หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือวัดด้านมวล

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01M21

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือวัดด้านมวล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    M2 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล  ชั้น 2



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความสามารถสามารถในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือด้านมวล เช่น เครื่องชั่ง ตุ้มน้ำหนัก เครื่องวัดสภาวะแวดล้อม เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01M2101 ใช้งานเครื่องมือวัดด้านมวล 1.เลือกใช้งานเครื่องมือด้านมวลถูกต้องตามชนิดและประเภทตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2101.01 141875
01M2101 ใช้งานเครื่องมือวัดด้านมวล 2.เลือกใช้อุปกรณ์และวัสดุเพื่อใช้ร่วมกับสำหรับเครื่องมือด้านมวลตามคู่มือวิธีปฏิบัติงานสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2101.02 141876
01M2102 ดูแลรักษาเครื่องมือวัดด้านมวล 1.ทำความสะอาดจัดเก็บและขนย้าย เครื่องมือด้านมวลตามคู่มือวิธีการใช้งานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2102.01 141877
01M2102 ดูแลรักษาเครื่องมือวัดด้านมวล 2.ดูแลรักษาเครื่องมือด้านมวลพร้อมใช้งานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01M2102.02 141878

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดห้องปฏิบัติการที่ดี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องชั่ง

    2. การใช้งานและดูแลรักษาตุ้มน้ำหนัก

    3. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องชั่งรวมถึงการทำความสะอาดการเคลื่อนย้ายการตรวจสอบความ ถูกต้องตามแผน

    2. วิธีการเลือกใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานให้เหมาะสมกับงาน รวมถึงการทำความสะอาดการเคลื่อนย้ายการตรวจสอบความถูกต้องตามแผน

    3. เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องวัดสภาวะแวดล้อมรวมถึงการดูแลรักษาให้เครื่องมือพร้อมใช้งาน 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกการดูแลรักษาเครื่องมือ           

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน 

        2. บันทึกประกอบการสัมภาษณ์ 

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบด้านมวล    โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        ผู้รับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการสอบเทียบด้านมวล ได้แก่ ตุ้มน้ำหนัก  เครื่องชั่ง เครื่องวัดสภาวะแวดล้อมรวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในงานสอบเทียบด้านมวล

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ตุ้มน้ำหนักหมายถึง ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานที่ใช้สำหรับสอบเทียบเครื่องชั่ง

        2. เครื่องชั่งหมายถึง เครื่องชั่งชนิดต่างๆที่ต้องการสอบเทียบ

        3. การดูแลรักษาตามคู่มือหรือวิธีการที่กำหนดระยะเวลาตามแผนของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

        4. เครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อม ได้แก่ เครื่องมือวัดอุณหภูมิ เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เครื่องมือวัดความดันบรรยากาศ (ถ้ามี)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1. วิธีการประเมิน ใช้งานเครื่องมือด้านมวล

        1. แฟ้มสะสมผลงาน

        2. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2. วิธีการประเมินดูแลรักษาเครื่องมือด้านมวล

        1. แฟ้มสะสมผลงาน

        2. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการณ์ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน  



ยินดีต้อนรับ