หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01A31

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    A3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัด ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ สามารถประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์และสถิติในการคำนวณความไม่แน่นอนของการวัดชนิดเอและชนิดบี ค่าความไม่แน่นอนรวมความไม่แน่นอนขยาย และรายงานสรุปค่าความไม่แน่นอนของการวัดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - Guide to the expression of uncertainty in measurement,1993 โดย  BIPM & ISO    - บทเรียนมาตรวิทยา โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ      

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01A3101 สามารถประยุกต์สถิติสำหรับมาตรวิทยา 1.สามารถประยุกต์ใช้งานคณิตศาสตร์และสถิติเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับงานด้านมาตรวิทยา 01A3101.01 141779
01A3102 สามารถจำแนกประเภทของความไม่แน่นอนของการวัด 1.สามารถระบุสาเหตุของความไม่แน่นอนชนิดเอ(TypeA) 01A3102.01 141780
01A3102 สามารถจำแนกประเภทของความไม่แน่นอนของการวัด 2.สามารถระบุสาเหตุของความไม่แน่นอนชนิดบี(TypeB)ที่เกิดเครื่องมือวัด ค่าความคงตัวของเครื่องมือมาตรฐานความละเอียดจากการอ่านอิทธิพลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและระบบโครงสร้างต่าง ฯลฯ 01A3102.02 141781
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 1.สามารถแปลงค่าความไม่แน่นอนต่างๆให้อยู่ในรูปค่าความไม่แน่นอนมาตรฐาน(standarduncertainty) 01A3103.01 141782
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 2.สามารถคำนวณค่าความไม่แน่นอนรวม (combinedstandard uncertainty) 01A3103.02 141783
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 3.สามารถคำนวณค่าความไว (sensitivitycoefficients) 01A3103.03 141784
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 4.สามารถคำนวณค่าองศาความเป็นอิสระ (Degree offreedom) 01A3103.04 141785
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 5.สามารถคำนวณหาค่าตัวประกอบร่วม (coverage kfactors) และ ระดับความเชื่อมั่น (confidence levels) 01A3103.05 141786
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 6.สามารถคำนวณค่าความไม่แน่นอนขยาย (Expandeduncertainty) 01A3103.06 141787
01A3103 ปฏิบัติตามขั้นตอนการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด 7.สามารถรายงานสรุปงบความไม่แน่นอน (uncertaintybudget) 01A3103.07 141788

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจคำศัพท์พื้นฐานมาตรวิทยาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบเครื่องมือวัด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถใช้ศัพท์มาตรวิทยาพื้นฐาน อย่างถูกต้อง

    2. สามารถดำเนินการเรื่องการสอบกลับได้ (Traceability) ของเครื่องมือวัดและเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1.คำศัพท์มาตรวิทยาพื้นฐาน

    2.เข้าใจการสอบกลับได้การสอบเทียบเครื่องมือวัด

    3. หน่วยงานด้านมาตรวิทยาสากล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)  

        1. ประวัติการปฏิบัติงาน              

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ผลการสอบข้อเขียน

        2. ใบรับรองการอบรมเกี่ยวกับมาตรวิทยา

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับมาตรวิทยาทั่วไปการสอบเทียบ โดยพิจารณาจากหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        การวัดทุกประเภทจะมีค่าความไม่แน่นอนของการวัดเกิดขึ้นรวมอยู่ในผลลัพธ์ของการวัดเสมอ ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Measured value = True value +/- Uncertainty

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        ความไม่แน่นอนของการวัด จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Type A คือ ความไม่แน่นอนที่สามารถประเมินได้ด้วยวิธีการทางสถิติ และ Type B คือความไม่แน่นอนอื่นๆ นอกเหนือจาก Type A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    ข้อสอบข้อเขียนข้อสอบปรนัย จำนวน 20 และอัตนัย 6 ข้อ เวลา 60 นาที



ยินดีต้อนรับ