หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01E53

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    E5 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า ชั้น 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจมาตรวิทยาด้านไฟฟ้าสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานโดยสามารถออกแบบและกำหนดรายละเอียดการอบรมดำเนินการอบรมด้วยการ ถ่ายทอดได้ครอบคลุมสาระสำคัญของหัวข้อการอบรม และออกแบบการประเมินผลก่อนและหลังการอบรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)    - ISO/IEC 17025  General Requirements for the Competence of Testing and Calibration     Laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01E5301 ออกแบบและกำหนดรายละเอียดการอบรมด้านไฟฟ้า 1.สามารถกำหนดรายละเอียดการฝึกอบรมให้ครอบคลุมความสามารถการปฏิบัติงานที่ต้องการตามคู่มือการปฏิบัติงานคู่มือคุณภาพของห้องปฏิบัติการและ คู่มือวิธีดำเนินงาน 01E5301.01 142061
01E5302 ดำเนินการอบรมด้านไฟฟ้า 1.สามารถถ่ายทอดได้ครอบคลุมสาระสำคัญของหัวข้อการอบรมตามคู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือคุณภาพของห้องปฏิบัติการและคู่มือวิธีดำเนินงาน 01E5302.01 142062
01E5303 ออกแบบการประเมินก่อนและหลังการอบรมด้านไฟฟ้า 1.สามารถจัดทำแบบประเมินผลการอบรมก่อนและหลังการอบรมตามคู่มือการปฏิบัติงาน คู่มือคุณภาพของห้องปฏิบัติการและคู่มือวิธีดำเนินงาน 01E5303.01 142063

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    มีประสบการณ์การปฏิบัติงานสอบเทียบงานด้านไฟฟ้ามีความชำนาญในการใช้เครื่องมือมาตรฐานและ เครื่องมือวัดด้านไฟฟ้ามีความเชี่ยวชาญการสอบเทียบเครื่องมือวัดไฟฟ้าการทวนสอบและการตรวจสอบระหว่างใช้งานของเครื่องมือรวมถึงการวิเคราะห์ความถูกต้องผลการวัดการประเมินความไม่แน่นอนการจัดทำรายงานผลการสอบเทียบการประกันคุณภาพการสอบเทียบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ความสามารถเกี่ยวกับการถ่ายทอดงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

    2. ความสามารถใช้สื่อ อุปกรณ์ในการนำเสนอ

    3. ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องที่อบรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จัดอบรม

    2. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดหัวข้อ เนื้อหารายละเอียด 

    3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการบรรยาย  การฝึกปฏิบัติ  การยกตัวอย่าง

    4. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการประเมินก่อนและหลักการอบรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. โบชัวร์การจัดอบรม หรือ

        2. หลักฐานการลงทะเบียนการอบรม หรือ

        3.แบบประเมินก่อนและหลังการอบรม หรือ

        4.สรุปความพึงพอใจการอบรม

    (ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. เอกสารการอบรม

    (ค)  คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงาน ด้านไฟฟ้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก)  คำแนะนำ 

        1. ความรู้ที่จำเป็นต้องมี

            1.1  ความรู้ความชำนาญในการใช้เครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า

            1.2  ออกแบบและกำหนดรายละเอียดการอบรม

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1.  ความรู้มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้าหมายถึง มีประสบการณ์ การปฏิบัติงานสอบเทียบงานด้านไฟฟ้ามีความชำนาญในการใช้เครื่องมือมาตรฐานและเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้าเชี่ยวชาญการสอบเทียบเครื่องมือวัดไฟฟ้า  

        2. ออกแบบและกำหนดรายละเอียดการอบรม  ดังนี้

            2.1 กำหนดรายละเอียดการอบรม

            2.2 จัดทำแผนการสอน

            2.3  จัดทำสื่อการสอน

            2.4  ถ่ายทอดความรู้เชิงทฤษฎี

            2.5  ถ่ายทอดวิธีปฏิบัติ

            2.6 ประเมินผู้สอน

            2.7 จัดทำรายงาน สรุปผลการอบรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 วิธีการประเมินแฟ้มสะสมผลงานการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า

        1. หลักฐานเอกสารประชาสัมพันธ์

        2. หลักฐานการถ่ายทอดความรู้

        3. เอกสารการถ่ายทอดความรู้

        4. แบบประเมินการถ่ายทอดความรู้

        5. หลักฐานสรุปผลการอบรม



ยินดีต้อนรับ