หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้งานเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ 01D11

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้งานเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    D1 ผู้สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมิติ ชั้น 1



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความสามารถในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    - คู่มือการปฏิบัติงาน (Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01D1101 ใช้งานเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 1. สามารถเลือกใช้ชนิดและประเภทของเครื่องมือวัดละเอียดด้านมิติตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1101.01 142064
01D1101 ใช้งานเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 2. สามารถอ่านค่าของเครื่องมือวัดละเอียดด้านมิติอย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1101.02 142065
01D1102 ดูแลรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน 1. สามารถบำรุงรักษา ขนย้าย และจัดเก็บเครื่องมือวัดละเอียดด้านมิติพร้อมใช้งานอย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 01D1102.01 142066

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    สามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนดห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมิติชั้น 1


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครมิเตอร์และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์(ปรับปรุง 25 เม.ย. 2561) มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา หน้า 15

    2. การใช้งานและรักษาเครื่องมือมาตรฐานด้านมิติเช่น เกจบล็อก ออปติคอลพาลาแลล ออปติคอลแฟลตโต๊ะระดับ เป็นต้น

    3. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติ 2 ประเภท ได้แก่ ไมโครมิเตอร์และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ รวมถึงการทำความสะอาด การเคลื่อนย้าย การตรวจสอบความถูกต้องตามแผนปฏิบัติงาน

    2. วิธีการเลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานด้านมิติให้เหมาะสมกับงานสอบเทียบ รวมถึงการทำความสะอาดการเคลื่อนย้าย การตรวจสอบความถูกต้องตามแผนปฏิบัติงาน

    3. เข้าใจวิธีการใช้งานและอ่านค่าของเครื่องวัดสภาวะแวดล้อม รวมถึงการดูแลรักษาให้พร้อมใช้งาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. บันทึกการดูแลรักษาเครื่องมือ

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการฝึกอบรม

        2. บันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้และดูแลรักษาเครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐานด้านมิติและเครื่องมือมาตรฐานและเครื่องวัดสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบด้านมิติ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

        2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ

        เครื่องมือวัดละเอียดพื้นฐาน ได้แก่ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) และ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Venire Caliper)

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การดูแลรักษาตามคู่มือ หรือวิธีการที่กำหนดตามแผนปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านมิติ

        2. เครื่องมือวัดสภาวะแวดล้อม ได้แก่ เครื่องมือวัดอุณหภูมิ เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    1. ข้อสอบข้อเขียน

    2. การสาธิตปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ