หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติขั้นกลาง

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01D31

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติขั้นกลาง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    D3 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ ชั้น 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) ไฮเกจ (Height Gauge) ไดอัลเกจ (Dial Gauge) ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ (Dial Test Indicator) เป็นต้น ตามขั้นตอนวิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นรู้ถึงการเตรียมความพร้อมเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติก่อนและหลังการใช้งาน เช่น เกจบล็อก (Gauge Block)  ออปติคอลพาลาแลล (Optical Parallel) ออปติคอลแฟลต (Optical Flat) โต๊ะระดับเครื่องไดอัลเกจเทสเตอร์ (Dial Garage Tester) และเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม  เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01D3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบด้านมิติ 1.สามารถเลือกใช้ชนิดและระดับชั้นของเกจบล็อกตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3101.01 141820
01D3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบด้านมิติ 2.สามารถเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติเช่น เกจบล็อก ออปติคอลพาลาแลลออปติคอลแฟลต โต๊ะระดับ เครื่องไดอัลเกจเทสเตอร์ ให้เหมาะสอบกับชนิดเครื่องมือวัดด้านมิติที่ต้องการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3101.02 141821
01D3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบด้านมิติ 3.สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการควบคุมสภาวะแวดล้อมของห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมิติ 01D3101.03 141822
01D3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบด้านมิติ 4.สามารถเตรียมความพร้อมเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติเช่น เกจบล็อก ออปติคอลพาลาแลลออปติคอลแฟลต โต๊ะระดับ เครื่องไดอัลเกจเทสเตอร์ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3101.04 141823
01D3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบด้านมิติ 5.สามารถเตรียมความพร้อมเครื่องวัดสภาวะแวดล้อมตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3101.05 141824
01D3101 เตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบด้านมิติ 6.สามารถบันทึกรายละเอียดของเครื่องมือวัดและเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติในแบบบันทึกที่ห้องปฏิบัติการสอบเทียบกำหนด 01D3101.06 141825
01D3102 ปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ 1.สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติได้แก่ ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไฮเกจ ไดอัลเกจ ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3102.01 141826
01D3102 ปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ 2.สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานอ้างอิงสำหรับเครื่องมือวัดด้านมิติเช่น ISO, JIS หรือ DIN เป็นต้น 01D3102.02 141827
01D3102 ปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ 3.สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดการควบคุมสภาวะแวดล้อม 01D3102.03 141828
01D3103 บันทึกผลการสอบเทียบและคำนวณผลด้านมิติ 1.สามารถบันทึกข้อมูลเครื่องมือวัดด้านมิติได้แก่ ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไฮเกจ ไดอัลเกจไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3103.01 141829
01D3103 บันทึกผลการสอบเทียบและคำนวณผลด้านมิติ 2.สามารถบันทึกข้อมูลเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติเช่น เกจบล็อก ออปติคอลพาลาแลลออปติคอลแฟลต โต๊ะระดับ เครื่องไดอัลเกจเทสเตอร์ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3103.02 141830
01D3103 บันทึกผลการสอบเทียบและคำนวณผลด้านมิติ 3.สามารถคำนวณใช้เครื่องมือคำนวณ หรือโปรแกรมคำนวณ หรือโปรแกรมสำนักงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3103.03 141831
01D3103 บันทึกผลการสอบเทียบและคำนวณผลด้านมิติ 4.สามารถชดเชยค่าของเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D3103.04 141832

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวัดด้านมิติ เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ และเครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อมก่อนและหลังใช้งานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ เช่น เกจบล็อก ออปติคอลพาลาแลล ออปติคอลแฟลต โต๊ะระดับ เครื่องไดอัลเกจเทสเตอร์ และการเตรียมความพร้อมก่อนและหลังการใช้งาน เป็นต้น

    2. การเตรียมความพร้อมเครื่องมือวัดละเอียดด้านมิติ เช่น ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไฮเกจ ไดอัลเกจ ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ เป็นต้น

    3. การอ่านค่าเครื่องมือวัดและเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ เช่น ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไฮเกจ ไดอัลเกจ ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ เป็นต้น

    4. การเลือกใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ เช่น ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไฮเกจ ไดอัลเกจ ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ เป็นต้น

    5. การใช้เครื่องมือคำนวณ หรือโปรแกรมคำนวณผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้และเข้าใจหลักการตามขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ เช่น ไมโครมิเตอร์ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ไฮเกจ ไดอัลเกจ ไดอัลเทสอินดิเคเตอร์ เป็นต้น

    2. เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องมือวัดและเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ รวมถึงการทำความสะอาด การจัดเก็บ และการเคลื่อนย้าย

    3. วิธีการประยุกต์ใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ เช่น การประกบเกจบล็อก การวัดความเรียบด้วยออปติคอลแฟลต การวัดความขนานด้วยออปติคอลพาลาแลล เป็นต้น

    4. การบันทึก  การใช้เครื่องมือคำนวณผล  หรือโปรแกรมคำนวณผล

    5. การสอบกลับได้ (Traceability) ของเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ

    6. ความรู้สถิติและคณิตศาสตร์เบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกประวัติการทำงาน  หรือ

        2. บันทึกการมอบหมายงาน หรือ

        3. รายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติงาน (On The Job Training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง

        2. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

        3. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานด้านความยาวโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ 

        N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ ได้แก่ วิธีการที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานแห่งชาติ หรือมาตรฐานนานาชาติ  หรือมีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการก่อนนำไปใช้งาน

        2. เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ ได้แก่ เกจบล็อก (Gauge Block) ออปติคอลแฟลต (Optical Flat)     ออปติคอลพาราแลล (Optical Parallel) โต๊ะระดับ เครื่องไดอัลเกจเทสเตอร์ (Dial Garage Tester)  เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1. ข้อสอบข้อเขียน

    2. การสอบปฏิบัติงาน

    3. พิจารณาแฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ