หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวลขั้นต้น

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M22

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวลขั้นต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M2 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล  ชั้น 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถสอบเทียบเครื่องชั่งตามขั้นตอนวิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นรู้ถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบและการบำรุงรักษาเครื่องมือมาตรฐานเครื่องมือวัด ภายหลังดำเนินการสอบเทียบแล้วเสร็จ เช่น  เครื่องชั่ง  ตุ้มน้ำหนัก  เครื่องวัดสภาวะแวดล้อม  เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - UKAS LAB14    - OIML R111

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M2201 เตรียมความพร้อมก่อนสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล 1.สามารถเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานให้เหมาะสมกับชนิดเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบตามวิธีปฏิบัติงานสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2201.01 141879
01M2201 เตรียมความพร้อมก่อนสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล 2.เตรียมความพร้อมเครื่องมือมาตรฐานตามวิธีปฏิบัติงานสอบเทียบได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2201.02 141880
01M2201 เตรียมความพร้อมก่อนสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล 3.กรอกรายละเอียดของเครื่องมือด้านมวลและเครื่องมือมาตรฐานในแบบบันทึกได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2201.03 141881
01M2202 สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล 1.ปฏิบัติตามขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือด้านมวลตามวิธีปฏิบัติงานสอบเทียบ 01M2202.01 141882
01M2202 สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล 2.วิธีการอ่านเครื่องมือด้านมวลตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2202.02 141883
01M2203 บันทึกผลการสอบเทียบด้านมวล 1.บันทึกข้อมูลสอบเทียบเครื่องมือด้านมวลตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2203.01 141884
01M2203 บันทึกผลการสอบเทียบด้านมวล 2.บันทึกสภาวะแวดล้อมตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2203.02 141885
01M2204 คำนวณผลการสอบเทียบด้านมวล 1.ใช้เครื่องมือคำนวณในคำนวณผลการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2204.01 141886

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานการใช้งานและดูแลรักษาตุ้มน้ำหนักในแต่ละชั้น(class)ของตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน  เครื่องชั่งแต่ละชนิดและเครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อมก่อนและหลังใช้งานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การเลือกใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานในแต่ละชั้น(class) และการเตรียมความพร้อม

    2. การเตรียมความพร้อมเครื่องชั่ง 

    3. การอ่านค่าเครื่องชั่ง 

    4. การสอบเทียบเครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องชั่งเชิงกล 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1.รู้และเข้าใจหลักการและขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องชั่งชนิดต่างๆ

    2.เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องชั่ง รวมถึงการทำความสะอาด การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ

    3.วิธีการเลือกใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานและชั้น(class)ให้เหมาะสมกับงาน รวมถึงการทำความสะอาด การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บ

    4. การบันทึกข้อมูลการสอบเทียบในแบบบันทึกผล

    5. การสอบกลับได้ (Traceability) ของเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือวัด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกประวัติการทำงาน  หรือ

        2. บันทึกการมอบหมายงาน หรือ

        3. รายงานผลการสอบเทียบเครื่องชั่ง

    (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติ (On Job Training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง

        2. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

        3. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

    (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือด้านมวลขั้นต้น โดยพิจารณาจากหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)  คำแนะนำ 

        1. เครื่องชั่งในที่นี้หมายถึง เครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องชั่งเชิงกล  ได้แก่ แบบจานชั่ง   แบบแขวน  แบบวางพื้น ( floor scale)  ไม่รวมถึงเครื่องชั่งสายพาน  เครื่องชั่งรถบรรทุก

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1. วิธีการสอบเทียบเครื่องชั่ง ได้แก่ วิธีการที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐาน หรือมีการตรวจสอบความ ใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้

        2. เครื่องมือมาตรฐาน ได้แก่ ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน ข้อกำหนดตามมาตรฐาน OIML R 111


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน เตรียมความพร้อมก่อนสอบเทียบเครื่องมือด้านมวล

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แบบฟอร์มบันทึกผลการสอบเทียบ

        3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์

        4. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.2  วิธีการประเมิน สอบเทียบเครื่องมือด้านมวล

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แบบฟอร์มบันทึกผลการสอบเทียบ

        3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์

        4. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.3 วิธีการประเมิน การบันทึกผลการสอบเทียบ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แบบฟอร์มบันทึกผลการสอบเทียบ

        3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์

        4. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้

    18.4  วิธีการประเมิน คำนวณผลการสอบเทียบ

        1. ข้อสอบข้อเขียน

        2. แบบฟอร์มบันทึกผลการสอบเทียบ

        3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์

        4. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะจากหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ