หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงด้านไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01E33

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงด้านไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    E3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้า ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานการทวนสอบ และการตรวจสอบระหว่างใช้งานของเครื่องมือมาตรฐานด้านไฟฟ้าและเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     -  คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01E3301 ทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงด้านไฟฟ้า 1.สามารถทวนสอบเครื่องมือมาตรฐานด้านไฟฟ้าตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3301.01 142030
01E3301 ทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงด้านไฟฟ้า 2.สามารถทวนสอบเครื่องวัดสภาวะ แวดล้อมตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3301.02 142031
01E3301 ทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงด้านไฟฟ้า 3.สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ยอมรับตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3301.03 142032
01E3302 ตรวจสอบระหว่างใช้งานด้านไฟฟ้า 1.สามารถตรวจสอบระหว่างใช้งานเครื่องมือมาตรฐานด้านไฟฟ้าตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3302.01 142033
01E3302 ตรวจสอบระหว่างใช้งานด้านไฟฟ้า 2.สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ ยอมรับตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01E3302.02 142034

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวัดด้านไฟฟ้าการปฏิบัติตามแผนดำเนินงาน ตามมาตรฐานISO/IEC 17025


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. วิธีการทวนสอบเครื่องมือมาตรฐานด้านไฟฟ้า 

    2. วิธีการทวนสอบเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม

    3. วิธีการตรวจสอบระหว่างใช้งานเครื่องมือมาตรฐานไฟฟ้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการทวนสอบเครื่องมือ

    2. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบระหว่างใช้งาน

    3. ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ยอมรับ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกผลการทวนสอบ  หรือ

        2. บันทึกการตรวจสอบระหว่างใช้งาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. บันทึกการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับทวนสอบเครื่องมือมาตรฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)



    (ก)  คำแนะนำ 

        1. มาตรฐานอ้างอิง (Reference Standard )

    (ข)  คำอธิบายรายละเอียด

        1. เครื่องมือมาตรฐานไฟฟ้าหมายถึง Multi-Function Calibrator, Decade Resistance Box, Frequency Counter เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 วิธีการประเมินการทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงไฟฟ้า 

        1. ข้อสอบข้อเขียนจำนวน 2 ข้อ 20 คะแนน ใช้เวลา 30  นาที 

    18.2 วิธีการประเมินแฟ้มสะสมผลงาน 

        1. หลักฐานวิธีการและผลทวนสอบความถูกต้องของมาตรฐานอ้างอิงด้านไฟฟ้า

        2. หลักฐานการตรวจสอบระหว่างใช้งานของมาตรฐานอ้างอิงไฟฟ้า



ยินดีต้อนรับ