หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AGP-5-018ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ไม่ระบุ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ ทักษะในการวางแผนและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด  รวมถึงสามารถจัดการแก้ไขปัญหาในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง   มีความเป็นผู้นำ จัดการผลิตภาพการทำงาน ถ่ายทอด สอนงาน และกำกับดูแลผู้ร่วมงานให้บรรลุงานตามแผนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4401-2551)- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4403-2553)- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4004-2560)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
105011 วางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบ 1. จัดทำแผนการสุ่มตัวอย่างและเทคนิคการสุ่มให้เป็นไปตามที่กำหนด 105011.01 97059
105011 วางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบ 2. จัดทำแผนการตรวจสอบวัตถุดิบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด 105011.02 97060
105011 วางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบ 3. จัดการกำลังคนสำหรับการตรวจสอบวัตถุดิบให้เพียงพอ 105011.03 97061
105011 วางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบ 4. ออกแบบ check list ในการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ 105011.04 97062
105012 ออกแบบแผนการตรวจสอบสุขลักษณะตามมาตรฐาน GMP 1. จัดทำแผนการตรวจสอบสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติงานเช่น มีการสุ่มตรวจสุขลักษณะส่วนบุคคล 105012.01 97063
105012 ออกแบบแผนการตรวจสอบสุขลักษณะตามมาตรฐาน GMP 2. จัดทำแผนการตรวจสอบสุขลักษณะของสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน GMP 105012.02 97064
105013 มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ 1. รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ 105013.01 97065
105013 มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ 2. กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพของวัตถุดิบ 105013.02 97066
105013 มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ 3. ติดตามและประเมินผลการแก้ไขและวางมาตรการป้องกันปัญหาที่เกี่ยวกับวัตถุดิบ 105013.03 97067
105013 มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ 4. นำเสนอแนวทางความเป็นไปได้ในการปรับปรุงปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ 105013.04 97068
105014 ทวนสอบและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบ 1. ทบทวนและทวนสอบกระบวนการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ 105014.01 97069
105014 ทวนสอบและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบ 2. ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ 105014.02 97070

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


-  มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี




-  มีความรู้และทักษะการในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์




-  มีความรู้และทักษะการในการสืบค้นข้อมูล




- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบตามที่มาตรฐานกำหนด




- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจสอบวัตถุดิบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


- ทักษะการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล




- ทักษะในการสร้างทีมงานและสื่อสารภายในและระหว่างหน่วยงาน




- ทักษะในการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน




- ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เช่น Microsoft Word, Microsoft excel, Microsoft PowerPoint เป็นต้น




- ทักษะในการใช้โปรแกรมทางสถิติ  เช่น Minitab หรือ SPSS เป็นต้น




- ทักษะในการวางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบตามที่มาตรฐานกำหนด




- ทักษะในการจัดการกำลังคนสำหรับการตรวจสอบวัตถุดิบให้เพียงพอ




- ทักษะในการออกแบบ check list ในการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


- ความรู้พื้นฐานตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล




- ความรู้ในการสร้างทีมงานและสื่อสารภายในและระหว่างหน่วยงาน




- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบตามที่มาตรฐานกำหนด




- ความรู้ในการออกแบบแผนการตรวจสอบสุขลักษณะตามมาตรฐาน GMP


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




- ผลการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์




- ใบรับรองประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จากสถานประกอบการที่เกี่ยวกับโรงสี หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือ สถานที่แปรรูปอาหาร




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




- ผลการสอบข้อเขียน




- ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและปริญญาตรี (ในปีที่สำเร็จการศึกษา) (ถ้ามี)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




- การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ




- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน




- ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำแฟ้มสะสมผลงานมาใช้เพื่อประกอบเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ระหว่างการสอบสัมภาษณ์




- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในสาขาอาชีพการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพข้าวอย่างน้อย 2 ปี




(ง)  วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน




- การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)


 (ก) คำแนะนำ




การทดสอบการวางแผนและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบ โดยหมายรวมถึง การวางแผนและออกแบบการสุ่มตัวอย่างและการตรวจสอบวัตถุดิบ และมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัตถุดิบ  พร้อมทั้งทวนสอบและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




    1)  มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง




-  หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP)




- มาตรฐานสินค้าเกษตร : หลักเกณฑ์การปฏิบัติ หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (มกษ. 9023-2550)




- มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว (มกษ. 4403-2553)




- มาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย (มกษ. 4004-2560)





16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติของการวางแผนและกำกับดูแลคุณภาพของวัตถุดิบ โดยใช้วิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสอบสัมภาษณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



 


ยินดีต้อนรับ