หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบวัตถุดิบ

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AGP-2-003ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบวัตถุดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ไม่ระบุ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ ทักษะฝีมือในการปฏิบัติตามวิธีการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบที่กำหนดไว้แล้ว โดยตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกสำหรับโรงสี และข้าวสารสำหรับโรงปรับปรุงตุณภาพข้าวได้ตามหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว และข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย ได้ตามมาตรฐาน ภายใต้การแนะนำของหัวหน้างาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4401-2551)- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4403-2553)- ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 (มกษ. 4004-2560)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102011 ตรวจสอบแหล่งผลิตหรือ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ 1. ตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบเช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร ตามใบรับรอง โดยต้องมาจากแหล่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับข้าว(มกษ. 4401) หรือตรวจสอบตามที่โรงสีกำหนด 102011.01 96995
102011 ตรวจสอบแหล่งผลิตหรือ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ 2. ตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร ตามที่โรงสีกำหนด 102011.02 96996
102012 เตรียมอุปกรณ์และ เครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 1. เตรียมเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกเช่น เครื่องวัดความชื้น เครื่องชั่ง เครื่องกะเทาะ ข้าวเปลือก เครื่องขัดข้าว และตะแกรงกลมคัดแยกข้าวหักให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 102012.01 96997
102012 เตรียมอุปกรณ์และ เครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 2. เตรียมเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพข้าวสาร เช่น เครื่องวัดความชื้นเครื่องชั่ง และตะแกรงกลม คัดแยกข้าวหักให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 102012.02 96998
102012 เตรียมอุปกรณ์และ เครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 3. เตรียมชุดอุปกรณ์ตรวจสอบปริมาณแอมิโลสตามคู่มือการปฏิบัติงาน 102012.03 96999
102012 เตรียมอุปกรณ์และ เครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 4. ปรับตั้งค่าเครื่องชั่งให้ถูกต้องและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 102012.04 97000
102012 เตรียมอุปกรณ์และ เครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 5. ปรับตั้งค่าเครื่องวัดความชื้นให้ถูกต้องและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 102012.05 97001
102012 เตรียมอุปกรณ์และ เครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 6. ทำบันทึกประจำวันให้ครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด 102012.06 97002
102013 สุ่มตัวอย่างและตรวจ สอบคุณภาพวัตถุดิบ 1. สุ่มตัวอย่างวัตถุดิบที่เป็นตัวแทนที่ดีตามมาตรฐานสินค้าเกษตร(มกษ. 4004-2560) ตามภาคผนวก ค 102013.01 97003
102013 สุ่มตัวอย่างและตรวจ สอบคุณภาพวัตถุดิบ 2. ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบตามมาตรฐานมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 4004-2560)ตามภาคผนวก ข 102013.02 97004
102013 สุ่มตัวอย่างและตรวจ สอบคุณภาพวัตถุดิบ 3. ตรวจสอบมอด แมลง และสัตว์พาหะนำเชื้อ และหากพบแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบเพื่อดำเนินการกำจัดและป้องกัน 102013.03 97005
102013 สุ่มตัวอย่างและตรวจ สอบคุณภาพวัตถุดิบ 4. แบ่งตัวอย่างที่สุ่มได้แป็น2 ส่วน บรรจุลงในถุงปิดสนิทเพื่อส่งห้องปฏิบัติการและใช้ในการทวนสอบ 102013.04 97006
102013 สุ่มตัวอย่างและตรวจ สอบคุณภาพวัตถุดิบ 5. บันทึกผลโดยใช้ check list ในการตรวจสอบวัตถุดิบ 102013.05 97007

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- มีความรู้และทักษะการคำนวณคณิตศาสตร์เบื้องต้นด้วยตนเองหรือใช้เครื่องคำนวณ




- มีความรู้และทักษะการสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี




- มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบตามที่มาตรฐานกำหนด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


-  ทักษะการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล




 -  ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน




- ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบตามที่มาตรฐานกำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


-  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการผลิตอาหาร




 -  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและสื่อสารระดับพื้นฐาน




- วิธีใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบข้าวเปลือกตามที่มาตรฐานกำหนด




- ชนิดและลักษณะของวัตถุดิบข้าวเปลือกและข้าวสาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




-  ผลการสอบสาธิตการทำงาน




- ใบรับรองประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จากสถานประกอบการที่เกี่ยวกับโรงสี หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปข้าว หรือ อุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หรือ โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือ สถานที่แปรรูปอาหาร




(ข)หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




-  ผลการสอบข้อเขียน




-  ใบรับรองคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าการศึกษาในระบบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ในปีที่สำเร็จการศึกษา)หรือ ไม่ต่ำกว่าการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ในปีที่สำเร็จการศึกษา) (ถ้ามี)




(ค)คำแนะนำในการประเมิน




-การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน หรือ หลักฐานความรู้ตามที่ระบุ




- การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสาธิตการทำงาน ต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนและมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน




- เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในสาขาอาชีพการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือผลผลิตทางการเกษตร อย่างน้อย 1 ปี




- ชนิดของข้าวเปลือกที่เลือกใช้เพื่อการสอบสาธิตการทำงาน มี 2  ชนิด คือ ข้าวเปลือกสดและข้าวเปลือกแห้ง




- ชนิดของข้าวสารที่เลือกใช้เพื่อการสอบสาธิตการทำงาน มี 4  ชนิด คือ ข้าวเจ้ามนุ่ม ข้าวเจ้าร่วน ข้าวเจ้าแข็ง และข้าวเหนียว




- ผู้เข้ารับการประเมินโดยวิธีการสาธิตการทำงาน สามารถเลือกชนิดของวัตถุดิบ ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร 1 ชนิดเพื่อทำการทดสอบ ตามคู่มือ และให้แจ้งความจำนงแก่เจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นใบรับสมัครเพื่อขอเข้ารับการประเมิน




- ผู้เข้ารับการประเมินโดยวิธีการสังเกตการปฏิบัติงาน สามารถประเมินในเครือข่ายสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ทดสอบฯ กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การ) มหาชน




(ง)  วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน และ




- สอบสัมภาษณ์หรือการสอบสาธิตการทำงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ




การทดสอบวิธีการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกและข้าวสาร โดยครอบคลุมถึง การตรวจสอบแหล่งผลิตหรือ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือตรวจคุณภาพวัตถุดิบ และการสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามวิธีการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




    1)  วัตถุดิบ หมายถึง




  -  ข้าวเปลือก  สำหรับโรงสีข้าว




  -  ข้าวสาร  สำหรับโรงปรับปรุงคุณภาพข้าว




    2)  อุปกรณ์ เครื่องมือ:




   -  อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างข้าวเปลือก




  -  เครื่องวัดความชื้น เครื่องชั่ง เครื่องกะเทาะ ข้าวเปลือก เครื่องขัดข้าว และตะแกรงกลม คัดแยกข้าวหัก รวมทั้งชุดอุปกรณ์ตรวจสอบ ปริมาณแอมิโลสตามคู่มือการปฏิบัติงาน




   3)  สถานที่:




  -  โรงสีที่ได้มาตรฐาน




  4)  มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง




  -  หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP)




  - มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าว (มกษ. 4403-2553)




  - มาตรฐานสินค้าเกษตร : ข้าวไทย (มกษ. 4004-2560)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติของการตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก ข้าวสาร โดยใช้วิธีการทดสอบข้อเขียน และ การสัมภาษณ์ หรือ การสาธิตการทำงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ







 



ยินดีต้อนรับ