หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังรถจักรยานยนต์

สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASV-MTB-2-001ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังรถจักรยานยนต์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    ช่างบำรุงรักษารถจักรยานยนต์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังรถจักรยานยนต์ได้ตามคู่มือซ่อมประกอบด้วย อ่านตารางบำรุงรักษาตามระยะทาง ตรวจสอบการทำงานของคันเร่งและปรับตั้งระยฟรี ตรวจสอบและปรับตั้งความเร็วรอบเดินเบา ตรวจสอบและเปลี่ยนอุปกรณ์ระบบควบคุมอากาศบำบัดไอเสีย ตรวจสอบการทำงานของตัวปรับตั้งความตึงโซ่ราวลิ้นอัตโนมัติ ตรวจสอบระดับและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทำความสะอาด/เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง ตรวจสอบสภาพการรั่วซึมของท่อทางน้ำหล่อเย็น สภาพหม้อน้ำ ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำหล่อเย็น น้ำมันเฟืองท้าย ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์ว ตรวจสอบสภาพไส้กรองอากาศ ตรวจสอบท่อระบายเรือนเครื่องยนต์ ท่อระบายเรือนไส้กรองอากาศ ตรวจสอบการทำงานของสวิทช์คลัทซ์ตรวจสอบและปรับตั้งการทำงานของคลัทซ์ ตรวจสอบสภาพและปรับตั้งโซ่ขับเคลื่อน ตรวจสอบสภาพสเตอร์ตรวจสอบสภาพสายพานขับเคลื่อน ตรวจสอบผ้าคลัทซ์แรงเหวี่ยง ตรวจสอบตุ้มน้ำหนักได้ตามคู่มือซ่อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    บริการยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
120111 ตรวจสอบการทำงานระบบเครื่องยนต์ 1.1 อ่านตารางบำรุงรักษาตามระยะทางได้ตามตามคู่มือซ่อม 120111.01 67363
120111 ตรวจสอบการทำงานระบบเครื่องยนต์ 1.2 ตรวจสอบการทำงานของคันเร่งและปรับตั้งระยะฟรีได้ตามคู่มือซ่อม 120111.02 67364
120111 ตรวจสอบการทำงานระบบเครื่องยนต์ 1.3 ตรวจสอบและปรับตั้งความเร็วรอบเดินเบาได้ตามคู่มือซ่อม 120111.03 67365
120111 ตรวจสอบการทำงานระบบเครื่องยนต์ 1.4 ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบควบคุมมลพิษได้ตามคู่มือซ่อม 120111.04 67366
120111 ตรวจสอบการทำงานระบบเครื่องยนต์ 1.5 ตรวจสอบการทำงานของตัวปรับตั้งความตึงโซ่ราวลิ้นอัตโนมัติได้ตามคู่มือซ่อม 120111.05 67367
120112 ตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว 2.1 ตรวจสอบระดับและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องได้ตามคู่มือซ่อม 120112.01 67368
120112 ตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว 2.2 ทำความสะอาด/เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องได้ตามคู่มือซ่อม 120112.02 67369
120112 ตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว 2.3 ตรวจสอบสภาพการรั่วซึมของท่อทางน้ำหล่อเย็นสภาพหม้อน้ำได้ตามคู่มือซ่อม 120112.03 67370
120112 ตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว 2.4 ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำหล่อเย็นได้ตามคู่มือซ่อม 120112.04 67371
120112 ตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว 2.5 ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายได้ตามคู่มือซ่อม 120112.05 67372
120113 ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วไอดี ไอเสีย 3.1 ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วได้ตามคู่มือซ่อม 120113.01 67373
120114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศ 4.1 ตรวจสอบสภาพไส้กรองอากาศได้ตามคู่มือซ่อม 120114.01 67374
120114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศ 4.2 ตรวจสอบท่อระบายเรือนเครื่องยนต์ได้ตามคู่มือซ่อม 120114.02 67375
120114 ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศ 4.3 ตรวจสอบท่อระบายเรือนไส้กรองอากาศได้ตามคู่มือซ่อม 120114.03 67376
120115 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา 5.1 ตรวจสอบการทำงานของสวิทช์คลัทซ์ได้ตามคู่มือซ่อม 120115.01 67377
120115 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา 5.2 ตรวจสอบและปรับตั้งการทำงานของคลัทซ์ได้ตามคู่มือซ่อม 120115.02 67378
120115 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา 5.3 ตรวจสอบสภาพและปรับตั้งโซ่ขับเคลื่อนได้ตามคู่มือซ่อม 120115.03 67379
120115 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา 5.4 ตรวจสอบสภาพสเตอร์ได้ตามคู่มือซ่อม 120115.04 67380
120116 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ 6.1 ตรวจสอบสภาพสายพานขับเคลื่อนได้ตามคู่มือซ่อม 120116.01 67381
120116 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ 6.2 ตรวจสอบผ้าคลัทซ์แรงเหวี่ยงได้ตามคู่มือซ่อม 120116.02 67382
120116 ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ 6.3 ตรวจสอบตุ้มน้ำหนักได้ตามคู่มือซ่อม 120116.03 67383

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. การตรวจสอบการทำงานของระบบเครื่องยนต์

    2. การตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว

    3. การตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วไอดี ไอเสีย

    4.การตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศ

    5.การตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา

    6.การตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในตารางการบำรุงรักษา

    2. ระบบเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์

    3. ระบบส่งกำลังรถจักรยานยนต์

    4. การเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถจักรยานยนต์

    5. ระบบวาล์วไอดี ไอเสีย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน หรือ ภาพถ่ายผลการปฏิบัติงาน

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. ใบรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ หรือ

        2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานรถจักรยานยนต์ หรือ

        3. แฟ้มสะสมผลการปฏิบัติงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        การผ่านความสามารถ

        ผู้รับการประเมินสามารถปฏิบัติงานจริง หรือสาธิตการทำงาน/จำลองการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทักษะการทำงานได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอาชีพ สามารถตอบคำถามการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนรวมทั้งมีการแสดงเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอเพื่อแสดงผลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อประเมินทักษะและเจตคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ

        การไม่ผ่านความสามารถ

        หากภายหลังทราบผลการประเมินว่า ผู้รับการประเมินไม่สามารถปฏิบัติงานจริง หรือไม่สามารถสาธิตการทำงาน/จำลองการทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทักษะการทำงานได้อย่างถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอาชีพ ไม่สามารถตอบคำถามการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความรู้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งไม่มีการแสดงเอกสารหลักฐานอย่างเพียงพอเพื่อแสดงผลการปฏิบัติงานต่างๆ ที่ผ่านมา ไม่ผ่านการประเมินทักษะและเจตคติที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนั้นๆ ซึ่งหมายความว่าผู้เข้ารับการประเมินจะต้องเข้ารับการประเมินสมรรถนะใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ต้องเข้ารับการประเมินในระดับนั้นๆ ใหม่ทั้งหมด แต่จะเข้ารับการประเมินใหม่เฉพาะในหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่านการประเมินเท่านั้น โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะถูกกำหนดให้

        - เข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติม หรือ เรียนรู้เพิ่มเติม หรือ เสริมสร้างประสบการณ์เพิ่มเติม

        - เข้ารับการประเมินใหม่อีกครั้งเมื่อมีความพร้อม จนกว่าจะได้รับการประเมินผลเป็น ผ่าน    


15. ขอบเขต (Range Statement)

    (ก) คำแนะนำ

        ผู้รับการประเมินสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบเครื่องยนต์ การตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว การตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วไอดี ไอเสีย การตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศ การตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา และการตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ตรวจสอบการทำงานของระบบเครื่องยนต์ สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบไปด้วย การอ่านตารางบำรุงรักษาตามระยะทาง ตรวจสอบการทำงานของคันเร่งและปรับตั้งระยะฟรี ตรวจสอบและปรับตั้งความเร็วรอบเดินเบาตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบควบคุมมลพิษ ตรวจสอบการทำงานของตัวปรับตั้งความตึงโซ่ราวลิ้นอัตโนมัติ

        2. ตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบไปด้วย ตรวจสอบระดับและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทำความสะอาด/เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง ตรวจสอบสภาพการรั่วซึมของท่อทางน้ำหล่อเย็น สภาพหม้อน้ำ ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำหล่อเย็น และตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายได้

        3. ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วไอดี ไอเสีย สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ คือ ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์ว

        4. ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศ สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบไปด้วยตรวจสอบสภาพไส้กรองอากาศ ตรวจสอบท่อระบายเรือนเครื่องยนต์ และตรวจสอบท่อระบายเรือนไส้กรองอากาศ

        5. ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบไปด้วยตรวจสอบการทำงานของสวิทช์คลัทซ์ ตรวจสอบและปรับตั้งระยะฟรีคลัทซ์ ตรวจสอบสภาพและปรับตั้งโซ่ขับเคลื่อน และตรวจสอบสภาพสเตอร์ได้

        6.ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติ สิ่งที่ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องสามารถกระทำได้ ประกอบไปด้วยตรวจสอบสภาพสายพานขับเคลื่อน ตรวจสอบผ้าคลัทซ์แรงเหวี่ยง ตรวจสอบตุ้มน้ำหนักได้

    1.การตรวจสอบทำงานระบบเครื่องยนต์

        1.1 อ่านตารางบำรุงรักษาตามระยะทางได้ตามคู่มือซ่อม

            1) ความหมายของสัญลักษณ์

            2) ความหมายของตัวเลขแสดงระยะทาง

            3) เงื่อนไงและข้อกำหนด

        1.2 ตรวจสอบการทำงานและปรับตั้งระยะฟรีของคันเร่งได้ตามคู่มือซ่อม

            1) วัดระยะฟรีปลอกคันเร่งที่ริมขอบของปลอกคันเร่ง

            2) ค่ามาตรฐานระยะฟรีคันเร่ง 2-6 มม.

            3) ปรับตั้งระยะฟรีสายคันเร่งแบบมาตรฐาน และแบบเร่งด่วน

            4) ตรวจสอบความคล่องตัวของคันเร่ง

            5) ข้อควรระวังและความปลอดภัยในการทำงาน

        1.3 ตรวจสอบและปรับตั้งความเร็วรอบเดินเบาได้ตามคู่มือซ่อม

            1) ค่ามาตรฐานความเร็วรอบเดินเบา

            2) การใช้งานเครื่องวัดรอบและอ่านค่าเครื่องมือวัดความเร็วรอบเดินเบา

            3) ตำแหน่งของสกรูปรับรอบเดินเบา

            4) การปรับตั้งความเร็วรอบเดินเบา    

        1.4 ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบควบคุมมลพิษในรถจักรยานยนต์ได้ตามคู่มือซ่อม

            1) ตรวจสอบการหลุด/หลวมของท่อยางของระบบ

            2) ตรวจสอบการเสื่อมสภาพของท่อยางของระบบ

            3) ตรวจสอบการทำงานของวาล์วควบคุมอากาศบำบัดไอเสีย

            4) ตรวจสอบการทำงานของวาล์วควบคุมไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิง

    2. การตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายของเหลว

        2.1 ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องได้ตามคู่มือซ่อม

            1) เช็คระดับน้ำมันเครื่องทุกครั้งก่อนการเปลี่ยนถ่ายเพื่อทราบสภาพของเครื่องยนต์

            2) ปริมาณการเติมน้ำมันเครื่องทุกๆกรณี เปลี่ยนถ่ายอย่างเดียว, ทำความสะอาดกรองน้ำมันเครื่อง,หลังการถอดประกอบเครื่องยนต์

            3) เลือกชนิดของน้ำมันเครื่องให้เหมาะกับประเภทของเครื่องยนต์ (ผลกระทบที่มีต่อเครื่องยนต์หากเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นที่ไม่เหมาะสม เช่น รถจักรยานยนต์ระบบคลัทช์เปียก หากใช้น้ำมันเครื่องชนิด MB จะส่งผลให้เกิดการลื่นของผ้าคลัทช์ส่งผลให้ผ้าคลัทช์ไหม้ในระยะยาว

        2.2 ทำความสะอาดกรองน้ามันเครื่องได้ตามคู่มือซ่อม

            1) ทำความสะอาด/เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่อง

            2) ตำแหน่งของกรองน้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์ กรองแบบกระดาษ, แบบตะแกรงกรอง, แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง

            3) ถอดตะแกรงกรองน้ำมันเครื่องและทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายที่ไม่ติดไฟหรือมีจุดวาบไฟสูง

            4) ประกอบตะแกรงกรองน้ำมันเครื่อง

            5) ถอดฝาครอบกรองแรงเหวี่ยงและทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายที่ไม่ติดไฟหรือมีจุดวาบไฟสูง

            6) ประกอบไส้กรองแบบกระดาษ

        2.3 ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายได้ตามคู่มือซ่อม

        2.4 ตรวจสอบระบบหล่อเย็นได้ตามคู่มือซ่อม

            1) ตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำหล่อเย็น

            2) ตรวจสอบความเสียหายการเสื่อมสภาพของท่อน้ำ

            3) ตรวจสอบความเสียหายของหม้อน้ำ

            4) ตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็น

    3.ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์ได้ตามคู่มือซ่อม

    4.ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศได้ตามคู่มือซ่อม

        4.1 ตรวจสอบและเปลี่ยนไส้กรองอากาศ

        4.2 ตรวจสอบท่อระบายเรือนเครื่องยนต์

        4.3 ตรวจสอบท่อระบายเรือนไส้กรองอากาศ

    5.ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดาได้ตามคู่มือซ่อม

        5.1 ตรวจสอบการทำงานของสวิทช์คลัทซ์

        5.2 ตรวจสอบระยะฟรีคลัทช์

        5.3 ปรับตั้งระยะฟรีคลัทซ์แบบมาตรฐานและแบบเร่งด่วน

        5.4 ตรวจสอบสภาพและปรับตั้งโซ่ขับเคลื่อน

        5.5 ตรวจสอบสภาพสเตอร์

    6.ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติได้ตามคู่มือซ่อม

        6.1 ตรวจสอบสภาพสายพานขับเคลื่อน

        6.2 ตรวจสอบผ้าคลัทซ์แรงเหวี่ยง

        6.3 ตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบการทำงานระบบเครื่องยนต์ตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ พร้อมปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและเปลี่ยนถ่ายของเหลวตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติ พร้อมปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและปรับตั้งระยะห่างวาล์วไอดี ไอเสียตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.4 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและเปลี่ยนชิ้นส่วนระบบกรองอากาศตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.5 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดาตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

    18.6 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบและปรับตั้งระบบส่งกำลังแบบเกียร์อัตโนมัติตามคู่มือซ่อม

        1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน วิธีการประกอบ การตรวจสอบ

        2) แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และปัญหาที่พบในการทำงาน

        3) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ หลักการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และผลที่เกิดจากการปฏิบัติพร้อม ปัญหาและแนวทางแก้ไข

        ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ