หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพงานวางท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปา

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-IUMF-040A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพงานวางท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ ตรวจสอบคุณภาพท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปา ได้แก่ ทดสอบความดันน้ำภายในท่อและล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนดมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวางท่อประปาภายนอก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03111.01 ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. กำหนดช่วงท่อที่จะทดสอบความดันน้ำภายในท่อได้ 03111.01.01 152604
03111.01 ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 2. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการทดสอบความดันน้ำภายในท่อได้อย่างถูกต้อง 03111.01.02 152605
03111.01 ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 3. ใช้เครื่องมือทดสอบแรงความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 03111.01.03 152606
03111.01 ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 4. จัดทำใบงานผลการทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนด 03111.01.04 152607
03111.01 ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 5. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด 03111.01.05 152608
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 1. กำหนดช่วงท่อที่จะล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้ 03111.02.01 152609
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 2. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง 03111.02.02 152610
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 3. ผสมน้ำคลอรีนให้ได้สัดส่วนปริมาณเหมาะสมตามข้อกำหนด 03111.02.03 152611
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 4. อัดน้ำผสมคลอรีนเข้าสู่ท่อและปล่อยแช่ในเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อกำหนด 03111.02.04 152612
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 5. ระบายน้ำทิ้งคลอรีนได้อย่างถูกต้อง 03111.02.05 152613
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 6. ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือได้อย่างถูกต้อง 03111.02.06 152614
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 7. ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าความขุ่นได้อย่างถูกต้อง 03111.02.07 152615
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 8. จัดทำใบงานผลการล้างท่อและฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 03111.02.08 152616
03111.02 ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 9. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด 03111.02.09 152617
03111.03

ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

1. ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือได้อย่างถูกต้อง

03111.03.01 152618
03111.03

ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

2. ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าความขุ่นได้อย่างถูกต้อง

03111.03.02 152619
03111.03

ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

3. จัดทำใบงานผลการล้างท่อและฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด 

03111.03.03 152620

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบความดันน้ำภายในท่อ

2) ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค

3) ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือและค่าความขุ่นของน้ำ

4) ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้และหลักการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

2) ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างวางท่อและสัญลักษณ์ในแบบ

3) ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

4) ความรู้ของข้อกำหนดและมาตรฐานงานทดสอบความดันน้ำภายในท่อ

5) ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบความดันน้ำภายในท่อ

6) ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค

7) ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือและค่าความขุ่นของน้ำ

8) ความรู้การคำนวณน้ำคลอรีนให้เหมาะสมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อและความยาวท่อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับทดสอบความดันน้ำและล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบความดันท่อ เช่น เครื่องอัดแรงดันน้ำ ถังพักน้ำ ท่อ PB 3/4 - 1 นิ้ว มาตรวัดความดัน เป็นต้น

    2) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น เครื่องอัดคลอรีน ถังผสมคลอรีน ท่อ PB คลอรีนผง เครื่องวัดคลอรีนในน้ำ เครื่องวัดความขุ่นของน้ำ เป็นต้น

    3) ข้อกำหนดและมาตรฐานงานทดสอบความดันน้ำภายในท่อสำหรับท่อขนาด 400 มม. และค่าความดัน 6.00 กก./ตร.ซม. อาทิ

        3.1) ท่อพลาสติก (PVC) ใช้เวลาทดสอบ 2 ชั่วโมง โดยความดันต้องไม่ตกลงเกินกว่า 0.20 กก./ตร.ซม. เช่น เริ่มจับเวลาที่ความดัน 6.00 กก./ตร.ซม. เวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ความดันต้องตกลงไม่เกิน 5.80 กก./ตร.ซม. ให้ผ่านการทดสอบ แต่หากความดันตกลงเกิน 0.20 กก./ตร.ซม. ให้จับเวลา เพิ่มอีก 2 ชั่วโมงแล้วความดันไม่ตกเพิ่ม เช่น เริ่มจับเวลาที่ความดัน 6.00 กก./ตร.ซม. เวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ความดันต้องตกลงไม่เกิน 5.60 กก./ตร.ซม. ให้เริ่มจับเวลาเพิ่มอีก 2 ชั่วโมงแล้วความดันคงเหลือ 5.60 กก./ตร.ซม. จึงให้ผ่านการทดสอบ

        3.2) ท่อแข็ง (ท่อ ST, GI และ AC) ใช้เวลาทดสอบ 2 ชั่วโมง ความดันต้องไม่ตก จึงให้ผ่านการทดสอบ

        3.3) ท่อ HDPE ใข้ทดสอบความดันตามมาตรฐาน SFS 3115: Plastic Pipe Water tightness Test for Pressure Pipeline.

    4) ข้อกำหนดค่าคลอรีนคงเหลือได้ ต้องมีค่าระหว่าง 0.20 - 1.00 มิลิกรัม/ลิตร และค่าความขุ่น ต้องมีค่าไม่เกิน 5 NTU. ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคไม่ได้ตามค่าที่ระบุต้องดำเนินการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคใหม่

    5) ข้อกำหนดอัตราส่วนผสมปริมาณคลอรีนผง (Calcium Hypochlortie) ต่อขนาดท่อและความยาวท่อ (กรัม) อาทิ

        5.1) ขนาดท่อ 100 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 33 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.2) ขนาดท่อ 150 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 74 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.3) ขนาดท่อ 200 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 131 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.4) ขนาดท่อ 300 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 295 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.5) ขนาดท่อ 400 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 525 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.6) ขนาดท่อ 500 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 845 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.7) ขนาดท่อ 600 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 1,216 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.8) ขนาดท่อ 700 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 1,655 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.9) ขนาดท่อ 800 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 2,162 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.10) ขนาดท่อ 900 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 2,737 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

        5.11) ขนาดท่อ 1,000 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 3,380 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

    6) เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ ม้วนและมัดเก็บสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

    7) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาของกรมอนามัย หรือมาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคของกรมควบคุมมลพิษ หรือมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาขององค์การอนามัยโลก


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องประเมิน ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องประเมิน ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องประเมิน ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ