หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมถังกรอง

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-CCBX-005A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมถังกรอง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมถังกรองให้ได้ปริมาณน้ำ และคุณภาพน้ำที่ผ่านถังกรองตามที่กำหนด และถังกรองทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02205.01 ตรวจระบบกรองน้ำก่อนการทำงาน 1. ตรวจระบบกรองน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02205.01.01 152237
02205.01 ตรวจระบบกรองน้ำก่อนการทำงาน 2. ระบุความผิดปกติของระบบกรองน้ำได้อย่างถูกต้อง 02205.01.02 152238
02205.01 ตรวจระบบกรองน้ำก่อนการทำงาน 3. ระบุสิ่งที่ต้องแก้ไขและซ่อมบำรุงในระบบกรองน้ำได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง 02205.01.03 152239
02205.02 ดูแลระบบกรองน้ำ 1. ปรับอัตราการไหลของน้ำในระบบกรองน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติงาน 02205.02.01 152240
02205.02 ดูแลระบบกรองน้ำ 2. เปิด-ปิดระบบวาล์วในการระบบกรองน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02205.02.02 152241
02205.02 ดูแลระบบกรองน้ำ 3. ระบุความผิดปกติการทำงานของระบบกรองน้ำได้อย่างถูกต้อง 02205.02.03 152242
02205.03 ทำความสะอาดถังกรอง 1. ปล่อยน้ำหรือลมให้ไหลเข้าทางตอนล่างของถังเพื่อล้างทำความสะอาดได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02205.03.01 152243
02205.03 ทำความสะอาดถังกรอง 2. ล้างถังกรองได้สะอาดและนำลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02205.03.02 152244
02205.03 ทำความสะอาดถังกรอง 3. เขียนบันทึกรายงานการล้างถังกรองได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02205.03.03 152245

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการสังเกตเห็นความผิดปกติของระบบถังกรอง และ และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

2) ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

3) ทักษะการใช้งานถังกรอง

4) ทักษะการใช้งานเครื่องมือวัดเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้การใช้งานระบบถังกรอง

2) ความรู้การใช้งานเครื่องมือวัดเบื้องต้น

3) ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมถังกรอง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) การกรอง (Filtration) เป็นกระบวนการทางกายภาพที่ให้น้ำไหลผ่านชั้นตัวกรองที่นิยมใช้ทราย (Sand) เพื่อกำจัดสารแขวนลอยหรือความขุ่นของน้ำที่หลงเหลือจากการตกตะกอนเครื่องกรองที่ใช้ต่อจากการสร้างรวมตะกอนและการตกตะกอนจะถูกเรียกว่าเครื่องทรายกรองเร็ว (Rapid Sand Filter) โดยมีอัตราการกรองที่นิยมใช้ในช่วง 5-10 ลบ.ม./ชม.-ตร.ม. การกรองโดยทั่วไปจะใช้แรงโน้มถ่วงของโลก อย่างไรก็ตาม อาจใช้เป็นเครื่องทรายกรองภายใต้แรงดัน (Pressure Sand Filter) ก็ได้ นอกจากนี้ เมื่อทำการกรองจนกระทั่งเกิดการอุดตันของชั้นกรองระดับหนึ่งต้องทำการล้างย้อน (Back Wash) เพื่อทำความสะอาดชั้นทรายกรองประเภทของถังกรองและระบบการกรอง

    2) ประเภทของถังกรอง แบ่งตามสภาพการไหลผ่านเครื่องกรองได้ 2 แบบ ได้แก่ แบบแรงโน้มถ่วง (Gravity Filter) และแบบใช้ความดัน (Pressure Filter)  

    3) การล้างถังกรอง โดยปกติจะทำการล้างถังกรองทุกครั้งหลังจากการใช้งาน 12 – 24 ชั่วโมง และอย่าปล่อยให้หน้าทรายกรองแห้ง ต้องมีน้ำอยู่หน้าทรายกรองสูงประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร ในขณะที่ไม่มีการทำงานของระบบประปา

    4) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานควบคุมถังกรอง ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    5) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    6) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการตรวจระบบกรองน้ำก่อนการทำงาน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ข) เครื่องมือประเมินการดูแลระบบกรองน้ำ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

(ค) เครื่องมือประเมินการทำความสะอาดถังกรอง

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ