หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AGP-5-103ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักควบคุมและตรวจสอบคุณภาพข้าวสำหรับโรงสี ชั้น 5




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักจัดการกระบวนการผลิตข้าว (Processing manager) ชั้น 5




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักจัดการกระบวนการผลิตข้าว (Processing manager) ชั้น 6




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักบริหารจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโรงสีข้าว ชั้น 5




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักบริหารจัดการสินค้าคงคลังสำหรับโรงสีข้าว ชั้น 6




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักบริหารจัดการระบบคุณภาพข้าว ชั้น 5




- คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักบริหารจัดการระบบคุณภาพข้าว ชั้น 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้และ ทักษะในการจัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและ ระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ ติดตามการใช้งานของแผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น และมีส่วนร่วมในจัดทำแผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และแผนการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร (การแปรรูปข้าว)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
002021 จัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 1. ปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของทุกกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ถูกประเมินอย่างถูกต้องและครบถ้วน 002021.01 96962
002021 จัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 2. กิจกรรมและผลกระทบต่ออาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้รับการวิเคราะห์อย่างถูกต้องตามหลักการประเมินความเสี่ยง(risk assessment) 002021.02 96963
002021 จัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 3. แผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดทำอย่างถูกต้อง 002021.03 96964
002021 จัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ 4. แผนจัดการความเสี่ยง ในแต่ละกิจกรรม ถูกนำไปไปอบรมหรือให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 002021.04 96965
002022 ติดตามการใช้งานของแผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น 1. รายงานผลและสรุปข้อมูลที่เกี่ยงข้องด้านอาชีวนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและด้านสิ่งแวดล้อม ถูกรวบรวมและสรุปผลรายงานอย่างถูกต้องและครบถ้วน 002022.01 96966
002022 ติดตามการใช้งานของแผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น 2. กิจกรรม หรือ แผนจัดการความเสี่ยงได้รับการทบทวนและปรับปรุงอย่างถูกต้องและตามรอบเวลา 002022.02 96967
002023 มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และแผนป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 1. แผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและแผนป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถูกจัดทำร่วมกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง 002023.01 96968
002023 มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และแผนป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 2. การซ้อมแผนฉุกเฉินได้รับการประเมินผลอย่างถูกต้อง 002023.02 96969

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- การถ่ายทอดความรู้




- การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล




- การนำเสนอข้อมูลและรายงานผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- การจัดการสิ่งแวดล้อม




- การจัดการของเสีย




- ความรู้เบื้องต้นด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม




- กฎหมายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเบื้องต้น




- ความเสี่ยงของการทำงานงาน/ลักษณะงาน/สถานที่ทำงานต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน




- หลักการประเมินความเสี่ยง (risk assessment)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ




2. เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์ 




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ




- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการทำงานต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่ เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้




(ง)  วิธีการประเมิน




วิธีการประเมินหน่วยสมรรถนะอาจจะทำโดย การสอบข้อเขียน และการ โดยในแต่ละระดับชั้นคุณวุฒิจะใช้วิธีการประเมินที่แตกต่างกัน ดังนี้ 




คุณวุฒิชั้น 5  ประเมินโดยการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์




คุณวุฒิชั้น 6  ประเมินโดยการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




การติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมถึงการจัดทำระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และระบบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่งานที่รับผิดชอบ การติดตามการใช้งานของแผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น และการมีส่วนร่วมในจัดทำแผนฉุกเฉินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และแผนการป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




- แผนจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อม หมายถึงการควบคุม การลด และการป้องกันความเสี่ยง




- หลักการประเมินความเสี่ยง (risk assessment) หมายถึง การประเมินความเสี่ยง เป็นขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงานที่ครอบคลุมสถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร และขั้นตอนการทำงาน ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน




-  รายงานผลและสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ จำนวนวันที่ไม่มีอุบัติเหตุ  การแยกขยะผิด  การจัดการขยะไม่ถูกต้อง เป็นต้น




- กิจกรรม หรือ แผนจัดการความเสี่ยง ได้แก่  กิจกรรมการลดอุบัติเหตุของหน่วยงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายหลักของบริษัท กิจกรรมด้านพลังงาน กิจกรรมความปลอดภัยของพนักงานในที่ทำงาน




- ทีมงานที่เกี่ยวข้องกับแผนฉุกเฉิน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ช่าง ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ พยาบาล




ความถูกต้องของการซ้อมแผนฉุกเฉิน  ได้แก่ การอพยพช้า การเดินเพื่อไปจุดรวมผลที่ไม่เป็นระเบียบ




- ทีมงานซ้อมแผนฉุกเฉิน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ผู้อำนวยสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ค้นหา พยาบาล คนขับรถ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย




- ความเสี่ยงของการทำงาน/ลักษณะงาน/สถานที่ทำงานที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ การทำงานกับสารเคมี การทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม การตรวจคลื่นหัวใจสำหรับคนทำงานในสภาพแวดล้อมที่เย็น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติของการติดตามการปฏิบัติงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดย การสัมภาษณ์



 


ยินดีต้อนรับ