หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-LLUK-070A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทดสอบระบบเพื่อส่งมอบงานสามารถตรวจสอบเก็บงาน ดูแลความเรียบร้อยก่อนส่งต่อไปยังลูกค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04319.01 เตรียมเอกสารเพื่อการทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงาน 1. ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงานได้อย่างละเอียดถูกต้อง 04319.01.01 152937
04319.01 เตรียมเอกสารเพื่อการทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงาน 2. ระบุจำนวนการตรวจสอบรายการทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงานได้อย่างละเอียดถูกต้อง 04319.01.02 152938
04319.01 เตรียมเอกสารเพื่อการทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงาน 3. จัดทำเอกสารให้พร้อมสำหรับการการทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงานได้อย่างถูกต้อง 04319.01.03 152939
04319.02 ตรวจการติดตั้งสุขภัณฑ์ประเภทต่างๆ 1. ตรวจดูการติดตั้งสุขภัณฑ์ในประเภทต่างๆได้ครบถ้วนตามแบบและมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง 04319.02.01 152940
04319.02 ตรวจการติดตั้งสุขภัณฑ์ประเภทต่างๆ 2. ทดลองการใช้งานสุขภัณฑ์ได้ดีตามข้อกำหนดมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง 04319.02.02 152941
04319.02 ตรวจการติดตั้งสุขภัณฑ์ประเภทต่างๆ 3. ตรวจดูรอยประกบระหว่างสุขภัณฑ์และพื้นผิวให้แนบสนิทได้อย่างถูกต้อง 04319.02.03 152942
04319.02 ตรวจการติดตั้งสุขภัณฑ์ประเภทต่างๆ 4. ตรวจดูความสะอาดของตัวสุขภัณฑ์และพื้นที่ที่ติดตั้งได้อย่างถูกต้อง 04319.02.04 152943
04319.03 ตรวจความปลอดภัยในการใช้งานของสุขภัณฑ์ 1. ดูการทำงานของสุขภัณฑ์ไม่เสียงดังสั่นสะเทือนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ได้อย่างถูกต้อง 04319.03.01 152944
04319.03 ตรวจความปลอดภัยในการใช้งานของสุขภัณฑ์ 2. ดูท่ออากาศและอุปกรณ์ดักกลิ่นให้ถูกต้องตามข้อกำหนด 04319.03.02 152945
04319.03 ตรวจความปลอดภัยในการใช้งานของสุขภัณฑ์ 3. ตรวจดูเหลี่ยมมุมและรอยคมของวัสดุการติดตั้งสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง 04319.03.03 152946

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะทางด้านการอ่านแบบและถอดแบบ

2) ทักษะการสำรวจและตรวจหาตำแหน่งรั่วในระบบท่อ

3) ทักษะในการทดสอบแรงดันน้ำ

4) ทักษะในการแก้ไขท่อระบายอากาศ ความปลอดภัยในการทำงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เรื่องระบบท่อจ่ายน้ำและท่อจำหน่ายน้ำประปาภายในอาคาร

2) ความรู้เกี่ยวกับสุขภัณฑ์

3) ความรู้ในการใช้อุปกรณ์วัดแรงดันน้ำ

4) ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานติดตั้งท่อประปา สุขาภิบาล

5) ความรู้ในการใช้เครื่องมือสำรวจหาท่อรั่ว

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา       

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อส่งมอบงาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) สุขภัณฑ์ หมายถึง ภาชนะ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่ทำหน้าที่รองรับน้ำ รองรับของเหลว และจ่ายของเหลว น้ำเสีย หรือน้ำโสโครก เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ โถปัสสาวะชาย และอุปกรณ์ประกอบห้องน้ำอื่นๆ

    2) การทดสอบระบบสุขภัณฑ์เพื่อการส่งมอบ คือ การตรวจสอบความเรียบร้อยและทดลองการใช้งานหลังการติดตั้งระบบสุขภัณฑ์เสร็จสิ้นกระบวนการ

    3) หลักการทดสอบระบบสุขภัณฑ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย

        3.1) ทดสอบการใช้งานของสุขาภิบาลโดยการทดลองปล่อยน้ำเข้าสู่สุขภัณฑ์

        3.2) ทดสอบการใช้งานทุกฟังก์ชั่นการทำงานของสุขภัณฑ์ว่าใช้งานได้ปกติ

        3.3) เพื่อทดสอบรอยต่อต่างๆและป้องกันการรั่วซึมทั้งระบบต้องทดสอบแรงดันน้ำในระบบท่อก่อน

        3.4) ตรวจสอบระบบน้ำเข้าแท็งก์ให้ได้ตามระดับที่ถูกต้อง ไม่มีการซึมออกนอกตัวสุขภัณฑ์

        3.5) ตรวจสอบความเรียบร้อยของการติดตั้ง อาทิ ความแน่นหนาของข้อต่อ การเก็บงานด้วยปูนยาแนว การทำความสะอาดหลังการติดตั้ง เป็นต้น

        3.6) จดบันทึกรายงานผลการตรวจสอบให้ครบถ้วน

    4) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน ทดสอบการติดตั้งสุขภัณฑ์ประเภทต่างๆ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมิน ทดสอบความปลอดภัยในการใช้งานของสุขภัณฑ์

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ