หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-ZZZ-4-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างลูกหีบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      บุคคลที่ทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบภายในแผนก กำหนดวัตถุประสงค์และระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละภารกิจ ประเมินความเสี่ยงและติดตามผลการบริหารความเสี่ยงของภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. มาตรฐานสากลต่างๆ เช่น ISO 9001, ISO 14000, ISO 180002. ข้อกำหนดต่างๆ ของโรงงานน้ำตาล อ้างอิงจาก South Africa หรือ Australia

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A010701 วิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 1.1 วิเคราะห์ความเสี่ยงภายในและภายนอก 161110
A010701 วิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 1.2 ระบุผลกระทบความเสี่ยงภายในและภายนอก 161111
A010702 กำหนดวัตถุประสงค์และระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละภารกิจ 1.1 กำหนดแผนงานในการบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 161112
A010702 กำหนดวัตถุประสงค์และระบุความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในแต่ละภารกิจ 1.2 แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 161113
A010703 ประเมินความเสี่ยงและติดตามผลการบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 1.1 ประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ 161114
A010703 ประเมินความเสี่ยงและติดตามผลการบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 1.2 ประเมินความเสียงเชิงปริมาณ 161115
A010703 ประเมินความเสี่ยงและติดตามผลการบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 1.3 จัดลำดับความเสี่ยง และติดตามผลบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย 161116

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์

  2. ทักษะด้านการสื่อสาร

  3. ทักษะด้านการบริหารบุคลากร

  4. ทักษะด้านการวางแผนการผลิต และกำหนดกลยุทธ์ของแผนก

  5. ทักษะด้านความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิตและการทำงานของเครื่องจักร

  6. ทักษะด้านการวิเคราะห์ภายในแผนกการสกัดน้ำอ้อย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

  2. ความรู้ด้านกระบวนการสกัดน้ำอ้อย

  3. ความรู้เรื่องค่าควบคุมของกระบวนการผลิต

  4. ความรู้ด้านวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิต เครื่องจักร อุปกรณ์

  5. ความรู้ด้านกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



ใบรายงาน หรือแบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยอมรับ




  • คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  • วิธีการประเมิน



1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจาก ข้อสอบข้อเขียน



2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



N/A




  • คำอธิบายรายละเอียด



บริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย คือ วิเคราะห์ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย โดยวิเคราะห์ความเสี่ยงภายในและภายนอก และระบุผลกระทบความเสี่ยงภายในและภายนอก กำหนดแผนงานในการบริหารความเสี่ยง แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงภายในแผนก มีการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและปริมาณ การจัดลำดับความเสี่ยง และติดตามผลบริหารความเสี่ยงภายในแผนกสกัดน้ำอ้อย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย



 1. แบบสัมภาษณ์



2. ข้อสอบข้อเขียน



3. แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ