หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วินิจฉัยและซ่อมระบบตัวถังรถจักรยานยนต์

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-MTB-3-012ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วินิจฉัยและซ่อมระบบตัวถังรถจักรยานยนต์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานวินิจฉัยและซ่อมระบบตัวถังรถจักรยานยนต์ได้ตามคู่มือซ่อม ประกอบด้วย วินิจฉัยความเสียหายของระบบเบรก เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบเบรก วินิจฉัยความเสียหายของระบบบังคับเลี้ยว เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบบังคับเลี้ยว วินิจฉัยความเสียหายของระบบรองรับน้ำหนัก และเปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบรองรับน้ำหนัก ได้ตามคู่มือซ่อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
120341 วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบเบรก 1.1 วินิจฉัยความเสียหายของระบบเบรกได้ตามคู่มือซ่อม 120341.01 67487
120341 วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบเบรก 1.2 เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบเบรกได้ตามคู่มือซ่อม 120341.02 67488
120342 วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว 2.1 วินิจฉัยความเสียหายของระบบบังคับเลี้ยวได้ตามคู่มือซ่อม 120342.01 67489
120342 วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว 2.2 เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบบังคับเลี้ยวได้ตามคู่มือซ่อม 120342.02 67490
120343 วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบรองรับน้ำหนัก 3.1 วินิจฉัยความเสียหายของระบบรองรับน้ำหนักได้ตามคู่มือซ่อม 120343.01 67491
120343 วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบรองรับน้ำหนัก 3.2 เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบรองรับน้ำหนักได้ตามคู่มือซ่อม 120343.02 67492

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบเบรก

    2. การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว

    3. การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบรองรับน้ำหนัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ระบบเบรก

    2. ระบบบังคับเลี้ยว

    3. ระบบรองรับน้ำหนัก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน หรือ ภาพถ่ายผลการปฏิบัติงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานรถจักรยานยนต์ หรือ

        3. แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        การผ่านความสามารถ

        ผู้รับการประเมินสามารถปฏิบัติงานจริง หรือสาธิตการทำงาน/จำลองการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทักษะการทำงานได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอาชีพ สามารถตอบคำถามการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนรวมทั้งมีการแสดงเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอเพื่อแสดงผลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อประเมินทักษะและเจตคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ

        การไม่ผ่านความสามารถ

        หากภายหลังทราบผลการประเมินว่า ผู้รับการประเมินไม่สามารถปฏิบัติงานจริง หรือไม่สามารถสาธิตการทำงาน/จำลองการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทักษะการทำงานได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอาชีพ ไม่สามารถตอบคำถามการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งไม่มีการแสดงเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอเพื่อแสดงผลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ผ่านมา ไม่ผ่านการประเมินทักษะและเจตคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ ซึ่งหมายความว่าผู้รับการประเมินจะต้องเข้ารับการประเมินสมรรถนะใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ต้องเข้ารับการประเมินในระดับนั้นๆ ใหม่ทั้งหมด แต่จะเข้ารับการประเมินใหม่เฉพาะในหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่านการประเมินเท่านั้น โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะถูกกำหนดให้

        - เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติม หรือ เรียนรู้เพิ่มเติม หรือ เสริมสร้างประสบการณ์เพิ่มเติม

        - เข้ารับการประเมินใหม่อีกครั้งเมื่อมีความพร้อม จนกว่าจะได้รับการประเมินผลเป็น ผ่าน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ

        ผู้ที่จะเข้ารับการประเมินจะต้องมีความรู้และทักษะในการวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบเบรก การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว และการวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบรองรับน้ำหนัก

        1. การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบเบรก สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบด้วย การวินิจฉัยความเสียหายของระบบเบรก และการเปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบเบรก ได้ตามคู่มือซ่อม

        2. การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยว สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบด้วย การวินิจฉัยความเสียหายของระบบบังคับเลี้ยว และการเปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบบังคับเลี้ยว ได้ตามคู่มือซ่อม

        3. การวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบรองรับน้ำหนัก สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบด้วย การวินิจฉัยความเสียหายของระบบรองรับน้ำหนัก และการเปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบรองรับน้ำหนัก ได้ตามคู่มือซ่อม

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. วินิจฉัยความเสียหายระบบเบรกและเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ตามคู่มือซ่อม

            1.1 ล้อหน้าหมุนฝืด

            1.2 มีแรงสะท้านเวลาเบรก

            1.3 เวลาเบรกมีเสียงดัง

            1.4 มีอากาศในระบบเบรกแบบไฮดรอลิกส์

        2. วินิจฉัยความเสียหายระบบบังคับเลี้ยวและเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ตามคู่มือซ่อม

            2.1 แฮนด์หนัก

            2.2 แฮนด์เอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือวิ่งไม่เป็นทางตรง

            2.3 ล้อหน้าส่าย

            2.4 ลูกปืนคอหลวมมีเสียงดังเวลาตกหลุมหรือขึ้นเนินลูกระนาด

        3. วินิจฉัยความเสียหายระบบรองรับน้ำหนักและเปลี่ยนชิ้นส่วนได้ตามคู่มือซ่อม

            3.1 โช๊คอัพอ่อน

            3.2 โช๊คอัพคด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน วินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบเบรกตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2 เครื่องมือประเมิน ทดสอบวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบบังคับเลี้ยวตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3 เครื่องมือประเมิน ทดสอบวินิจฉัยและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบรองรับน้ำหนักตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ