หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมอ้อยด้วยเครื่องย่อยอ้อย

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-ZZZ-2-001ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมอ้อยด้วยเครื่องย่อยอ้อย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างลูกหีบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       บุคคลที่ทำหน้าที่เตรียมอ้อยด้วยเครื่องย่อยอ้อย เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อยให้พร้อมใช้งานก่อนการปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างกระบวนการผลิตและตรวจสอบคุณภาพของชิ้นอ้อยหลังการย่อยให้เป็นไปตามระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. ข้อกำหนดต่างๆ ของโรงงานน้ำตาล อ้างอิงจาก South Africa หรือ Australia

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A010101 ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อย 1.1 เช็คอุปกรณ์ระบบยกแท่นเทอ้อย (dump) 161069
A010101 ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อย 1.2 ตรวจเช็คความพร้อมของระบบในสายการลำเลียงอ้อยจากการทดสอบความเร็วของสายพานลำเลียง 161070
A010101 ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อย 1.3 ตรวจเช็คความสมบูรณ์ของใบมีดและการทำงานของใบมีด 161071
A010101 ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อย 1.4 ตรวจเช็คความเร็วของเครื่องย่อยอ้อย 161072
A010101 ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อย 1.5 ตรวจสอบอุปกรณ์ค้อนทุบอ้อย 161073
A010101 ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อย 1.6 จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง 161074
A010102 ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นอ้อยหลังการย่อย 1.1 เช็คขนาดของชิ้นอ้อย 161075
A010102 ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นอ้อยหลังการย่อย 1.2 ตรวจเช็คค่า PI ที่ได้จากผลวิเคราะห์ของแผนกวิเคราะห์คุณภาพ 161076
A010102 ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นอ้อยหลังการย่อย 1.3 ตรวจเช็คค่า POC ที่ได้จากผลวิเคราะห์ของแผนกวิเคราะห์คุณภาพมา 161077

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการควบคุมยกแท่นเทอ้อย (Dump)

  2. ทักษะเรื่องการคล้องโซ่

  3. ทักษะในการตรวจสอบสายพานลำเลียง

  4. ทักษะในการตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบมีด

  5. ทักษะการตรวจสอบค้อนทุบอ้อย

  6. ทักษะเกี่ยวกับงานช่าง ได้แก่ งานเชื่อมโลหะ, งานตัดโลหะ, งานถอด/ประกอบเปลี่ยนอะไหล่เครื่องจักร, และอุปกรณ์ไฮดรอลิค

  7. ทักษะการใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหีบ เช่น ตลับเมตร เวอร์เนียไมโครมิเตอร์

  8. ทักษะการควบคุมเครื่องจักร

  9. ทักษะการใช้เครื่องมือช่างและการบำรุงรักษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการสกัดน้ำอ้อย

  2. ความรู้ในกระบวนการเตรียมอ้อย

  3. ความรู้เรื่องค่าควบคุมของกระบวนการผลิต

  4. การอ่านและเข้าใจแผนการผลิตน้ำตาล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



ใบรายงาน หรือแบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสังเกตการปฏิบัติงาน




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยอมรับ




  • คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




  • วิธีการประเมิน



1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจาก ข้อสอบข้อเขียน



2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจาก การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



N/A




  • คำอธิบายรายละเอียด



1. การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องย่อยอ้อยให้พร้อมใช้งานก่อนการปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดระหว่างกระบวนการผลิต โดยจะต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ 



- ระบบยกแท่นเทอ้อย (dump) ต้องดูแลความต่อเนื่องของการลำเลียงอ้อยเข้าสู่กระบวนการหีบ



- ดูแลความปลอดภัยในการควบคุมเครื่องจักร



- ปฏิบัติงานควบคุม pump hydraulic



- ตรวจสอบดูแล สายพาน, มอเตอร์ และใบสะพาน เพื่อให้มีความพร้อมต่อการใช้งาน



- ตรวจสอบใบมีด เพื่อดูสิ่งปนเปื้อนและการสึกหรอ



- ตรวจสอบอุปกรณ์งานช่าง ได้แก่ งานเชื่อมโลหะ, งานตัดโลหะ, งานถอด/ประกอบอะไหล่เครื่องจักร



- ตรวจสอบเครื่องมือวัดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหีบ เช่น ตลับเมตร เวอร์เนีย ไมโครมิเตอร์



2. ตรวจสอบขนาดของชิ้นอ้อยหลังการย่อย



3. ตรวจเช็คค่า Preparation Index: PI (South Africa, 1985; Sugar Tech. Association) หรือ Pol in Open Cell: POC (BSES, 2001) มาปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร คือ เปลี่ยนค้อน, ปรับความเร็วของเครื่องย่อยอ้อย, ปรับเปลี่ยนและทำความสะอาดใบมีด, ปรับความเร็วสายพานลำเลียง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย



1. สังเกตการปฏิบัติงาน



2. ข้อสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ