หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M32

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทวนสอบความถูกต้องการถ่ายโอนข้อมูลผลการสอบเทียบวิธีการแปลผลการสอบเทียบรู้ข้อกำหนดการออกใบรับรองการสอบเทียบตามมาตรฐานISO/IEC17025 และ สามารถจัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - ISO/IEC 17025  General Requirements for the Competence of Testing and Calibration     Laboratories    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านมวล 1.เลือกใช้ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3201.01 141900
01M3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านมวล 2.วิธีแปลผลการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3201.02 141901
01M3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านมวล 3.ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3201.03 141902
01M3201 ทวนสอบผลการสอบเทียบด้านมวล 4.ใช้ข้อมูลจากใบรับรองการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3201.04 141903
01M3202 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล 1.สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการออกใบรับรองการ สอบเทียบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 01M3202.01 141904
01M3202 จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบด้านมวล 2.ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M3202.02 141905

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องชั่ง และการสอบเทียบตุ้มน้ำหนัก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การออกใบรับรองการสอบเทียบตามขั้นตอนของห้องปฏิบัติการ

    2. การใช้ข้อมูลจากใบรับรองการสอบเทียบตุ้มน้ำหนักและเครื่องชั่ง

    3. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้ข้อกำหนดการออกใบรับรองการสอบเทียบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025

    2. เข้าใจขั้นตอนการออกใบรับรอง

    3. ความรู้ทางสถิติและคณิตศาสตร์

    4. การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำนักงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการสอบเทียบ หรือ

        2. เอกสารมอบหมายงาน หรือ

        3. เอกสารการตรวจสอบ

    (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการอบรม 

        2. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับจัดทำรายงานผลการสอบเทียบด้านมวล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่    เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. รู้สถิติ และคณิตศาสตร์เบื้องต้น

        2. ตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับ การถ่ายโอนข้อมูล  การพิมพ์ผิด

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. สถิติเบื้องต้น เช่น ค่าเฉลี่ย  ค่ากลางความแปรปรวนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น

        2. คณิตศาสตร์เบื้องต้น เช่น การปัดเศษ เลขนัยสำคัญ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน ทวนสอบการสอบเทียบ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2. วิธีการประเมิน จัดทำใบรับรองผลการสอบเทียบ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ