หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานในส่วนข้อมูลออนไลน์ในระบบควบคุมการสกัดน้ำอ้อย

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-ZZZ-2-003ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานในส่วนข้อมูลออนไลน์ในระบบควบคุมการสกัดน้ำอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างลูกหีบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      บุคคลที่ทำหน้าที่ปฏิบัติงานในส่วนข้อมูลออนไลน์ในระบบควบคุมการสกัดน้ำอ้อย เพื่อตรวจสอบค่าปัจจัยหรือพารามิเตอร์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องมือวัดข้อมูลออนไลน์ ควบคุมและสั่งการแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ข้อกำหนดต่างๆ ของโรงงานน้ำตาล อ้างอิงจาก South Africa หรือ Australia 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A010301 ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องมือวัดข้อมูลออนไลน์ 1.1 เตรียมระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องและพร้อมใช้งาน 161844
A010301 ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องมือวัดข้อมูลออนไลน์ 1.2 ตรวจเช็คเครื่องมือวัดข้อมูลออนไลน์ให้พร้อมใช้งาน 161845
A010302 ควบคุมและแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา 1.1 ประสานงานไปยังจุดต่างๆ ภายในแผนกเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามแผนงานการสกัดน้ำอ้อยในแต่ละวัน 161846
A010302 ควบคุมและแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา 1.2 สั่งการแก้ไขและปรับเปลี่ยนเมื่อค่าควบคุมไม่ได้ตามแผนงานของกระบวนการสกัดน้ำอ้อย 161847

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านการอ่านและตีความ 

  2. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์

  3. ทักษะด้านการควบคุมเครื่องจักร

  4. ทักษะด้านการสื่อสาร

  5. ทักษะเกี่ยวกับงานช่างและการบำรุงรักษา

  6. ทักษะการใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสกัดน้ำอ้อย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสกัดน้ำอ้อย



2. ความรู้เรื่องค่าควบคุมของกระบวนการผลิต



3. การอ่านและเข้าใจแผนการผลิตน้ำตาล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



ใบรายงาน หรือแบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสังเกตการปฏิบัติงาน




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องยอมรับ




  • คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  • วิธีการประเมิน



1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจาก ข้อสอบข้อเขียน



2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจาก การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



N/A




  • คำอธิบายรายละเอียด



มีความเข้าใจโปรแกรม (โปรแกรม Distributed Control System: DCS ซึ่งเป็นระบบควบคุมอัตโนมัติ) การควบคุมการสกัดน้ำอ้อย ตรวจเช็คค่าควบคุมต่างๆ ของกระบวนการสกัด ตั้งแต่การเทอ้อย, การลำเลียง, เครื่องย่อย และเครื่องสกัด ตรวจสอบค่าควบคุมให้เป็นไปตามแผนงาน หากพบความผิดปกติ จะทำหน้าที่ประสานงานกับพนักงานในแผนก แจ้งผู้บังคับบัญชา และรับคำสั่งแก้ไขในการปรับเปลี่ยนค่าควบคุมออนไลน์ รวมถึงจดบันทึกข้อมูลค่าต่างๆ รายงานไปยังผู้บังคับบัญชาในแต่ละวัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย



1. สังเกตการปฏิบัติงาน



2. ข้อสอบข้อเขียน



 



ยินดีต้อนรับ