หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเครื่องมือ อุปกรณ์และสารเคมีสำหรับงานควบคุมและประกันคุณภาพการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-VFD-2-038ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเครื่องมือ อุปกรณ์และสารเคมีสำหรับงานควบคุมและประกันคุณภาพการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพนักควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้อบแห้ง




ISOC รหัส 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถจำแนกเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง บำรุงรักษาเครื่องมือเครื่องวัด เครื่องทดสอบคุณภาพและดูแลจัดเก็บสารเคมีที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
0320201 จัดทำทะเบียนประวัติของเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 1.จำแนกเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบอุปกรณ์ และสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้งได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320201.01 74564
0320201 จัดทำทะเบียนประวัติของเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 2. จัดทำเอกสารรายชื่อและข้อมูลของเครื่องมือ เครื่องวัดเครื่องทดสอบ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320201.02 74565
0320201 จัดทำทะเบียนประวัติของเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 3. บันทึกข้อมูลของเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบอุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320201.03 74566
0320202 บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 1.ระบุขั้นตอนการดูแลรักษาอุปกรณ์ และเครื่องมือก่อนการทดสอบได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320202.01 74567
0320202 บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 2. ดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือก่อนการทดสอบได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ 0320202.02 74568
0320202 บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 3. ระบุขั้นตอนการดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือหลังการทดสอบได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320202.03 74569
0320202 บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 4.ดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือหลังการทดสอบได้อย่างถูกวิธีตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ 0320202.04 74570
0320203 ดูแลจัดเก็บสารเคมีที่ ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 1.ระบุขั้นตอนการดูแลจัดการและจัดเก็บสารเคมีก่อนและหลังการทดสอบได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320203.01 74571
0320203 ดูแลจัดเก็บสารเคมีที่ ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 2.ดูแลจัดเก็บสารเคมีก่อนการทดสอบได้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320203.02 74572
0320203 ดูแลจัดเก็บสารเคมีที่ ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง 3. ดูแลจัดการและจัดเก็บสารเคมีหลังการทดสอบได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของสถานประกอบการ 0320203.03 74573

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการดูแลเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบ และอุปกรณ์ที่ใช้ในงานควบคุมและประกันคุณภาพสำหรับการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง




2. ทักษะในการจัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับงานควบคุมและประกันคุณภาพสำหรับการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง




2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบ และอุปกรณ์ที่ใช้ในงานควบคุมและประกันคุณภาพสำหรับการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง




3. ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง




 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )




 1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ




 2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




 1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม




 2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




 ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านวางแผนและดำเนินการสอบเทียบเครื่องมือวิเคราะห์




(ง) วิธีการประเมิน 




พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




 


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. จัดทำทะเบียนประวัติของเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบอุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง




2. บำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง




 3. ดูแลจัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง




(ก) คำแนะนำ 




 ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบอุปกรณ์ และดูแลจัดเก็บสารเคมีที่เกี่ยวข้องในงานตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างและสภาพแวดล้อม




 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. เครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพการแปรรูปผักและผลไม้อบแห้ง อาทิเช่น เครื่องวัดความชื้น เครื่องวัดค่าความเป็นกรดด่าง และเครื่องวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ เป็นต้น




2. สารเคมีที่ใช้ในการควบคุมและประกันคุณภาพผักและผลไม้อบแห้ง อาทิเช่น แคลเซียมคลอไรด์ กรดซิตริก โซเดียมไฮดรอกไซด์ และฟีนอลทาลีน เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1. เครื่องมือประเมินการสำรวจเครื่องมือ เครื่องวัด เครื่องทดสอบคุณภาพ ในการควบคุมคุณภาพผักและ ผลไม้แปรรูปอบแห้ง




 1) แบบทดสอบข้อเขียน




 2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน




 2. เครื่องมือประเมินวิธีการใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน




 1) แบบทดสอบข้อเขียน




2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน




3. เครื่องมือปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์คุณภาพได้อย่างถูกต้องแม่นยำ




 1) แบบทดสอบข้อเขียน




 2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน




ดูรายละเอียดในคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ