หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้คำแนะนำการสอบเทียบด้านไฟฟ้าแก่ผู้รับบริการ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01E34

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้คำแนะนำการสอบเทียบด้านไฟฟ้าแก่ผู้รับบริการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    E3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือวัด มัลติมิเตอร์(Molti Meter) แคล้มมิเตอร์(Clamp Meter) วัตต์มิเตอร์(Watt Meter) และ/หรือออสซิสโลสโคป (Oscilloscope) เครื่องวัดฉนวนและหรือ เครื่องวัดความถี่ เรื่องการใช้งาน การดูแลรักษา การจัดเก็บ และการขนย้าย รวมถึงสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลที่แสดงในใบรับรองผลการสอบเทียบ ให้แก่ผู้รับบริการได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     -  คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01E3401 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบด้านไฟฟ้า 1.สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดตามคุณลักษณะเฉพาะอย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3401.01 142035
01E3401 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบด้านไฟฟ้า 2.สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการสอบเทียบได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3401.02 142036
01E3402 สามารถประเมินผลการวัดเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดได้ด้านไฟฟ้า 1.สามารถประเมินผลการวัดเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3402.01 142037

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจเกี่ยวข้องกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า ได้แก่ มัลติมิเตอร์ แคล้มมิเตอร์ วัตต์มิเตอร์และหรือ ออสซิสโลสโคป เครื่องวัดฉนวนและหรือ เครื่องวัดความถี่ เรื่องการใช้งานและการดูแลรักษาเครื่องมือวัด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การใช้งานและการดูแลรักษา การจัดเก็บ การขนย้าย เครื่องมือมาตรฐานด้านไฟฟ้าและเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า

    2. การสอบเทียบเครื่องมือวัด มัลติมิเตอร์ แคล้มมิเตอร์ วัตต์มิเตอร์และหรือ ออสซิสโลสโคป

    3. การสอบเทียบเครื่องมือวัดฉนวนและหรือ เครื่องวัดความถี่

    4. การเปรียบเทียบผลการวัดกับเกณฑ์การยอมรับได้ที่กำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัด มัลติมิเตอร์  แคล้มมิเตอร์  วัตต์มิเตอร์และหรือ ออสซิสโลสโคป 

    2. รู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดฉนวนและหรือ เครื่องวัดความถี่

    3. รู้เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ ที่แสดงไว้ในใบรับรองผลการสอบเทียบ

    4. รู้เรื่องความสอบกลับได้ของการวัด 

    5. รู้เกี่ยวกับระบบความสอบกลับได้ของการวัดด้านไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกการตอบคำถาม หรือ เอกสารตอบกลับ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)หรือ

        2. เอกสารมอบหมายงานให้เป็นผู้ประสานงานกับผู้ขอรับบริการ

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกผลการสัมภาษณ์

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการให้คำแนะนำการสอบเทียบด้านไฟฟ้าโดยพิจารณาจากหลักฐานการ    ปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        1. เครื่องมือมาตรฐานทางไฟฟ้า 

        2. เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า 

        3. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบ

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1. เครื่องมือมาตรฐานทางไฟฟ้า หมายถึง เครื่องมือที่มีค่าความถูกต้องสูง เก็บรักษาไว้เป็นค่ามาตรฐานเพื่อนำมาถ่ายค่าให้กับเครื่องมือวัดไฟฟ้า  ได้แก่  Multi-Function Calibrator, Decade Resistance Box, Frequency Counter เป็นต้น  ความรู้ที่จำเป็นต้องมี

            1.1 การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือ

            1.2 การทวนสอบและเทียบเกณฑ์การยอมรับ

            1.3 การตรวจสอบระหว่างการใช้งาน

            1.4 การกำหนดระยะเวลาการสอบเทียบ

        2.  เครื่องมือวัดไฟฟ้า ได้แก่ เครื่องมือวัด มัลติมิเตอร์ แคล้มมิเตอร์ วัตต์มิเตอร์ ออสซิสโลสโคป เครื่องมือวัดฉนวน และ เครื่องวัดความถี่ ความรู้ที่จำเป็นต้องมี

            2.1 ใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือ

            2.2 ขั้นตอนวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัด

            2.3 การเทียบเกณฑ์การยอมรับได้ของเครื่องมือ

            2.4 การปรับแต่งเครื่องมือ    

         3. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอบเทียบ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือมาตรฐานทางไฟฟ้า และเครื่องมือวัดไฟฟ้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 วิธีการประเมินการให้คำแนะนำในการอ่านค่าจากใบรับรองผล 

        1. ข้อสอบข้อเขียนจำนวน 2 ข้อ 20 คะแนน ใช้เวลา 30  นาที 

        2. แฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินสมรรถนะหลักฐานการทำงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ