หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AGP-4-035ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO-08: 7233 ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำโรงงาน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ ทักษะในการวางแผนการปฏิบัติงานตามวิธีการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีที่กำหนดไว้แล้ว ทั้งในการบริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน รวมถึงสามารถแก้ไขปัญหาในบริบทที่คาดการณ์ปัญหาได้ ปรับใช้หลักการหาข้อสรุปประเด็นปัญหาและตัดสินใจงานในหน้าที่ได้ด้วยตนเอง ประสานการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพผลงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร (ISIC : D2921)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-  มกษ. 4403-2553 หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว-  มอก.888-2532 เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204021 บริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในการผลิต 1. จัดเตรียมความพร้อมของอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในการผลิต 204021.01 97133
204021 บริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในการผลิต 2. ออกแบบ Check list ข้อมูลอะไหล่ 204021.02 97134
204022 วิเคราะห์ผลการประเมินการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 1. วิเคราะห์และประเมินผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักรแต่ละประเภทหลังการซ่อมในกรณีฉุกเฉิน 204022.01 97135
204022 วิเคราะห์ผลการประเมินการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 2. ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรตามข้อกำหนดของเครื่องจักรแต่ละประเภทได้ 204022.02 97136
204023 ควบคุมและกำกับดูแลอะไหล่ที่เกี่ยวข้องสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉิน 1. ออกแบบ Checklist การซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตหลังการซ่อมในกรณีฉุกเฉิน 204023.01 97137
204023 ควบคุมและกำกับดูแลอะไหล่ที่เกี่ยวข้องสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉิน 2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังการเปลี่ยนอะไหล่ 204023.02 97138

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


-  มีความรู้และทักษะการคำนวณคณิตศาสตร์เบื้องต้นด้วยตนเอง  หรือใช้เครื่องคำนวณ




-  มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี




-  มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีเบื้องต้นตามคู่มือการใช้งานได้




-  มีความรู้และทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel และ Microsoft Powerpoint เป็นต้น





13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล




- ทักษะการทำความสะอาดสถานที่  อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร




- ทักษะการใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสีข้าว




- ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน และอ่านค่าพารามิเตอร์เบื้องต้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี




- ทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า




- ทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับเครื่องกล




- ทักษะการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด  และสารทำความสะอาด




- ทักษะในการทำงานเป็นทีม




- ทักษะในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล




- หลักการทำความสะอาดสถานที่ และเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน




- วิธีการใช้งาน และการเก็บรักษาอุปกรณ์ทำความสะอาด และสารทำความสะอาดที่ใช้ทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงาน




- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี




- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- ผลการสอบสาธิตการทำงาน




- ใบรับรองประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปี จากสถานประกอบการที่เกี่ยวกับโรงสี หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือ สถานที่แปรรูปอาหาร




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




-   ผลการสอบข้อเขียน




-   ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าการศึกษาในระบบระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ในปีที่สำเร็จการศึกษา) (ถ้ามี)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ




- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการทำงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี หรือ เป็นผู้มีคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี ระดับ 4




- ชนิดของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีที่เลือกใช้เพื่อการสอบสาธิตการทำงาน มี 6 ชนิด คือ เครื่องทําความสะอาดเบื้องตน เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องขัดสี เครื่องคัดขนาด เครื่องคัดแยกขาว และกะพอลําเลียง (Bucket elevator)




- ผู้เข้ารับการประเมินโดยวิธีการสาธิตการทำงาน สามารถเลือกชนิดของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี 3 ชนิด  เพื่อการทดสอบตามคู่มือ และให้แจ้งความจำนงแก่เจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นใบรับสมัครเพื่อขอเข้ารับการประเมิน




- ผู้เข้ารับการประเมินโดยวิธีการสังเกตการปฏิบัติงาน สามารถประเมินในเครือข่ายสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ทดสอบฯ กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การ) มหาชน




(ง)  วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน




- การสอบสัมภาษณ์




- การสอบสาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




การทดสอบวิธีการบริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน โดยหมายรวมถึง การบริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในการผลิต การวิเคราะห์ผลการประเมินการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน และการควบคุมและกำกับดูแลอะไหล่ที่เกี่ยวข้องสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉินให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1)  เครื่องจักร:




    -  เครื่องจักร: เครื่องทําความสะอาดเบื้องต้น เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องขัดสี เครื่องคัดขนาด เครื่องคัดแยกข้าว และกะพ้อลําเลียง (Bucket elevator)




2)  สถานที่:




     -  โรงสีที่ได้มาตรฐาน




3)  มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง




    -  มกษ. 4403-2553 หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




4)  สิ่งอำนวยความสะดวก ครอบคลุมทั้งระบบไฟฟ้า แสงสว่าง และระบบระบายอากาศ รวมถึงห้องสุขา และอ่างล้างมือ




5)  อุปกรณ์และสารทำความสะอาด




6)  อุปกรณ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย หมวก ตาข่ายคลุมผม ผ้าปิดปาก ถุงมือ หน้ากากป้องกันฝุ่น และอุปกรณ์ป้องกันเสียง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้  ทักษะ  และเจตคติของการบริหารอะไหล่ที่เกี่ยวข้องในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน เพื่อการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี โดยใช้วิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสอบสัมภาษณ์ หรือ การสาธิตการทำงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ     



 


ยินดีต้อนรับ