หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-YMWZ-049A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ ตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area ได้อย่างถูกต้องและตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างสำรวจหาท่อรั่ว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03303.01 จัดทำพื้นที่ District Metering Area เพื่อตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาตามข้อกำหนด 1. รวบรวมข้อมูลที่ใช้จัดทำพื้นที่District Metering Area ได้ถูกต้อง 03303.01.01 152719
03303.01 จัดทำพื้นที่ District Metering Area เพื่อตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาตามข้อกำหนด 2. จัดแบ่งพื้นที่ District Metering Area ขั้นต้นได้อย่างถูกต้อง 03303.01.02 152720
03303.01 จัดทำพื้นที่ District Metering Area เพื่อตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาตามข้อกำหนด 3. วิเคราะห์โครงข่ายระบบจ่ายน้ำได้อย่างถูกต้อง 03303.01.03 152721
03303.01 จัดทำพื้นที่ District Metering Area เพื่อตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาตามข้อกำหนด 4. ทดสอบ Zero test และ Step test ตามข้อกำหนด 03303.01.04 152722
03303.01 จัดทำพื้นที่ District Metering Area เพื่อตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาตามข้อกำหนด 5. ปรับแก้ไขพื้นที่ District Metering Area ให้สมบูรณ์ตามข้อกำหนด 03303.01.05 152723
03303.02 วิเคราะห์หาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area ได้อย่างถูกต้อง 1. ทดสอบ MinimumNight Flow ได้ตามอย่างถูกต้อง 03303.02.01 152724
03303.02 วิเคราะห์หาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area ได้อย่างถูกต้อง 2. ทำกราฟ Isolate DMA ได้อย่างถูกต้อง 03303.02.02 152725
03303.02 วิเคราะห์หาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area ได้อย่างถูกต้อง 3. สรุปผลลัพธ์การทดสอบหาจุดท่อรั่วช่วงที่คาดว่ามีจุดท่อรั่วเพื่อนำส่งไปยังทีมสำรวจหาท่อรั่วได้อย่างถูกต้อง 03303.02.03 152726

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการจัดทำพื้นที่ District Metering Area

2) ทักษะการวิเคราะห์หาจุดท่อรั่วด้วยระบบ District Metering Area

3) ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างวางท่อและสัญลักษณ์ในแบบ

2) ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

3) ความรู้ในการอ่านแผนที่

4) ความรู้ในเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

5) ความรู้ระบบการส่งข้อมูลการสื่อสาร

6) ความรู้และวิธีการจัดทำพื้นที่ District Metering Area

7) ความรู้และวิธีการวิเคราะห์หาจุดท่อรั่วด้วยระบบ District Metering Area

8) ความรู้การลดน้ำสูญเสีย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) ข้อมูลที่ใช้จัดทำพื้นที่ District Metering Area ได้แก่ ข้อมูลโครงข่ายเส้นท่อ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นท่อ ตำแหน่งประตูน้ำ ตำแหน่งวาล์วน้ำ ตำแหน่งมาตรวัดน้ำ ตำแหน่งมาตรวัดอัตราการไหล ตำแหน่งมาตรวัดความดัน จำนวนผู้ใช้น้ำ เป็นต้น

    2) ข้อกำหนดสำหรับการจัดทำพื้นที่ District Metering Area ได้แก่

        2.1) จัดขนาดของพื้นที่ District Metering Area ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ โดยอาศัยแนวถนน แนวแม่น้ำ แนวภูเขา เป็นตัวช่วยกำหนดขอบเขต

        2.2) จํานวนผู้ใช้นํ้าในแต่ละพื้นที่ District Metering Area นั้นควรอยู่ระหว่าง 1,000-3,000 ราย

        2.3) ตรวจนับจํานวนผู้ใช้นํ้าในพื้นที่ District Metering Area เพื่อหาปริมาณนํ้าที่ต้องการและแรงดันนํ้าที่เหมาะสม

        2.4) จัดทำพื้นที่ District Metering Area ให้มีการตัดผ่านท่อจ่ายน้ำน้อยที่สุดเพื่อความประหยัดในการติดตั้งประตูนํ้าขอบเขตพื้นที่ การตรวจสอบ และการบํารุงรักษา โดยให้พิจารณาถึงผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีแรงดันตํ่าด้วย

        2.5) เลือกพิจารณาตําแหน่งติดตั้งอุปกรณ์วัดอัตราการไหลและแรงดันน้ำ (Meter ,Data logger ,Pressure gauge) ถูกต้องตามเกณฑ์ข้อกำหนด ได้แก่  

1.    มีความสะดวกในการก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ง่ายต่อการบํารุงรักษา

2.    เป็นที่สังเกตมองเห็นได้ชัดเจนเพื่อป้องกันการถูกขโมย

3.    ไม่บดบังภูมิทัศน์

    3) การทดสอบ District Metering Area อาทิ

        3.1) Zero Test คือ การทดสอบว่าแรงดันน้ำในพื้นที่มีค่าเป็นศูนย์เมื่อทำการปิดประตูน้ำกั้นขอบเขตแสดงว่าไม่มีน้ำเข้าจาก DMA โซนอื่นเข้ามา

        3.2) Step Test คือ การทดสอบปิด-เปิดประตูน้ำตามลำดับที่กำหนดที่ละตัวในสภาวะอัตราการไหลนิ่ง ให้ปิดทิ้งไว้ 5 – 10 นาที่ เพื่อให้น้ำคงที่และบันทึกข้อมูลค่าอัตราการไหลไว้และนำค่าอัตราการไหลที่ได้เปรียบเทียบมูลค่าอัตราการไหลในสภาวะทำงานปกติ หากค่าทั้ง 2 มีความแตกต่างจากเดิมมากแปลงว่างเส้นทางระหว่างประตูน้ำทั้งสองมีรอยท่อแตกรั่ว

        3.3) Minimum Night Flow คือ การทดสอบวัดอัตราการไหลตํ่าสุดในชวงเวลากลางคืนและคํานวณหาอัตราการไหลสุทธิในชวงเวลากลางคืน

    4) ข้อมูลมาตรวัด เช่น อัตราการไหล (ลบ.ม./ชม.) ความดันน้ำ (บาร์) เป็นต้น

    5) การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ District Metering Area เพื่อหาเส้นท่อที่มีจุดท่อรั่วให้เปรียบเทียบข้อมูลอัตราการไหลและความดันน้ำของมาตรวัด หากมีอัตราการไหลที่สูงแต่ความดันน้ำต่ำให้สันนิฐานขั้นต้นได้ว่าบริเวณเส้นท่อนั้นมีจุดท่อรั่ว และส่งผลการวิเคราะห์นั้นให้ทีมสำรวจภาคสนามต่อไป

    6) ระบบการส่งข้อมูลการสื่อสาร เช่น แบบคลื่นวิทยุ แบบคลื่น GSM แบบคลื่น PSTN เป็นต้น

    7) น้ำสูญเสีย (Water Losses) คือ ปริมาณน้ำจ่ายหักด้วยปริมาณน้ำที่ออกบิลและน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ จำแนกได้ดังนี้

        7.1) น้ำสูญเสียจากการบริหารจัดการ เช่น จากความผิดพลาดจากมาตรวัดน้ำ จากการจดบันทึกมาตรวัดน้ำผิด จากการขโมยน้ำโดยต่อท่อแยกไม่ผ่านมาตรวัดน้ำ น้ำถูกน้ำไปใช้ในสาธารณะประโยชน์ เช่น น้ำดับเพลิง น้ำแจกยามภัยแล้ง น้ำดื่มบริการสาธารณะ เป็นต้น

        7.2) น้ำสูญเสียทางเทคนิค เป็นน้ำสูญเสียที่เกิดในระบบจ่ายน้ำประปาหรือท่อแตกรั่ว

    8) ตรวจหาและทดสอบด้วยวิธีการ District Metering Area ตามข้อกำหนดของ International Water Association (IWA) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องประเมิน จัดทำพื้นที่ District Metering Area เพื่อตรวจหาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาตามข้อกำหนดArea ตามข้อกำหนด

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องประเมิน วิเคราะห์หาจุดท่อรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปาด้วยวิธีการ District Metering Area ได้อย่างถูกต้อง

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ