หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-AHBY-032A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถตัดท่อ ทำเกลียวท่อ ประกอบท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 100 มม. และอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้อย่างถูกต้องได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวางท่อประปาภายนอก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03103.01 ตัดท่อได้ตามแบบกำหนด 1. เลือกเครื่องมือและตั้งค่าเครื่องมือเพื่อตัดแต่งท่อได้อย่างถูกต้อง 03103.01.01 152500
03103.01 ตัดท่อได้ตามแบบกำหนด 2. ใช้เครื่องมือตัดแต่งปลายท่อให้ได้ตามขนาดที่แบบกำหนด 03103.01.02 152501
03103.01 ตัดท่อได้ตามแบบกำหนด 3. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด 03103.01.03 152502
03103.02 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. เลือกเครื่องมือและตั้งค่าเครื่องมือทำเกลียวท่อได้อย่างถูกต้อง 03103.02.01 152503
03103.02 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 2. ระบุความลึกของเกลียวท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 03103.02.02 152504
03103.02 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 3. ใช้เครื่องมือทำเกลียวท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน 03103.02.03 152505
03103.02 ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน 4. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด 03103.02.04 152506
03103.03 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 1. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้อย่างถูกต้อง 03103.03.01 152507
03103.03 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 2. พันเทปบริเวณปลายท่อและอุปกรณ์ท่อได้อย่างถูกต้อง 03103.03.02 152508
03103.03 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 3. ทาน้ำยากันสนิมบริเวณปลายท่อและอุปกรณ์ท่อได้อย่างถูกต้อง 03103.03.03 152509
03103.03 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 4. ใช้เครื่องมือขันท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 03103.03.04 152510
03103.03 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 5. ตรวจความถูกต้องของจุดประกอบท่อและข้อต่อเกลียวท่อตามแบบกำหนด 03103.03.05 152511
03103.03 ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด 6. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด 03103.03.06 152512

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทำเกลียวท่อ

2) ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตัดท่อ

3) ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบท่อละอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียว

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

2) ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทำเกลียวท่อ

3) ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตัดท่อ

4) ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียว

5) ความรู้ข้อกำหนดมาตรฐานความลึกการทำเกลียวท่อให้เหมาะสมกับขนาดท่อและความยาวท่อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ การประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียว โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) เครื่องมือที่ใช้ตัดท่อ เช่น เครื่องมือเลื่อย เครื่องเลื่อยอัตโนมัติ ใบมีดเครื่อง เครื่องตัดแบบเลื่อยสายพาน เลื่อยวงเดือน เลื่อยไฟเบอร์ และ Cutting Machine เป็นต้น

    2) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทำเกลียวท่อ เช่น เครื่องมือคว้านท่อ เครื่องต๊าปเกลียวท่อ เครื่องทำเกลียวท่อ กระดาษทราย เป็นต้น

    3) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบท่อด้วยข้อต่อเกลียว เช่น น้ำยากันสนิม เทปพันเกลียว ประแจเลื่อน ประแจตาย ประแจข้อม้า แปรงทาสี ถังน้ำ เป็นต้น

    4) ท่อในงานประกอบท่อแบบข้อต่อแบบเกลียว เช่น ท่อเหล็กเหนียว (ST) ท่ออาบสังกะสี (GI) ท่อเหล็กหล่อ (CI) ท่อเหล็กหล่อเหนียว (DI) เป็นต้น

    5) อุปกรณ์ท่อ วาล์ว ส่วนประกอบท่อที่ต้องสามารถติดตั้งได้ เช่น ข้อต่อท่อ เกลี่ยวท่อ หม้อลม (Air Chamber) ประตูระบายอากาศ (Air Release Valve) วาล์วเข้ามุม (Angle Valve) วาล์วบอล (Ball Valve) โบล์วออฟ (Blow Off)  วาล์วผีเสื้อ (Butterfly Valve) วาล์วกันกลับ (Check Valve) วาล์วกระบังลม (Diaphragm Valve) หัวดับเพลิง (Fire Hydrant) วาล์วลูกลอย (Float Valve) วาล์วหัวกระโหลก (Foot Valve) ประตูน้ำ (Gate Valves) วาล์วโกลบ (Globe Valve) วาล์วอุด (Plug Valve) อุปกรณ์วัดความดัน (Pressure Gauge) วาล์วลดความดัน (Pressure Reducing Valve) ที่กรองผง (Strainer) อุปกรณ์ป้องกนการกระแทกของน้ำ (Water Hammer Arrestors) มาตรวัดน้ำ (Water Meter) และอื่นๆ เป็นต้น

    6) มาตรฐานการทำเกลียวท่อ เช่น มอก. 281-2532 เกลียวท่อเหล็กกล้าสำหรับงานท่อน้ำและงานท่อทั่วไป เป็นต้น

    7) ตรวจความถูกต้องของจุดประกอบท่อและข้อต่อ เช่น สังเกตดูว่า ข้อต่อ ท่อ และอุปกรณ์ท่อหลุดออกจากหลังโดนกระทำด้วยแรงดึงและแรงดันหรือไม่ สังเกตดูว่ามีน้ำซึมออกบริเวณรอยต่อหลังจากมีการส่งจ่ายน้ำหรือไม่ สังเกตดูว่าท่อหรืออุปกรณ์ถูกสวมดันจนอยู่ในระยะที่กำหนดของตัวอุปกรณ์หรือไม่ นำไม้บรรทัดสอดใส่เข้าไประหว่างรอยประกอบท่อและอุปกรณ์ว่าทะลุผ่านไปได้หรือไม่ ใช้แรงดึงหรือบิดรอยประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อให้หลุดแยกจากกันได้หรือไม่ เป็นต้น

    8) เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ เป็นต้น

    9) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานท่อระบบสุขาภิบาลของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานผู้ผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องประเมิน (Performance Evidence) ตัดท่อได้ตามแบบกำหนด

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องประเมิน ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องประเมิน ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้ตามแบบกำหนด

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ