หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-RTEO-028A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2113 นักเคมี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานผลิตน้ำประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02311.01 เก็บข้อมูลที่ใช้ในคำนวณอัตราจ่ายสารเคมี 1. วัดปริมาณการไหลโดยการวัดปริมาณในเวลาที่กำหนดได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02311.01.01 152463
02311.01 เก็บข้อมูลที่ใช้ในคำนวณอัตราจ่ายสารเคมี 2. หาค่าเฉลี่ยอัตราการไหลได้อย่างถูกต้อง 02311.01.02 152464
02311.01 เก็บข้อมูลที่ใช้ในคำนวณอัตราจ่ายสารเคมี 3. จดบันทึกผลการวัดและการคำนวณได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02311.01.03 152465
02311.01 เก็บข้อมูลที่ใช้ในคำนวณอัตราจ่ายสารเคมี 4. อ่านผลคุณภาพน้ำดิบและนำมาใช้คำนวณต่อได้ถูกต้อง 02311.01.04 152466
02311.02 คำนวณปริมาณสารเคมี 1. ใช้ข้อมูลการวัดน้ำดิบเปิดตารางเพื่อหาปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการผลิตได้อย่างถูกต้อง 02311.02.01 152467
02311.02 คำนวณปริมาณสารเคมี 2. หาปริมาณสารเคมีที่จ่ายเข้าระบบได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02311.02.02 152468
02311.02 คำนวณปริมาณสารเคมี 3. กำหนดอัตราการกวนสารเคมีและเวลาในการกวนได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02311.02.03 152469

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการสังเกตเห็นความผิดปกติของสารเคมี (เสื่อมคุณภาพ) และเครื่องจ่ายสารเคมี และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

2) ทักษะการจัดเตรียม จัดเก็บ เคลื่อนย้ายสารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

3) ทักษะการคำนวณอัตราจ่ายสารละลายของเครื่องจ่ายสารเคมี

4) ทักษะการผสมและบรรจุสารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

5) ทักษะการคำนวณอัตราการจ่ายปริมาณสารเคมี

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับสารเคมี การใช้สารเคมี การผสมสารเคมี และการบรรจุสารเคมี

2) ความรู้ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ การแต่งกาย

3) ความรู้ในการใช้เครื่องจ่ายสารเคมี

4) ความรู้คณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าร้อยละ 

5) ความรู้สูตรคำนวณหาอัตราการจ่ายปริมาณสารเคมี

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) การคำนวณการปรับจ่ายสารเคมีสำหรับจ่ายเข้าสู่ระบบ ดังนี้

        1.1) ทำการวัดปริมาณการไหลโดยการวัดปริมาณในเวลาที่กำหนด

        1.2) คำนวณหาค่าเฉลี่ยอัตราการไหลได้อย่างถูกต้อง

        1.3) จดบันทึกผลการวัดและการคำนวณ

        1.4) ใช้ข้อมูลการวัดน้ำดิบเปิดตารางเพื่อหาปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการผลิตได้

        1.5) คำนวณอัตราการจ่ายสารเคมีชนิดต่างๆได้ เช่น การใช้สารส้มและปูนขาว การใช้โพลีอลูมิเนียมคลอไรด์ การใช้คลอรีน เป็นต้น

        1.6) ตัวแปรงสูตรคำนวณ ปริมาณสารเคมีที่ใช้ต่อรอบ = อัตราการผลิตน้ำประปา (ลบ.ม./ซม.) x ปริมาณสารเคมีที่ใช้ (กรัม/ลบ.ม.) x ระยะเวลาการผลิตน้ำประปา (ชม./วัน)

    2) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ หรือการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    3) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    4) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการเก็บข้อมูลที่ใช้ในคำนวณอัตราจ่ายสารเคมี

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมินการคำนวณปริมาณสารเคมี

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ