หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบสูบน้ำดิบ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-IDYV-002A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบสูบน้ำดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมสถานีสูบน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมการสูบน้ำดิบเข้าระบบผลิตน้ำได้ตามปริมาณ และเวลาที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02202.01 รับมอบหมายงานก่อนการสูบน้ำดิบ 1. กำหนดปริมาณน้ำดิบที่ต้องสูบเข้าระบบตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง 02202.01.01 152206
02202.01 รับมอบหมายงานก่อนการสูบน้ำดิบ 2. กำหนดช่วงเวลาในการสูบน้ำดิบตามที่ได้มอบหมายได้อย่างถูกต้อง 02202.01.02 152207
02202.01 รับมอบหมายงานก่อนการสูบน้ำดิบ 3. กำหนดอัตราการสูบน้ำดิบเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง 02202.01.03 152208
02202.02 สูบน้ำดิบเข้าระบบ 1. เดินเครื่องสูบน้ำดิบได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02202.02.01 152209
02202.02 สูบน้ำดิบเข้าระบบ 2. ปรับวาล์วปล่อยน้ำให้ได้อัตราการสูบน้ำดิบได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน 02202.02.02 152210
02202.02 สูบน้ำดิบเข้าระบบ 3. ระบุความผิดปกติของระบบสูบน้ำดิบในระหว่างการสูบน้ำดิบได้อย่างละเอียดครบถ้วน 02202.02.03 152211
02202.02 สูบน้ำดิบเข้าระบบ 4. ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนดความปลอดภัย 02202.02.04 152212

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะในการสังเกตเห็นความผิดปกติของเครื่องสูบน้ำ และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

2) ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

3) ทักษะการใช้งานเครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือวัดเบื้องต้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้การใช้งานเครื่องสูบน้ำ และเครื่องมือวัดเบื้องต้น พื้นฐานช่าง

2) ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2) แบบบันทึกรายการจากการสังเกต

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2) ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมระบบสูบน้ำดิบ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำอธิบายรายละเอียด

    1) ประเมินความเหมาะสมของช่วงเวลาในการสูบน้ำดิบ โดยพิจารณาจากความต้องการการใช้น้ำ ระดับน้ำในแหล่งน้ำดิบ และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

    2) ขั้นตอนในการเดินเครื่องสูบน้ำเข้าระบบมีหลักการที่สำคัญดังนี้

        2.1) การเดินเครื่องสูบน้ำ เริ่มด้วยการปิดประตูน้ำทางด้านท่อจ่าย และเอาน้ำเข้าท่อดูดจนเต็ม จึงเดินเครื่องสูบน้ำหลังจากมอเตอร์หมุนได้รอบเต็มที่ และความดันในห้องสูบน้ำหรือหน้าประตูน้ำขึ้นถึงระดับที่กำหนดแล้ว ก็เริ่ม เปิดประตูน้ำทีละน้อย จนกระทั่งสุดหรือได้อัตราที่ต้องการ

        2.2) การหยุดเดินเครื่องสูบน้ำ เริ่มจากการปิดประตูน้ำอย่างช้า ๆ อย่าปิดเร็ว เมื่อปิดประตูน้ำสนิทแล้วจึงปิดสวิทซ์เดินเครื่อง

        2.3) เครื่องเครื่องสูบน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงานจากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จาก ตำแหน่งหนึ่งไป ยังอีก ตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่า หรือในระยะทางที่ไกลออกไป เครื่องปั๊มน้ำในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปจากเดิม ที่ใช้พลังงานจาก แหล่งธรรมชาติมาเป็น การใช้พลังงานจากไอน้ำ จากเครื่องยนต์ และที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

    3) ลักษณะของเครื่องสูบน้ำ และระบบการควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำ มีดังนี้

        3.1) ลักษณะของเครื่องสูบน้ำแรงดันต่ำแบบ Horizontal pump (หัวปั๊มไม่เปียกน้ำ) และ Vertical (หัวปั๊มเปียกน้ำ) เป็นต้น

        3.2) เครื่องสูบน้ำแรงดันต่ำแบ่งตามรอบการหมุน Fix speed pump (ปรับรอบการหมุนไม่ได้) และ Variable speed pump (ปรับรอบการหมุนได้)

        3.3) อุปกรณ์วัดระดับน้ำประเภท Ultrasonic Level Detector และประเภท Electrical Floating Level Switch

        3.4) การควบคุมการทำงานเครื่องสูบน้ำ แบบ Automatic – (ควบคุมการเดินและหยุดด้วยลูกลอยไฟฟ้าที่ติดตั้งบริเวณถังเก็บน้ำใส) และแบบ Manual – (สั่งทำงานและหยุดเครื่องสูบน้ำได้อย่างอิสระจากลูกลอยไฟฟ้า)

    4) คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึงคู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานควบคุมระบบสูบน้ำดิบ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    5) ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด

    6) ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานการผลิตน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

(ก) เครื่องมือประเมินการรับมอบหมายงานก่อนการสูบน้ำดิบ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

(ข) เครื่องมือประเมินการสูบน้ำดิบเข้าระบบ

    1) แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2) แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4) ผลข้อสอบข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ