หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-EBIY-060A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สได้อย่างถูกต้องและได้ตามข้อกำหนด โดยเริ่มตั้งแต่เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง เชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สตามข้อกำหนด และตรวจสอบความเรียบร้อยของการทำงานประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04309.01 เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง 1. ขนย้ายเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์สำหรับติดตั้งออกมาจากที่เก็บได้อย่างถูกต้อง 04309.01.01 152821
04309.01 เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง 2. เลือกเครื่องมือตัดท่อได้อย่างถูกต้อง 04309.01.02 152822
04309.01 เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง 3. ทำความสะอาดผิวท่อ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้อง 04309.01.03 152823
04309.01 เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง 4. เลือกอุปกรณ์ป้องกันการทำงานได้อย่างถูกต้อง 04309.01.04 152824
04309.02 เชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สตามข้อกำหนด 1. เลือกใช้วิธีปรับเปลวไฟได้ตามข้อกำหนดโดยการปรับส่วนผสมแก๊สได้อย่าถูกต้อง 04309.02.01 152825
04309.02 เชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สตามข้อกำหนด 2. ใช้งานเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง 04309.02.02 152826
04309.02 เชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สตามข้อกำหนด 3. ใช้อุปกรณ์ป้องกันการทำงานได้อย่างถูกต้อง 04309.02.03 152827
04309.02 เชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สตามข้อกำหนด 4. ปฏิบัติงานการเชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สได้อย่างถูกต้อง 04309.02.04 152828
04309.03 ตรวจสอบความเรียบร้อยของการทำงานประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส 1. ทดสอบเพื่อดูการใช้งานได้อย่างถูกต้อง 04309.03.01 152829
04309.03 ตรวจสอบความเรียบร้อยของการทำงานประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส 2. เลือกวิธีทำความสะอาดหลังการติดตั้งได้อย่างถูกต้อง 04309.03.02 152830
04309.03 ตรวจสอบความเรียบร้อยของการทำงานประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส 3. จัดเก็บเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์หลังการใช้งานได้อย่างถูกต้อง 04309.03.03 152831

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการตัดท่อ

2) ทักษะเชื่อมท่อด้วยแก๊ส

3) ทักษะในการอ่านแบบก่อสร้าง

4) ทักษะในการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

5) ทักษะในการทดสอบการติดตั้ง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เรื่องขนาดของท่อรวมถึงข้อต่อแต่ละชนิด

2) ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของท่อ

3) ความรู้เรื่องวิธีการตัดและเชื่อมท่อ

4) ความรู้เรื่องการเชื่อมท่อแบบต่างๆ

5) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทดสอบการเชื่อมท่อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)   หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา       

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) การประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส คือ การเชื่อมที่ใช้การเผาไหม้ของแก๊ส เปลวไฟจากการเผาไหม้ที่ปลายหัวเชื่อมแล้วทำให้โลหะหลอมละลายแล้วเติมลวดเชื่อมลงไปในบ่อน้ำโลหะที่กำลังหลอมละลาย เมื่อปล่อยให้เย็นตัวลงก็จะได้แนวเชื่อมตามต้องการ

    2) ชนิดท่อที่ใช้ดัวยวิธีการเชื่อมความร้อนด้วยแก๊ส เช่น ท่อโลหะ ท่อเหล็ก ท่อเหล็กเหนียว(ST) ท่อเหล็กอาบสังกาสี (GI) เป็นต้น

    3) เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สประกอบด้วย

        1) อุปกรณ์เครื่องมือในการตัดท่อ อาทิ เลื่อยตัดท่อ เครื่องตัดท่อ เป็นต้น

        2) เครื่องมือเชื่อมท่อด้วยความร้อนโดยใช้แก๊ส ได้แก่ ถังอะเซติลีน ถังออกซิเจน วาล์วปรับความดัน (Pressure Regulators) หัวเชื่อม เหล็กทำความสะอาดรูหัวเชื่อมแก๊ส (Tip cleaners) ท่อเชื่อม (Hose) อุปกรณ์จุดเปลวไฟ (Spark lighter) แว่นตาเชื่อมแก๊ส (Goggles)กรอบ (Frame) เป็นต้น

        3) อุปกรณ์ทำความสะอาด อาทิ ผ้าทำความสะอาด ฟองน้ำ ถังน้ำ ไม้กวาด เป็นต้น

        4) วัสดุที่ใช้ในการต่อ อาทิ ท่อและอุปกรณ์ท่อ เป็นต้น

    4) วิธีการประกอบท่อด้วยความร้อนโดยใช้แก๊ส มีวิธีดังต่อไปนี้

    5) เลือกหัวเชื่อมได้เหมาะสมตามความหนาของท่อ

    6) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน PPE ได้เหมาะสมเพื่อป้องกันรังสี อุลตร้าไวโอเลต ความร้อนที่เกิดจากการเชื่อม

    7) ตรวจดูความเรียบร้อยของท่อก๊าซ เกจปรับความดัน ถังแก๊ซ ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

    8) เปิดวาล์วปรับความดันให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ห้ามปรับความดันของออกซิเจนเกิน 70 Psi และของอเซติลีนเกิน 15 Psi ในการใช้งานปกติจะปรับความดันของแก๊สทั้งสองชนิดไว้ที่ 5 Psi เท่านั้นใช้ตัวจับลวดเชื่อม คีบลวดเชื่อมให้แน่น ทางด้านปลายที่ไม่มีฟลั๊กหุ้ม

    9) ถือลวดเชื่อมให้ตั้งตรง แล้วจ่อไว้ใกล้ ๆ บริเวณที่จะเริ่มต้นเชื่อม อย่าให้แตะชิ้นงาน จนกว่าจะใช้หน้ากากบังให้เรียบร้อย

    10) จี้ลวดเชื่อมลงบนแผ่นงานเบา ๆ แล้วรีบยกมือกระดกขึ้น เพื่อลวดเชื่อมห่างจากแผ่นงาน โดยเร็วและเดินลวดเชื่อมไปข้างหน้าช้า ๆ ฝึกทำจนเชื่อมได้เป็นอย่างดี

    11) ควรถือลวดเชื่อมให้เอียงออกจากแนวเชื่อมประมาณ 45 องศา

    12) หลังจากเชื่อมได้แล้วต้องทำความสะอาดรอยเชื่อม โดยใช้ค้อนเคาะสแล็กที่เกาะอยู่ตามแนวเชื่อม แล้วใช้แปรงลวดปัดให้สะอาด

    13) Personal Protective Equipment: PPE เป็นอุปกรณ์เพื่อในการทำงานใช้สวมใส่ร่างกาย หรือ ติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ให้เกิดความปลอดภัย ทั้งในบ้าน, ที่ทำงาน, ที่สาธารณะ, อาคาร และพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย

    14) เตรียมความพร้อมของเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไป ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ เป็นต้น

    15) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    16) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมิน เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมิน เชื่อมท่อสุขาภิบาลภายในอาคารโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊สตามข้อกำหนด

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบความเรียบร้อยของการทำงานประกอบท่อโดยใช้ความร้อนด้วยแก๊ส

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ