หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รวบรวมตัวอย่างน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-IQPX-019A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รวบรวมตัวอย่างน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถรวบรวมตัวอย่างน้ำ โดยการเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยการควบคุมอุณหภูมิ การเติมสารเคมี ตามวิธีการที่กำหนด เพื่อรอการนำส่งตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02302.01 เก็บตัวอย่างน้ำ 1. ตัก/กรอกตัวอย่างน้ำได้ครบถ้วนตามใบงานและถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02302.01.01 152370
02302.01 เก็บตัวอย่างน้ำ 2. ตัก/กรอก ตัวอย่างน้ำในตำแหน่งทีถูกต้องตามใบงานและตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02302.01.02 152371
02302.01 เก็บตัวอย่างน้ำ 3. ใช้อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02302.01.03 152372
02302.02 รักษาสภาพตัวอย่างน้ำ 1. บรรจุตัวอย่างน้ำใส่ในภาชนะได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02302.02.01 152373
02302.02 รักษาสภาพตัวอย่างน้ำ 2. เติมสารเคมีเพื่อรักษาสภาพตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02302.02.02 152374
02302.02 รักษาสภาพตัวอย่างน้ำ 3. แช่เย็นตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้อง ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02302.02.03 152375

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ และเคลื่อนย้าย/ขนย้าย/ส่งต่อตัวอย่างน้ำเพื่อส่งไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

2) ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์

3) ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของการเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ เพื่อการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

2) ความรู้การใช้งานอุปกรณ์การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ และเครื่องมือวัดเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการรวบรวมตัวอย่างน้ำ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

    3) พิจารณาจากการข้อสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) กระบวนการและหลักการในการรวบรวมตัวอย่างน้ำ

        1.1) การเก็บตัวอย่างน้ำ หมายถึง การเก็บตัวอย่างน้ำด้วยวิธีที่กำหนด ในตำแหน่งที่กำหนด และเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมตามที่กำหนด ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

        1.2) การกำหนดจุดสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำประปา เช่น กำหนดสุ่มเก็บที่ต้นท่อระบบจ่ายน้ำ 1 ตัวอย่าง ปลายท่อบ้านผู้ใช้น้ำสุ่มเก็บ 1 ตัวอย่างเช่น ต่อผู้ใช้น้ำ 5,000 คน โดยกระจายการสุ่มเก็บให้ครอบคลุม เป็นต้น

        1.3) การเก็บตัวอย่างน้ำประปาควรเป็นตัวแทนของน้ำประปาโดยเก็บจากก๊อกน้ำโดยตรง ไม่ควรเก็บผ่านสายยาง เครื่องกรองน้ำ ถังพักน้ำ ลักษณะการไหลของน้ำควรให้น้ำไหลเป็นลำไม่กระจาย

        1.4) การเก็บตัวอย่างน้ำในระบบผลิต ตามจุดที่กำหนด เช่น ตัวอย่างน้ำดิบก่อนสูบเข้าระบบ ตัวอย่างน้ำที่ผ่านออกจากระบบกวนช้า เป็นต้น

    2) ภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำ หมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุตัวอย่างน้ำเพื่อส่งต่อไปตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำ ซึ่งต้องระมัดระวังในเรื่องคุณภาพตัวอย่างน้ำ เนื่องจากถ้าเลือกใช้ภาชนะผิดประเภท อาจจะทำให้ตัวอย่างน้ำที่สุ่มเก็บปนเปื้อน และทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไป จึงควรพิจารณาเลือกภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำตามรายละเอียดดังนี้

    3) วัสดุที่ใช้ทำภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำควรเป็นวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับกรด-ด่าง ควรมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เปราะ หรือแตกง่าย สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย มีฝาปิดสนิท โดยทั่วไปนิยมใช้ขวดแก้วหรือพลาสติกอย่างดี ชนิดแข็ง และทนความร้อน เช่น โพลีเอทธิลีน หรือโพลีโพรพิลีน เป็นต้น

    4) การเตรียมภาชนะก่อนใช้ ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างแก้ว ล้างตามด้วยน้ำสะอาด และล้างด้วยน้ำกลั่นในครั้งสุดท้าย แล้วคว่ำให้แห้ง นอกจากบางกรณีจะต้องมีวิธีล้างพิเศษ เช่น ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่างที่จะวิเคราะห์ทางแบคทีเรียต้องอบฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 160 - 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เป็นต้น

    5) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำตามที่กำหนด เพื่อนำส่งไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ประกอบด้วย

        5.1) กระบอกเก็บน้ำ (water samplers) กระบอกเก็บตัวอย่างน้ำที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายแบบดังนี้

1.    กระบอกเก็บน้ำแบบ Kemmerer เป็นกระบอกเก็บน้ำที่ออกแบบสำหรับเก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ จากแหล่งน้ำที่ไม่ลึกมากนัก เหมาะสำหรับใช้เก็บตัวอย่างจากสะพานหรือเรือ ตัวกระบอกเก็บน้ำโปร่งใสทำด้วยพลาสติกประเภทเพลกซี่กลาส (Plexi glass)

2.    กระบอกเก็บน้ำแบบ Van Dorn กระบอกเก็บน้ำแบบนี้ทำด้วยพลาสติกพีวีซี ใช้เก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ ได้ตามต้องการ กระบอกเก็บน้ำแบบ Van Dorn ใช้เก็บน้ำได้ในแนวดิ่ง และแนวนอน

3.    กระบอกเก็บน้ำแบบ Go-Flo กระบอกเก็บน้ำแบบนี้ทำด้วยพลาสติกพีวีซีข้างในเคลือบด้วยเทฟลอน (Teflon) ใช้เก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ ได้ตามต้องการ นิยมใช้เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก

        5.2) ขวดใส่ตัวอย่างในการวิเคราะห์น้ำบางพารามิเตอร์จำเป็นต้องใช้ขวดใส่ตัวอย่างเก็บน้ำจากแหล่งน้ำที่ต้องการศึกษา เพราะหากใช้กระบอกเก็บน้ำอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ ตัวอย่างเช่น การเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา หรือการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์หาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ จะเก็บตัวอย่างน้ำโดยใช้ขวดเก็บตัวอย่างน้ำโดยตรงจะเก็บใต้ผิวน้ำลึกลงไปประมาณ 10-30 เซนติเมตร

    6) การเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ หมายถึง การเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยการควบคุมอุณหภูมิ การเติมสารเคมี ตามวิธีการที่กำหนด เพื่อรอการนำส่งตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ ออกมาตามสภาพน้ำจริง เพื่อใช้ในการปรับปรุง และแก้ไขคุณภาพน้ำได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

    7) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น

    8) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานรวบรวมตัวอย่างน้ำ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

        8.1) คำแนะนำในการเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

 

การวิเคราะห์และทดสอบ     ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์และทดสอบ     ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุตัวอย่างน้ำ     การรักษาสภาพ ตัวอย่างน้ำ     ระยะเวลาการส่งตัวอย่างน้ำถึงห้องปฏิบัติการ 

เคมี - กายภาพ     ความเป็นกรด – ด่าง  สี  ความขุ่น  ความกระด้าง  ซัลเฟต  คลอไรด์  ไนเตรท  ฟลูออไรด์  และปริมาณสารละลายทั้งหมดที่เหลือจากการระเหย     ขวดพลาสติกใส สะอาด  มีฝาปิดสนิท  ความจุขนาด  2  ลิตร  จำนวน 1 ใบ     แช่เย็นตัวอย่างน้ำที่อุณหภูมิประมาณ  4 – 10  องศาเซลเซียส     ภายใน  24  ชั่วโมง 

โลหะหนัก     แมงกานีส  ทองแดง  สังกะสี  เหล็ก  ตะกั่ว  โครเมียม  แคดเมียม สารหนู ปรอท     ขวดพลาสติกใส  สะอาด  ทรงกระบอก  ชนิดPP*หรือPE* มีฝาปิดสนิท ความจุขนาด  1  ลิตร  จำนวน  1  ใบ     1. เก็บที่อุณหภูมิห้อง 2. เติมกรดไนตริคเข้มข้น (HNO3)  65%  ปริมาตรอย่างน้อย  1.5  มิลลิลิตร  เขย่าเล็กน้อยให้เข้ากัน     1. ภายใน  24  ชั่วโมง 2. 6 เดือน 

แบคทีเรีย     โคลิฟอร์มแบคทีเรีย ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย     ใช้ขวดแก้วปากกว้างมีความจุประมาณ  125  มิลลิลิตร  มีฝาจุกแก้วปิดสนิท  (แบบกราวน์จอยท์) ภายในเติมโซเดียมไธโอซัลเฟตที่มีความเข้มข้น  10 %  จำนวน  0.1  มิลลิลิตร  (เพื่อหยุดยั้งปฏิกิริยาการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีนในน้ำประปา) ฝาและคอขวดหุ้มด้วยกระดาษอลูมิเนียมเก็บบรรจุในกระป๋องสแตนเลสไร้สนิมซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว จำนวน  1  ใบ     ใส่ถุงพลาสติกมัดให้แน่น เก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำที่อุณหภูมิประมาณ  4 – 10  องศาเซลเซียส     แช่เย็นทันทีและนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน  24  ชั่วโมง 

การเขียนและอ่านฉลาก ใบส่งตัวอย่างน้ำ ควรมีรายละเอียดดังนี้ รหัสตัวอย่างหน่วยงานที่ส่ง ประเภทของแหล่งน้ำ สถานที่เก็บตัวอย่างน้ำ วันที่ เวลาที่เก็บตัวอย่างน้ำ และชื่อผู้เก็บตัวอย่างน้ำ

    9) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติเตรียมความพร้อมก่อนการสูบน้ำดิบ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    10) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    11) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการเก็บตัวอย่างน้ำ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

(ข) เครื่องมือประเมินการรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ