หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบผลิตน้ำประปาชุมชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-XRIU-014A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบผลิตน้ำประปาชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมถังกวนเร็ว ถังกวนช้า (ถังรวมตะกอน) ถังกรอง ถังตกตะกอน และถังน้ำใสให้ได้ปริมาณน้ำดิบที่ผ่านระบบผลิตน้ำได้เต็มประสิทธิภาพและแผนที่กำหนดไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานผลิตน้ำประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02214.01 ดูแลถังตกตะกอน 1. ตรวจความพร้อมท่อกวนเร็วได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.01.01 152316
02214.01 ดูแลถังตกตะกอน 2. ตรวจความพร้อมถังตกตะกอนได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.01.02 152317
02214.01 ดูแลถังตกตะกอน 3. บ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับถังตกตะกอนและปรับแต่งได้อย่างถูกต้องตาม 02214.01.03 152318
02214.02 ดูแลถังกรองน้ำ 1. เปิด-ปิดระบบวาล์วในการระบบกรองน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.02.01 152319
02214.02 ดูแลถังกรองน้ำ 2. ระบุความผิดปกติการทำงานของระบบกรองน้ำได้อย่างถูกต้อง 02214.02.02 152320
02214.02 ดูแลถังกรองน้ำ 3. ปรับระดับน้ำในถังกรองได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.02.03 152321
02214.02 ดูแลถังกรองน้ำ 4. ล้างชั้นทรายกรองได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.02.04 152322
02214.02 ดูแลถังกรองน้ำ 5. เติมชั้นทรายกรองได้ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.02.05 152323
02214.03 ดูแลถังน้ำใส 1. ตรวจความพร้อมของถังน้ำใสสิ่งตกค้าง และประตูน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.03.01 152324
02214.03 ดูแลถังน้ำใส 2. ปรับระดับน้ำในถังน้ำใสได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.03.02 152325
02214.03 ดูแลถังน้ำใส 3. วัดคลอรีนหลงเหลือได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02214.03.03 152326
02214.04 ทำความสะอาดระบบผลิตน้ำประปาหลังการใช้งาน 1. ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดได้อย่างถูกต้อง 02214.04.01 152327
02214.04 ทำความสะอาดระบบผลิตน้ำประปาหลังการใช้งาน 2. เลือกใช้น้ำทำความสะอาดได้อย่างถูกต้อง 02214.04.02 152328
02214.04 ทำความสะอาดระบบผลิตน้ำประปาหลังการใช้งาน 3. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนดความปลอดภัย 02214.04.03 152329

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการสังเกตเห็นความผิดปกติของระบบผลิตและอุปกรณ์เบื้องต้นทางกายภาพได้ (ทางการมองเห็น การได้ยิน)

2) ทักษะการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักรระบบผลิตน้ำประปา

3) ทักษะการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง

4) ทักษะการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือวัดเบื้องต้น

5) ทักษะการล้างชั้นกรองและเติมสารชั้นกรองตามข้อกำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ การแต่งกาย

2) ความรู้กระบวนการผลิตน้ำประปา

3) ความรู้การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักรระบบผลิตน้ำประปา

4) ความรู้การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่าง

5) ความรู้การใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องมือวัดเบื้องต้น

6) ความรู้การล้างชั้นกรองและเติมสารชั้นกรอง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมระบบผลิตน้ำประปาชุมชน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

ระบบประปาชุมชน จะเป็นระบบผลิตน้ำประปาที่มีกำลังผลิตไม่เกิน 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ในส่วนงานของการควบคุมระบบสูบน้ำดิบ มีรายละเอียดดังนี้

    1) ควบคุมถังกวนเร็ว ถังกวนช้า (ถังรวมตะกอน) ถังกรอง ถังตกตะกอน และถังน้ำใสให้ได้ปริมาณน้ำดิบที่ผ่านระบบผลิตน้ำได้เต็มประสิทธิภาพและแผนที่กำหนดไว้ ตั้งแต่เตรียมกระบวนการผลิต สังเกตระดับน้ำตามถังต่างให้มีปริมาณน้ำที่เหมาะสม เปิด-ปิดประตูน้ำตามถังต่างๆ ให้มีปริมาณน้ำที่เหมาะสม ล้างชั้นกรองและเติมชั้นกรองตามข้อกำหนด และตรวจสอบค่าคลอรีนหลงเหลือตามข้อกำหนด

    2) ถังกรองน้ำมีสองใบคู่กัน ทำงานแยกจากกัน มีอัตราการกองรวม 50 ลบ.ม./ซม. ทำหน้าที่กรองตะกอนเบาที่มีขนาดเล็กที่หลุดออกมาจากถังตกตะกอน โดยการทำให้น้ำไหนผ่านทรายกรอง ทำให้ตะกอนติดค้างในชั้นทรายกรอง น้ำที่ผ่านการกรองแล้วจะต้องเหลือความขุ่นไม่เกิน 5 NTU ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภค ซึ่งทรายกรองที่ใช้นั้นต้องเป็นชนิดที่ใช้ในการกรองน้ำ และมีลักษณะเป็นเม็ดกลม สะอาด ปราศจากอินทรีย์และฝุ่น

    3) ถังน้ำใสทำหน้าที่กักเก็บน้ำที่ผ่านการกรอง และทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างอัตราการผลิตน้ำกับระบบน้ำดิบ และระหว่างระบบผลิตน้ำกับระบบจ่ายน้ำประปา รวมทั้งทำหน้าที่เป็นบ่อสูบน้ำให้กับเครื่องสูบน้ำดี โดยทั่วไปจะอยู่ใต้ดินเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำไม่ให้มีอุณหภูมิที่สูงเกินไป การตรวจสอบถังน้ำใสควรตรวจสอบดูป้ายบอกปริมาตรน้ำในถังน้ำใสว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ปริมาตรน้ำในถังน้ำใสตรงกับปริมาตรที่ป้ายบอกหรือไม่ นอกจากนี้ตัวเลขที่แสดงปริมาตรน้ำในถังน้ำใสจะต้องชัดเจน

    4) ถังตะกอนมีลักษณะเป็นถังสี่เหลี่ยมมีผนังกั้นกลาง และมีช่องเชื่อมระหว่างถัง เพื่อปรับระดับน้ำ 2 ฝั่งให้เท่ากัน ทำหน้าที่ดักตะกอนจากน้ำที่ผ่านระบบสร้างตะกอน และระบบรวมตะกอน เนื่องจากน้ำที่ไหลผ่านถังตกตะกอนมีความเร็วต่ำ ทำให้ตะกอนที่มีขนาดใหญ่ตกลงสู่ก้นถังตกตะกอน เหลือแต่ตะกอนเบาที่มีขนาดเล็ก ถ้ามองด้วยตาเปล่าน้ำจะมีลักษณะค่อนข้างใส

    5) ชั้นกรอง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ 1) ชั้นบน จะใช้ทรายกรองที่มีประสิทธิภาพ 0.5-0.7 มม. และมีความหนา 70 ซ.ม. 2) ชั้นล่าง จะใช้ทรายกรองที่มีประสิทธิภาพ 1.2-2.0 มม. และมีความหนา 15 ซ.ม. ชั้นกรองต้องมีค่าสัมประสิทธิ์ความสม่ำเสมอไม่เกิน 1.70 โดยทั่วไปจะล้างทรายกรองทุกๆ 24 ชั่วโมง หรือ ประสิทธิภาพการกรองลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสามารถสังเกตได้จาก ระดับน้ำถังกรองเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับใกล้เคียงกับน้ำในถังตกตะกอน ทั้งนี้การล้างทรายกรองยังขึ้นอยู่กับอีกหลายๆ ปัจจัย เช่น คุณภาพน้ำ เวลาน้ำในถังตกตะกอน เทคโนโลยีของโรงผลิตน้ำ เป็นต้น

    6) การตรวจสอบค่าคลอรีนหลงเหลือ นิยมใช้ 2 วิธี คือ 1) วิธีการเทียบสี 2) วิธีการใช้ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำดื่ม (ว720) ของกรมอนามัย เป็นต้น

    7) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานควบคุมระบบผลิตน้ำประปาชุมชน ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    8) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น  มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงหรือการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    9) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการดูแลถังตกตะกอน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมินการดูแลถังกรองน้ำ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องมือประเมินการดูแลถังน้ำใส

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ง) เครื่องมือประเมินการทำความสะอาดระบบผลิตน้ำประปาหลังการใช้งาน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ