หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบตกตะกอน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-QIPI-004A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบตกตะกอน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมระบบตกตะกอนให้ได้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกวนเร็ว กวนช้า จนตกตะกอนตามที่กำหนด และระบบตกตะกอนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02204.01 ดูแลระบบกวนเร็ว 1. กำหนดอัตราและระยะเวลาในการกวนเร็วได้อย่างถูกต้อง 02204.01.01 152228
02204.01 ดูแลระบบกวนเร็ว 2. ระบุความผิดปกติของระบบกวนเร็วด้วยการฟังเสียงได้อย่างถูกต้อง 02204.01.02 152229
02204.01 ดูแลระบบกวนเร็ว 3. อ่านเกจวัดแรงดันที่ถังกวนเร็วเพื่อระบุความผิดปกติของการทำงานของถังกวนเร็วได้อย่างถูกต้อง 02204.01.03 152230
02204.02 ดูแลระบบกวนช้า 1. กำหนดอัตราและระยะเวลาในการกวนช้าได้อย่างถูกต้อง 02204.02.01 152231
02204.02 ดูแลระบบกวนช้า 2. อ่านเกจวัดแรงดันที่ถังกวนช้าเพื่อระบุความผิดปกติของการทำงานได้อย่างถูกต้อง 02204.02.02 152232
02204.02 ดูแลระบบกวนช้า 3. ระบุความผิดปกติของระบบจากการสังเกตตะกอน หรือ Floc ในถังกวนช้าได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02204.02.03 152233
02204.03 แก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน 1. ระบุปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอนได้อย่างละเอียดถูกต้อง 02204.03.01 152234
02204.03 แก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน 2. ใช้เครื่องและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการแก้ไขปัญหาการอุดตันได้อย่างถูกต้อง 02204.03.02 152235
02204.03 แก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน 3. กำจัดสิ่งอุดตันออกจากระบบตกตะกอนได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02204.03.03 152236

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสังเกตเห็นความผิดปกติของระบบตกตะกอน และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

2. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

3. ทักษะการใช้งานและซ่อมแซมระบบตกตะกอน และเครื่องมือวัดเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การใช้งานและซ่อมแซมระบบตกตะกอน และเครื่องมือวัดเบื้องต้น พื้นฐานช่าง

2. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมระบบตกตะกอน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) ระบบตกตะกอน ในขั้นตอนนี้จะปล่อยน้ำดิบที่ที่สูบเข้าระบบ มาผสมสารเคมีที่ช่วยให้เกิดการตกตะกอน ได้แก่ สารส้มที่อยู่ในรูปสารละลาย โดยมีเครื่องกวน ให้เกิดการหมุนวนเวียนเพื่อให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกัน จะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น ปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดตะกอนขึ้น ตะกอนที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากจะตกลงสู่ก้นถัง และถูกดูดทิ้ง น้ำใสที่อยู่ด้านบนจะไหลตามรางรับน้ำเข้าสู่ขั้นตอนของการกรองต่อไป

    2) ในระบบตกตะกอนจะมีการเติมสารเคมีหลักในการผลิตน้ำประปาให้แก่น้ำดิบประกอบด้วย สารส้มน้ำ (Liquid Alum) และ โพลิเมอร์ (Polymer) เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้าง (Coagulation) และรวมตัวของเม็ดตะกอนขนาดเล็ก (Flocculation) รวมถึงการเติมคลอรีนขั้นต้นที่ระบบกวนเร็วนี้ด้วย นอกจากนี้ที่ระบบกวนเร็วยังมีระบบเติมถ่านกัมมันต์ (Powder Activated Carbon, PAC) เพื่อใช้ในการกำจัดสารตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช (Pesticide) ด้วย ระบบกวนเร็ว (ระบบสร้างตะกอน) (Rapid Mixing)

    3) ระบบกวนเร็วจะทำให้เกิดการหมุนวนเวียนเพื่อให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกัน จะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการกวนประมาณ 1- 3 วินาที วิธีการกวนเร็วเท่าที่มีใช้ในระบบประปาพอจะแบ่งได้ดังนี้ เช่น  ไฮดรอลิคจั๊ม (Hydraullc Jump) เวียร์ (Weir) เวนจูรีฟลุม (Venturi Flume) ผสมในเส้นท่อ (Static Mixer) และเครื่องมือกล เป็นต้น

    4) การระบุความผิดปกติของระบบกวนเร็ว จะสามารถสังเกตจากการได้ยินเสียงการทำงานของระบบกวนเร็วในระหว่างการปฏิบัติงานผลิตน้ำประปา ซึ่งหากมีเสียงดังต่างจากปกติ นั่นหมายถึงระบบกวนเร็วทำงานผิดปกติ เช่น อาจจะเกิดจากขยะที่เข้าไปอุดตันในระบบกวนเร็ว เป็นต้น โดยในการประเมินการระบุความผิดปกติของระบบกวนเร็ว จะประเมินด้วยการจำลองระบบกวนเร็วที่มีความผิดปกติที่เกิดจากขยะอุดตัน แล้วให้ผู้รับการประเมินบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้น

    5) ระบบการกวนช้า (ระบบรวมตะกอน) และระบบตกตะกอน (Clarifier) น้ำดิบที่ผ่านการเติมสารเคมีแล้วจากระบบกวนเร็วจะถูกส่งไปยังระบบกวนช้า โดยในขั้นตอนระบบกวนช้าใช้คลองวงเวียน ระยะเวลาที่น้ำไหลจะทำให้ตะกอนขนาดเล็กรวมตัวกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่ขึ้น หรือเรียกว่าฟลอค (Floc) จากนั้นน้ำดิบจะไหลเข้าสู้ถังตกตะกอนหรือระบบตกตะกอน (Clarifier) ซึ่งจะเป็นขั้นตอนแรกในการแยกตะกอน (Sludge) ออกจากของเหลว โดยจะทำหน้าที่ดักตะกอนจากน้ำที่ผ่านระบบสร้างตะกอนและระบบรวมตะกอน และตะกอนที่มีขนาดใหญ่ตกลงสู่ก้นถังตกตะกอน เหลือแต่ตะกอนเบาที่มีขนาดเล็ก จนได้เป็นน้ำใสเพื่อเข้าสู่ระบบการกรองต่อไป

    6) การอุดตันของระบบตกตะกอนสังเกตได้จากการอ่านเกจวัดแรงดันว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และติดตามค่าที่อาจบ่งชี้ถึงการมีขยะเข้าไปสะสมอุดตันในระบบตกตะกอน โดยการสังเกตจากค่าที่เกจวัดแรงดันอยู่สม่ำเสมอในระหว่างปฏิบัติงานผลิตน้ำประปา หากค่าที่วัดได้มีค่าแรงดันต่างจากค่าแรงดันปกติ ซึ่งหมายถึงระบบตกตะกอนทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากมีขยะหรือตะกอนเข้าไปอุดตัน เป็นต้น และหากเกิดความผิดปกติ ต้องดำเนินการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือกำจัดสิ่งอุดตันออกจากระบบตกตะกอนได้อย่างถูกต้องตามที่กำหนดเหมาะสมกับงาน มีความปลอดภัย และระบบตกตะกอนสามารถทำงานได้ตามปกติ หลังจากการกำจัดสิ่งอุดตันออกจากระบบตกตะกอน

    7) สิ่งอุดตัน คือ สิ่งที่ปนมากับน้ำดิบและสามารถเข้าไปอุดตันระบบตกตะกอนได้ เช่น ขยะ ตะกอน สาหร่าย เป็นต้น

    8) เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน เช่น ประแจปากตาย ประแจขอม้า ประแจแหวน ประแจบล็อก ประแจเลื่อน ไขควงแบน ไขควงแฉก และไขควงบล็อก เป็นต้น

    9) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานควบคุมระบบตกตะกอนซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    10) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    11) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการดูแลระบบกวนเร็ว

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมินการดูแลระบบกวนช้า

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ค) เครื่องมือประเมินการแก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ