริการได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสารมอบหมายงาน  หรือ

        2. บันทึกการตอบคำถามหรือ เอกสารตอบกลับ เช่น e-mail หรือ

        3. เอกสารมอบหมายงานให้เป็นผู้ประสานงานกับผู้ขอรับบริการ

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกผลการสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการให้คำแนะนำการสอบเทียบด้านมวลโดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ

        1. สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ที่แสดงในใบรับรองผลการสอบเทียบ

        2. ให้แนะนำการประเมินผล หลังสอบเทียบ

        3. ให้แนะนำเกี่ยวกับ พิสัย และขอบข่ายที่ให้บริการ

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ข้อมูลทั่วไป เช่น การสอบกลับได้ วิธีการสอบเทียบมาตรฐานที่ใช้

        2. ข้อมูลตัวเลข เช่น ค่าแก้ค่าความคลาดเคลื่อนค่าความไม่แน่นอนของการวัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน ให้ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบด้านมวล

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2 วิธีการประเมิน สามารถประเมินผลการวัดเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ