หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AGP-3-029ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ISCO-08: 7233 ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำโรงงาน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ ทักษะในการควบคุมการปฏิบัติงานตามวิธีการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีที่กำหนดไว้แล้ว ทั้งในการซ่อมบำรุงในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน รวมถึงสามารถนำเทคนิคในการประยุกต์หลักการเลือกใช้และทำงานตามมาตรฐาน แก้ปัญหาทางเทคนิคหน้างานควบคู่กับการใช้คู่มือ เข้าใจและอธิบายสาระสำคัญของงานด้วยหลักการที่ถูกต้อง ใช้สารสนเทศเพื่อควบคุมคุณภาพของผลงาน ภายใต้การแนะแนวของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร (ISIC : D2921)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-  มกษ. 4403-2553 หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว-  มอก.888-2532 เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
203031 ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันถ่วงทีในกรณีเครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ 1. ดำเนินการและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีเครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ 203031.01 97116
203031 ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันถ่วงทีในกรณีเครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ 2. แก้ไขปัญหาเบื้องต้น 203031.02 97117
203032 ประเมินการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 1. แยกประเภทการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 203032.01 97118
203032 ประเมินการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 2. ควบคุมการนำระเบียบขั้นตอนการซ่อมบำรุงในกรณีฉุกเฉินที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของเครื่องจักรแต่ละประเภท 203032.02 97119
203033 รวบรวมปัญหาด้านการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 1. รวบรวมปัญหาด้านการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉิน 203033.01 97120
203033 รวบรวมปัญหาด้านการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน 2. จัดทำรายงานผลการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉิน 203033.02 97121

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


-  มีความรู้และทักษะการคำนวณคณิตศาสตร์เบื้องต้นด้วยตนเอง  หรือใช้เครื่องคำนวณ




-  มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี




-  มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีเบื้องต้นตามคู่มือการใช้งานได้




-  มีความรู้และทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เช่น Microsoft Word, Microsoft excel เป็นต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล




- ทักษะการทำความสะอาดสถานที่  อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร




- ทักษะการใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสีข้าว




- ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับวิธีการใช้งาน และอ่านค่าพารามิเตอร์เบื้องต้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี




- ทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า




- ทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวกับเครื่องกล




- ทักษะการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด  และสารทำความสะอาด




- ทักษะในการทำงานเป็นทีม




- ทักษะในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล




- หลักการทำความสะอาดสถานที่ และเครื่องจักรในการปฏิบัติงาน




- วิธีการใช้งาน และการเก็บรักษาอุปกรณ์ทำความสะอาด และสารทำความสะอาดที่ใช้ทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติงาน




- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี




- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- ผลการสอบสาธิตการทำงาน




- ใบรับรองประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จากสถานประกอบการที่เกี่ยวกับโรงสี หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือ สถานที่แปรรูปอาหาร




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




-   ผลการสอบข้อเขียน




-   ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับ หรือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ในปีที่สำเร็จการศึกษา) (ถ้ามี)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ




- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการทำงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 2 ปี หรือ เป็นผู้มีคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอาชีพนักซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี ระดับ 3




- ชนิดของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสีที่เลือกใช้เพื่อการสอบสาธิตการทำงาน มี 6 ชนิด คือ เครื่องทําความสะอาดเบื้องตน เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องขัดสี เครื่องคัดขนาด เครื่องคัดแยกขาว และกะพอลําเลียง (Bucket elevator)




- ผู้เข้ารับการประเมินโดยวิธีการสาธิตการทำงาน สามารถเลือกชนิดของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี 2 ชนิด  เพื่อการทดสอบตามคู่มือ และให้แจ้งความจำนงแก่เจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นใบรับสมัครเพื่อขอเข้ารับการประเมิน




- ผู้เข้ารับการประเมินโดยวิธีการสังเกตการปฏิบัติงาน สามารถประเมินในเครือข่ายสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ทดสอบฯ กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การ) มหาชน




(ง)  วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน




- การสอบสัมภาษณ์




- การสอบสาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




การทดสอบวิธีการควบคุมการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน โดยหมายรวมถึง การตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างทันถ่วงทีในกรณีเครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ การประเมินการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉิน และการรวบรวมปัญหาด้านการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉินให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1)  เครื่องจักร:




    -  เครื่องจักร: เครื่องทําความสะอาดเบื้องต้น เครื่องกะเทาะเปลือก เครื่องขัดสี เครื่องคัดขนาด เครื่องคัดแยกข้าว และกะพ้อลําเลียง (Bucket elevator)




2)  สถานที่:




     -  โรงสีที่ได้มาตรฐาน




3)  มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง




    -  มกษ. 4403-2553 หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




    -  มอก.888-2532 เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก




4)  สิ่งอำนวยความสะดวก ครอบคลุมทั้งระบบไฟฟ้า แสงสว่าง และระบบระบายอากาศ รวมถึงห้องสุขา และอ่างล้างมือ




5)  อุปกรณ์และสารทำความสะอาด




6)  อุปกรณ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคล ประกอบด้วย หมวก ตาข่ายคลุมผม ผ้าปิดปาก ถุงมือ หน้ากากป้องกันฝุ่น และอุปกรณ์ป้องกันเสียง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้  ทักษะ  และเจตคติของการควบคุมการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วน เพื่อการซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับโรงสี โดยใช้วิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสอบสัมภาษณ์ หรือ การสาธิตการทำงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ     



 


ยินดีต้อนรับ