หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบกระบวนการ ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-FID-5-048ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบกระบวนการ ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส สามารถออกแบบกระบวนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสได้อย่างเหมาะสม บริหารจัดการทรัพยากรด้านบุคคล ตัวอย่างสำหรับการประเมิน และงบประมาณ สามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีความรู้และทักษะบริหารจัดการการดำเนินงานการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 เรื่อง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการ ผู้สัมผัสอาหาร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50101 เลือกประเภทและวิธีในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 1.เลือกประเภทในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดในแผนการดำเนินงาน 50101.01 88648
50101 เลือกประเภทและวิธีในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2.เลือกวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามแผนการดำเนินงาน 50101.02 88649
50102 เลือกลักษณะทางประสาทสัมผัสของอาหาร (Sensory Characteristic) 1.อธิบายลักษณะของอาหารได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ทำการประเมินในแผนการดำเนินงาน 50102.01 88650
50102 เลือกลักษณะทางประสาทสัมผัสของอาหาร (Sensory Characteristic) 2.กำหนดลักษณะที่ต้องการประเมินได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ทำการประเมินในแผนการดำเนินงาน 50102.02 88651
50103 กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน 1.วางแผนและเขียนแผนการดำเนินงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ทำการประเมิน 50103.01 88652
50103 กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน 2. มอบหมาย (assign)แผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติและให้คำปรึกษา/แนะนำ ผู้ปฏิบัติงาน ได้อย่างชัดเจน 50103.02 88653
50104 กำหนดวิธีการประเมินผลทางสถิติ 1.กำหนดวิธีการประเมินและแปลผลทางสถิติให้ถูกต้องตามวิธีการประเมินและวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามแผนการดำเนินงาน 50104.01 88654
50104 กำหนดวิธีการประเมินผลทางสถิติ 2. พิจารณาความถูกต้องของผลการประเมินผลทางสถิติ 50104.02 88655

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะในการเลือกประเภทการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
2. ทักษะในการเลือกวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
3. ทักษะในการวางแผนการดำเนินงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
4. ทักษะในการมอบหมายแผนการดำเนินงานสู่การปฏิบัติ
5. ทักษะในการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้อื่น
6. ทักษะในการสรุปผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
7. ทักษะในการนำเสนอผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้และเข้าใจพื้นฐานทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาของบุคคลที่จะมาเป็นผู้ประเมิน
2. ความรู้เกี่ยวกับประเภทการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
4. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนและเขียนแผนการดำเนินงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส
5. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านผลและแปลผลทางสถิติของคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
ไม่มี
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ไม่มี
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
N/A
(ง) วิธีการประเมิน
  - การสอบข้อเขียน 


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(ก) คำแนะนำ
หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
- ประเภทของการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  1. Analytical Tests โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ วิธีการประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ลักษณะทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์เชิงพรรณนา
  2. Affective Tests ได้แก่ วิธีการประเมินความชอบและการยอมรับผลิตภัณฑ์ หมายถึง การประเมินความรู้สึกของผู้ทดสอบว่าชอบผลิตภัณฑ์หนึ่งมากกว่าอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง วิธีการประเมินความชอบ ได้แก่ วิธีการเปรียบเทียบตัวอย่างคู่เพื่อหาความชอบ (Paired Preference test) และวิธีการเรียงลำดับความชอบ (Preference Ranking test) และ วิธีการทดสอบการยอมรับที่นิยมใช้ในการประเมินได้แก่ วิธีคะแนนความชอบ (Hedonic Scaling) และวิธีการวัดความพอดี (Just About Right Scale - JAR)
- การแบ่งตามประเภทความแตกต่างเป็นการแบ่งความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่ผู้ทดสอบสามารถรับรู้ได้โดยแบ่งเป็น
  • ความแตกต่างโดยรวมของผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่มีลักษณะเฉพาะที่ชี้ชัดตัวอย่างวิธีการประเมินเช่นวิธีการเลือกตัวอย่างคี่จากสามตัวอย่าง (Triangle test) วิธีการเปรียบเทียบตัวอย่างคู่กับตัวอย่างอ้างอิง (Duo-Trio test) และวิธีการเลือกสองตัวอย่างจากห้าตัวอย่าง (Two out of Five test) เป็นต้นดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1
  • ความแตกต่างตามลักษณะทางประสาทสัมผัสซึ่งจะประเมินความแตกต่างในลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างวิธีการประเมินเช่นวิธีการเปรียบเทียบตัวอย่างคู่แบบมีทิศทาง (2-AFC) และวิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างจากตัวอย่างควบคุม (Difference from Control test) เป็นต้นดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1



































































 วิธีการ



   ประเภทความแตกต่าง



   จำนวนผลิตภัณฑ์     



   การประเมินของผู้ทดสอบ   



วิธีการเลือกตัวอย่างที่จากสามตัวอย่าง



ความแตกต่างโดยรวม



2



ให้อิสระในการตัดสินใจ



วิธีการเปรียบเทียบตัวอย่างคู่กับตัวอย่างอ้างอิง



ความแตกต่างโดยรวม



2



ให้อิสระในการตัดสินใจ



วิธีการเลือกสองตัวอย่างจากห้าตัวอย่าง



ความแตกต่างโดยรวม



2



ให้อิสระในการตัดสินใจ



วิธีการประเมินแบบ "A"ไม่ใช่ "A"



ความแตกต่างโดยรวม



2



ให้อิสระในการตัดสินใจ



วิธีการเปรียบเทียบ ตัวอย่างคู่อย่างง่าย



ความแตกต่างโดยรวม



2



ให้อิสระในการตัดสินใจ



วิธีการเปรียบเทียบ ตัวอย่างคู่แบบมีทิศทาง



ความแตกต่างตามลักษณะที่กำหนด



2



ให้อิสระในการตัดสินใจ



วิธีการเปรียบเทียบ ความแตกต่างจากตัวอย่างควบคุม



ความแตกต่างตามลักษณะที่กำหนด



2 หรือ มากกว่า



บังคับให้ตัดสินใจ



วิธีการเรียงลำดับความเข้มของลักษณะที่กำหนด



ความแตกต่างตามลักษณะที่กำหนด



2 หรือ มากกว่า



บังคับให้ตัดสินใจ



วิธีการให้คะแนนตามความเข้มของลักษณะที่กำหนด



ความแตกต่างตามลักษณะที่กำหนด



2 หรือ มากกว่า



บังคับให้ตัดสินใจ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ข้อสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ