หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบท่อโดยใช้เกลียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-HKIU-053A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบท่อโดยใช้เกลียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ท่อประปาภายในอาคารด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้อย่างถูกต้อง ได้ตามแบบกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04302.01 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1.เลือกเครื่องมือทำเกลียวท่อได้อย่างถูกต้อง 04302.01.01 152756
04302.01 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 2.ตั้งค่าเครื่องมือทำเกลียวได้อย่างถูกต้อง 04302.01.02 152757
04302.01 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 3.ใช้เครื่องมือทำเกลียวท่อได้อย่างถูกต้องตามคู่มือของเครื่องมือ 04302.01.03 152758
04302.01 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 4. ตรวจความเรียบร้อยของเกลียวท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 04302.01.04 152759
04302.02 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว 1.กำหนดตำแหน่งที่จะประกอบท่อโดยใช้เกลียวได้อย่างถูกต้อง 04302.02.01 152760
04302.02 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว 2.พันเกลียวท่อด้วยเทปพันเกลียวได้อย่างถูกต้อง 04302.02.02 152761
04302.02 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว 3.ต่อท่อและขันเกลียวท่อให้แน่นด้วยเครื่องมือที่ได้อย่างถูกต้อง 04302.02.03 152762
04302.03 ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว 1. ทดสอบความแน่นของการประกอบท่อโดยใช้เกลียวได้อย่างถูกต้อง 04302.03.01 152763
04302.03 ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว 2. เลือกใช้วิธีทำความสะอาดพื้นที่หลังการประกอบท่อโดยใช้เกลียวได้อย่างถูกต้อง 04302.03.02 152764
04302.03 ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว 3. จัดเก็บเครื่องมือหลังการใช้งานได้อย่างถูกต้อง 04302.03.03 152765

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการใช้เครื่องมือ

2) ทักษะการตัดและประกอบท่อ

3) ทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือแรงดันน้ำ

4) ทักษะการทำเกลียวและพันเกลียว

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

2) ความรู้เกี่ยวกับชนิดเกลียว

3) ความรู้พื้นฐานในด้านการทำเกลียวท่อประปา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา       

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประกอบท่อโดยใช้เกลียว โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) เครื่องมือทำเกลียวท่อ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในตัดเตรียมความพร้อมงานต่อท่อโดยใช้เกลียว เช่น เครื่องมือคว้านท่อ เครื่องต๊าปเกลียวท่อ เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นต้น

    2) ท่อที่ใช้ในข้อต่อชนิดเกลียว เช่น ท่อพีวีซี (PVC) ท่อพีบี (PB) ท่อเหล็กเหนียว(ST) ท่อเหล็กอาบสังกาสี (GI) เป็นต้น

    3) เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบท่อโดยใช้ข้อต่อเกลียวประกอบด้วย

        3.1) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตัดท่อ อาทิ เลื่อยตัดท่อ กรรไกรตัดท่อ เป็นต้น

        3.2) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบท่อด้วยข้อต่อเกลียว เช่น เทปพันเกลียว ประแจเลื่อน ประแจตาย ประแจข้อม้า แปรงทาสี ถังน้ำ เป็นต้น

        3.3) อุปกรณ์ทำความสะอาด อาทิ ผ้าทำความสะอาด ฟองน้ำ ถังน้ำ ไม้กวาด เป็นต้น

        3.4) วัสดุที่ใช้ในการต่อ อาทิ ท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือข้อต่อท่อ เป็นต้น

    4) เทปพันเกลียว (Teflon Tape) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่างๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีลการรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว

    5) เตรียมความพร้อมของเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไป ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ เป็นต้น

    6) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    7) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น

    8) คู่มือของเครื่องมือ หมายถึง คู่มือที่อธิบายลักษณะวิธีใช้ที่ถูกต้องของเครื่องมือนั้น อาทิ คู่มือเครื่องทำเกลียว เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมิน ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ค) เครื่องมือประเมิน ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ