หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การวิเคราะห์และวางแผนการปฏิบัติงานเชื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-QARI-011B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การวิเคราะห์และวางแผนการปฏิบัติงานเชื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ชำนาญการเชื่อมอุตสาหกรรม ระดับ 5
อาชีพนักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดเตรียมการสอนงานช่างเชื่อม ดำเนินการสอนงานช่างเชื่อม ประเมินผลการสอนงานช่างเชื่อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
หัวหน้าช่างเชื่อม ผู้ชำนาญการเชื่อม ช่างเชื่อมระดับ 3 ช่างเชื่อมอาวุโส บุคลากรงานเชื่อมในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม และกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020101 ดำเนินการอธิบายสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา

1. วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาคุณภาพงานเชื่อม ได้อย่างถูกต้อง

1020101.01 154659
1020101 ดำเนินการอธิบายสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา

2. กำหนดวิธีการแก้ปัญหาคุณภาพงานเชื่อม ได้อย่างถูกต้อง

1020101.02 154660
1020101 ดำเนินการอธิบายสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา

3. อธิบายสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาของคุณภาพงานเชื่อม ได้อย่างถูกต้อง

1020101.03 154661
1020102 ติดตาม ประเมินผลการแก้ปัญหาคุณภาพงานเชื่อม

1. บันทึกการติดตามการปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม ได้อย่างถูกต้อง

1020102.01 154662
1020102 ติดตาม ประเมินผลการแก้ปัญหาคุณภาพงานเชื่อม

2. ประเมินผลการติดตามการปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม ได้อย่างถูกต้อง

1020102.02 154663

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ความสามารถในการจัดเตรียมการสอนงานช่างเชื่อม
2. ความสามารถในการดำเนินการสอนงานช่างเชื่อม
3. ความสามารถในการประเมินผลการสอนงานช่างเชื่อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
2. ความรู้เกี่ยวกับกฎความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและป้องกันอันตรายที่เกิดจากการเชื่อม
3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง
4. ความรู้เกี่ยวกับชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงาน
5. ความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการทำงาน
6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินผลความเสี่ยงด้านความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. เอกสารตรวจเช็คความพร้อมการสอนช่างเชื่อม
2. วีดีทัศน์การสอนของครูช่างเชื่อม
3. แผนการสอนงานช่างเชื่อม
4. รายงานการประเมินสัมฤทธิ์ผลการสอน
5. รายงานผลการติดตามและประเมินผลการนำความรู้ไปใช้งาน
6. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
เอกสารบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับ การจัดเตรียมการสอน เทคนิคการสอนหน้างาน (On the job training) เทคนิคการสอนนอกงาน (Off the job training) การเป็นผู้สอนงาน การประเมินสัมฤทธิ์ผลการสอน วิธีการติดตามและประเมินผล (Follow up) การนำความรู้ไปใช้หลังการสอน
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง
1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) วิธีการประเมิน
1.การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้
2.การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ
การปฏิบัติการสอนงาน ให้คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการเตรียมการสอน เทคนิคการสอนหน้างาน (On the job Fraining) การประเมินผลสัมฤทธิ์การสอน การติดตามและการประเมินผลการนำความรู้ไปใช้และเทคนิคการสอน-นอกงาน (Off the job training)
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ปัจจัยต่าง ๆ ในการเตรียมการสอน ได้แก่ สถานที่ วัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์การฝึกและการสอน ความพร้อมของช่างเชื่อมที่จะทำการสอบรวมถึงการจัดกลุ่มช่างเชื่อมเพื่อทำการสอน
2. การสอนช่างช่างเชื่อมแบบเทคนิคการสอนหน้างาน (On the job training)
3. การประเมินผลสัมฤทธิ์การสอน ได้แก่ การประเมินจากแบบทดสอบ ความรู้และใบงานภาคปฏิบัติ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยตามเกณฑ์ที่กำหนด
4. การติดตามและประเมินผลการนำความรู้ไปใช้ของช่างเชื่อมจะทำการประเมินหลังการสอนแล้ว 3-6 เดือน
5. การสอนช่างเชื่อมแบบเทคนิคการสอนนอกงาน (Off the job training) ประกอบด้วย ขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน การให้เนื้อหา การประยุกต์ใช้งาน ประเมินผล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย
1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
2) เอกสารบันทึกจากการสังเกต
3) แฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง



ยินดีต้อนรับ