หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01D12

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    D1 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ ชั้น 1



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติตามขั้นตอนวิธีการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้น รู้ถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการสอบเทียบ เครื่องมือมาตรฐาน เครื่องมือวัดวัดละเอียดพื้นฐาน ก่อนและหลังดำเนินการสอบเทียบแล้วเสร็จ ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Venire Caliper)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01D1201 เตรียมความพร้อม เครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานก่อนการสอบเทียบ และการเก็บรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานและเครื่องมือ มาตรฐาน 1. สามารถเลือกใช้เกจบล็อกมาตรฐานให้เหมาะสมกับชนิดเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1201.01 142067
01D1201 เตรียมความพร้อม เครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานก่อนการสอบเทียบ และการเก็บรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานและเครื่องมือ มาตรฐาน 2. สามารถเตรียมความพร้อมเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติเช่น เกจบล็อก ออปติคอลพาลาแลล ออปติคอลแฟลต โต๊ะระดับ ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1201.02 142068
01D1201 เตรียมความพร้อม เครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานก่อนการสอบเทียบ และการเก็บรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานและเครื่องมือ มาตรฐาน 3. สามารถเตรียมความพร้อมเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ 2 ประเภทได้แก่ ไมโครมิเตอร์ และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1201.03 142069
01D1201 เตรียมความพร้อม เครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานก่อนการสอบเทียบ และการเก็บรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานและเครื่องมือ มาตรฐาน 4. สามารถบันทึกรายละเอียดของเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติและเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติในแบบบันทึกผลตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนด 01D1201.04 142070
01D1202 สอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 1. สามารถรู้เกี่ยวกับเกณฑ์กำหนดของสภาวะแวดล้อมห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมิติที่มาตรฐานกำหนด 01D1202.01 142071
01D1202 สอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 2. สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1202.02 142072
01D1202 สอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 3. สามารถการอ่านเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1202.03 142073
01D1203 บันทึกการสอบเทียบด้านมิติ 1. สามารถบันทึกข้อมูลสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดด้านมิติเช่น ไมโครมิเตอร์ และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1203.01 142074
01D1203 บันทึกการสอบเทียบด้านมิติ 2. สามารถใช้เครื่องมือคำนวณ หรือโปรแกรมคำนวณผล หรือโปรแกรมสำนักงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1203.02 142075
01D1204 คำนวณผลการสอบเทียบด้านมิติ 1. สามารถใช้เครื่องมือคำนวณในการสอบเทียบตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1204.01 142076

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานการใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานและเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ เครื่องวัดสภาวะแวดล้อม ก่อนและหลังใช้งานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติและการเตรียมความพร้อม

    2. การเตรียมความพร้อมเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ

    3. การอ่านค่าเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ

    4. การสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ

    5. การใช้เครื่องมือคำนวณ หรือโปรแกรมคำนวณผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. รู้และเข้าใจหลักการและขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติชนิดต่างๆ

    2. เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติรวมถึงการทำความสะอาด การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ

    3. วิธีการเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติให้เหมาะสมกับงาน รวมถึงการทำความสะอาด การเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บ

    4. การบันทึกและใช้เครื่องมือคำนวณผล

    5. การสอบกลับได้ (Traceability) ของเครื่องมือมาตรฐาน และเครื่องมือวัด

    6. ความรู้สถิติและคณิตศาสตร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกประวัติการทำงานหรือ

        2. บันทึกการมอบหมายงาน หรือ

        3. รายงานผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติงาน (On The Job Training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง

        2. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

        3. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) โดยพิจารณาจากหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความร


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ

        เครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernire Caliper)

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ ตามวิธีการที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานนานาชาติ หรือมีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้

        2. เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติ ได้แก่ เกจบล็อก ออปติคอลแฟลต ออปติคอลพาราแลล และ โต๊ะระดับเป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1. ข้อสอบข้อเขียน

    2. การสาธิตปฏิบัติงาน

    3. พิจารณาแฟ้มสะสมผลงานเพื่อประเมินหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



ยินดีต้อนรับ