หน่วยสมรรถนะ
ควบคุมการต้มน้ำอ้อย
สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | FPC-ZZZ-2-021ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ควบคุมการต้มน้ำอ้อย |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพช่างหม้อต้ม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
บุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมการต้มน้ำอ้อย เพื่อควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม ให้เป็นไปตามระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
1. ข้อกำหนดต่างๆ ของโรงงานน้ำตาล อ้างอิงจาก South Africa หรือ Australia |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
A030201 ควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม | 1.1 ควบคุมอัตราการไหลของน้ำอ้อยใส | 161210 | |
A030201 ควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม | 1.2 วัดค่าแรงดันของไอน้ำ | 161211 | |
A030201 ควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม | 1.3 ควบคุมแรงดันและอุณหภูมิของไอน้ำที่ใช้ระเหยน้ำอ้อยใส | 161212 | |
A030201 ควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม | 1.4 ตรวจเช็ค Vacuum Pump ให้เป็นไปตามข้อกำหนด | 161213 | |
A030201 ควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม | 1.5 ควบคุม Vacuum ให้เป็นไปตามข้อกำหนด | 161214 | |
A030201 ควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม | 1.6 ตรวจเช็คการทำงานของ Condenser | 161215 | |
A030202 ตรวจสอบคุณภาพการต้มน้ำอ้อย | 1.1 ควบคุมการเลี้ยงระดับน้ำอ้อยให้เหมาะสมกับหม้อต้ม | 161216 | |
A030202 ตรวจสอบคุณภาพการต้มน้ำอ้อย | 1.2 ควบคุมค่า Brix ของน้ำเชื่อมให้เป็นไปตามข้อกำหนด | 161217 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการควบคุมกระบวนต้มน้ำอ้อยให้ได้ตามค่าควบคุม 2. ทักษะการทำงานของเครื่องจักรในระบบการต้มน้ำอ้อยได้แก่ /ระบบ Pre –Heater / ระบบ Vacuum & Condenser / ระบบหม้อต้มน้ำอ้อย (Evaporator) 3. ทักษะการใช้เครื่องมือช่างและการบำรุงรักษา (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับระบบการต้มน้ำอ้อย 2. ความรู้ในเรื่องค่าควบคุมของกระบวนการผลิต 3. การอ่านและเข้าใจแผนการผลิตน้ำตาล |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
ใบรายงาน หรือแบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสังเกตการปฏิบัติงาน
ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยอมรับ
หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง 1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจาก ข้อสอบข้อเขียน 2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
N/A
การควบคุมการทำงานของชุดหม้อต้ม โดยควบคุมอัตราการไหลของน้ำอ้อยใส ดูระดับน้ำอ้อยในแต่ละหม้อต้ม เพื่อประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนให้ทั่วถึงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตรวจสอบค่า brix ของหม้อต้มชุดสุดท้าย หากมีความผิดปกติต้องรายงานผู้บังคับบัญชาในการแก้ไข เพื่อหยุดการเดินเครื่องและล้างหม้อต้ม |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เครื่องมือการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย 1. สังเกตการปฏิบัติงาน 2. ข้อสอบข้อเขียน |