หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-VFFG-006A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถจัดหา/จัดเตรียมสารเคมีสำหรับการตกตะกอนได้ถูกต้อง เพียงพอ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และสามารถปรับจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอนได้อย่างถูกต้องตามชนิด และปริมาณที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02206.01 คำนวณปริมาณสารเคมีสำหรับการตกตะกอน 1. ใช้ข้อมูลคุณภาพน้ำดิบเพื่อคำนวณหาปริมาณและความเข้มข้นของสารเคมีที่จะจ่ายเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง 02206.01.01 152246
02206.01 คำนวณปริมาณสารเคมีสำหรับการตกตะกอน 2. หาปริมาณสารเคมีที่จ่ายเข้าระบบตกตะกอนได้อย่างถูกต้อง 02206.01.02 152247
02206.01 คำนวณปริมาณสารเคมีสำหรับการตกตะกอน 3. กำหนดอัตราการกวนสารเคมี และเวลาในการกวนได้อย่างถูกต้อง 02206.01.03 152248
02206.02 ปรับอัตราการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน 1. เตรียมสารเคมีตามปริมาณความเข้มข้นที่กำหนดที่จะจ่ายเข้าสู่ระบบตกตะกอนได้อย่างถูกต้อง 02206.02.01 152249
02206.02 ปรับอัตราการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน 2. บรรจุสารเคมีเข้าไปในเครื่องจ่ายสารเคมีได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02206.02.02 152250
02206.02 ปรับอัตราการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน 3. จ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอนทั้งชนิดและปริมาณได้อย่างถูกต้อง 02206.02.03 152251
02206.03 เขียนรายงานผลการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน 1. รวบรวมข้อมูลการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอนได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง 02206.03.01 152252
02206.03 เขียนรายงานผลการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน 2. บันทึกรายงานการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอนได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02206.03.02 152253
02206.03 เขียนรายงานผลการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน 3. ตรวจทานการเขียนรายงานผลการจ่ายสารเคมีได้อย่างถูกต้อง 02206.03.03 152254

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการสังเกตเห็นความผิดปกติของสารเคมี (เสื่อมคุณภาพ) และเครื่องจ่ายสารเคมี และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

2) ทักษะการจัดเตรียม จัดเก็บ เคลื่อนย้ายสารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

3) ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

4) ทักษะการคำนวณหาปริมาณและความเข้มข้น ของสารเคมี ที่จะจ่ายเข้าระบบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับสารเคมีและการใช้สารเคมี

2) ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    1) การสร้างตะกอนและการรวมตะกอน เป็นการเติมสารเคมีที่นิยมใช้คือสารส้ม (Alum) หรือเรียกเป็นชื่อทางเคมีว่าอะลูมิเนียมซัลเฟต เพื่อลดความเสถียรของอนุภาคขนาดเล็กพวกคอลลอยด์ในน้ำหรือความขุ่นของน้ำ ทำให้อนุภาคเหล่านี้รวมตัวกันเป็นของแข็งที่มีขนาดใหญ่และหนักขึ้น โดยอาศัยกระบวนการทางกายภาพร่วมด้วย คือกระบวนการผสมเร็วและผสมช้า นอกจากนี้ ต้องมีการปรับพีเอชของน้ำให้กระบวนการสร้างและรวมตะกอนให้มีประสิทธิภาพโดยสารเคมีที่นิยมใช้ปรับพีเอชในกระบวนการนี้คือปูนขาว

    2) การคำนวณการปรับจ่ายสารเคมี และสารเคมีที่ใช้ดังนี้

        2.1) ได้ข้อมูลคุณภาพน้ำดิบเพื่อคำนวณหาปริมาณและความเข้มข้น ของสารเคมีที่จะจ่ายเข้าระบบ เพื่อใช้ในการเตรียมสารเคมี

        2.2) ได้ปริมาณและความเข้มข้นของสารเคมีที่เหมาะสม

        2.3) ได้อัตราการกวนสารเคมีที่เหมาะสม และเวลาในการกวน

        2.4) ได้ Flow rate อัตราการผลิตน้ำประปา

    3) สารสร้างตะกอน (Coagulant) คือ สารเคมีชนิดสารอนินทรีย์ที่ใช้ในการทำลายเสถียรภาพอนุภาคคอลลอยด์และสามารถรวมตัวกันเป็น floc ขนาดใหญ่ขึ้น ได้แก่ สารส้ม โพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์ (Polyaluminium Chloride) เป็นต้น

    4) การปรับค่า pH ให้สูงขึ้นโดยการเติมโซดาไฟ ปูนขาว กรดเกลือ (Hydrochloric Acid) หรือด่างทับทิม (Potassium permanganate) เป็นต้น

    5) เครื่องจ่ายสารเคมี มีหน้าที่สำหรับสูบจ่ายสารเคมี เข้าสู่ระบบการผลิตประปาหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ในสถานีผลิตน้ำประปา ได้แก่ เครื่องจ่ายสารเคมีชนิดไดอะแฟรม (Diaphragm Dosing Pump) เครื่องจ่ายสารเคมีชนิดลูกสูบ (Piston Dosing Pump) เครื่องจ่ายสารเคมีชนิดสกรู (Screw Dosing Pump) และเครื่องจ่ายสารเคมีแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump) เป็นต้น

    6) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    7) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    8) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการคำนวณปริมาณสารเคมีสำหรับการตกตะกอน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมินการปรับอัตราการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการจ่ายสารเคมีสำหรับตกตะกอน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 

 



ยินดีต้อนรับ