หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม วัสดุเหล็กกล้า วัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม วัสดุอลูมิเนียม

สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ WEL-DUKE-005B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม วัสดุเหล็กกล้า วัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม วัสดุอลูมิเนียม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพนักเทคโนโลยีการเชื่อมอุตสาหกรรม ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จำแนกประเภทของปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมได้สอดคล้องกับลักษณะงาน ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และจัดทำมาตรฐานคุณภาพของงานเชื่อมได้ถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
หัวหน้าช่างเชื่อม ผู้ชำนาญการเชื่อม ช่างเชื่อมระดับ 3 ช่างเชื่อมอาวุโส หรือบุคลากรงานเชื่อม การเชื่อมในสาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรมและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ISO 6520 Classification of geometric imperfection in metallic material. Part 1: Fusion welding

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010102 กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมของวัสดุเหล็กกล้า วัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม วัสดุอลูมิเนียม
1010102 กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมของวัสดุเหล็กกล้า วัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม วัสดุอลูมิเนียม
1010103 ดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมของวัสดุเหล็กกล้า วัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม วัสดุอลูมิเนียม
1010104 จัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติด้านคุณภาพงานเชื่อมของวัสดุเหล็กกล้า วัสดุเหล็กกล้าไร้สนิม วัสดุอลูมิเนียม

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ความสามารถรวบรวมปัญหาคุณภาพด้านงานเชื่อม
2. ความสามารถจำแนกประเภทปัญหาคุณภาพงานเชื่อม
3. ความสามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อม
4. ความสามารถจัดเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา
5. ความสามารถดำเนินการแก้ไขตามกระบวนการการแก้ปัญหา
6. ความสามารถจัดทำมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับชนิดของความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อม
2. ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการเสียรูปทรงในงานเชื่อม
3. ความรู้เกี่ยวกับการเทคนิควิธีการแก้ปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อม
4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. เอกสารรายงานปัญหาคุณภาพด้านงานเชื่อม
2. ชิ้นงานเชื่อม/ภาพถ่ายชิ้นงานเชื่อมที่เกิดปัญหา
3. เอกสารการแก้ไขปรับปรุงปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อม
4. เอกสารมาตรฐานคุณภาพของงานเชื่อม
5. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
เอกสารบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับชนิดของความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อม ปัญหาการเสียรูปทรงในงานเชื่อม เทคนิควิธีการแก้ปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อม และการจัดทำมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อม
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง
1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง
2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ง) วิธีการประเมิน
1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้
2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ
การปรับปรุงคุณภาพงานเชื่อม คำนึงถึงประเภทของปัญหาด้านงานเชื่อม การจัดเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหา การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาและการจัดทำมาตรฐานงานเชื่อม
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ประเภทของปัญหาด้านงานเชื่อมจำแนกได้ 2 ลักษณะดังนี้คือ
1.1 ปัญหาความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อม ได้แก่ รอยแตกร้าว โพรงอากาศ สารฝังใน หลอมละลายไม่สมบูรณ์ รูปร่างภายนอกไม่สมบูรณ์ การกัดกร่อน การแตกหักเสียหาย
1.2 ปัญหาของการเสียรูปทรงในชิ้นงานเชื่อม ได้แก่ การบิดงอ ความเค้นในงานเชื่อม
2. การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาด้านคุณภาพงานเชื่อมจะต้องครอบคลุมถึง วิธีการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่สมบูรณ์ในงานเชื่อมและปัญหาการเสียรูปทรงในชิ้นงานเชื่อม
3. การจัดเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย การประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการปฏิบัติการแก้ไขตามแนวทางที่กำหนด การจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ ฯลฯ
4. กระบวนการแก้ไข ประกอบด้วย การแก้ไขทางกายภาพ และการให้ความรู้กับช่างเชื่อม
5. มาตรฐานคุณภาพของงานเชื่อมจัดทำขึ้นหลังจากการแก้ปัญหาได้บรรลุตามแนวทางที่กำหนด และเพื่อให้ปัญหาในงานเชื่อมดังกล่าวไม่เกิดขึ้นอีกจึงต้องจัดทำเป็นมาตรฐานคุณภาพงานเชื่อมต่อไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย
1) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก
2) เอกสารบันทึกจากการสังเกต
3) แฟ้มสะสมผลงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง



 


ยินดีต้อนรับ