หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการดำเนินงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-FID-4-046ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการดำเนินงานการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการดำเนินงานการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด ได้แก่ การปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน การควบคุมการดำเนินงาน การวิเคราะห์ผลทางสถิติ การเขียนรายงานผลการประเมิน การกำกับดูแลบุคลากรในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส การคัดเลือกผู้ทดสอบ จัดทำทะเบียนผู้ทดสอบ การจัดจำนวนผู้ปฏิบัติงานและติดตามผลและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส    หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีความรู้และทักษะการควบคุมการดำเนินงานการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 เรื่อง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40101 ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน 1.กำหนดเลขรหัสตัวอย่างและวิธีสุ่มลำดับการเสิร์ฟได้ถูกต้องตามวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสหรือตามแผนการทดลองทางสถิติ 40101.01 88633
40101 ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน 2.จัดทำแบบประเมินที่ถูกต้องสอดคล้องวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสและประเภทผลิตภัณฑ์ 40101.02 88634
40101 ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน 3. กำหนดแผนการปฐมนิเทศ(Orientation) ของผู้ประเมิน 40101.03 88635
40102 ควบคุมการดำเนินงาน 1.ควบคุมสภาวะที่เหมาะสม สถานที่เตรียมตัวอย่างและสถานที่ประเมิน 40102.01 88636
40102 ควบคุมการดำเนินงาน 2. ควบคุมคุณภาพตัวอย่างให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสมตามที่กำหนดในวัตถุประสงค์ของแผนการดำเนินงาน 40102.02 88637
40102 ควบคุมการดำเนินงาน 3. ควบคุมความสะอาดของสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือในการประเมินพร้อมทั้งคำนึงถึงสภาพความปลอดภัย ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน 40102.03 88638
40103 วิเคราะห์ผลทางสถิติ 1.วิเคราะห์ผลทางสถิติได้ถูกต้องตามวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 40103.01 88639
40103 วิเคราะห์ผลทางสถิติ 2.แปลผลทางสถิติของผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสให้สอดคล้องกับวิธีการทดสอบ 40103.02 88640
40103 วิเคราะห์ผลทางสถิติ 3.สรุปผลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน 40103.03 88641
40104 เขียนรายงานผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 1.เขียนรายงานผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัสได้อย่างถูกต้องตามวิธีการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 40104.01 88642
40104 เขียนรายงานผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2.นำเสนอผลการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 40104.02 88643

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะในการควบคุมสภาวะที่เหมาะสมของสถานที่ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส




2. ทักษะในการควบคุมคุณภาพตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส




3. ทักษะในการเขียนรายงานผล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเลขรหัสตัวอย่าง และวิธีสุ่มลำดับการเสิร์ฟ




2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแบบทดสอบ




3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดแผนการปฐมนิเทศ (Orientation) ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส




4. ความรู้และเข้าใจพื้นฐานทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาของบุคคลที่จะมาเป็นผู้ประเมิน ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมสภาวะที่เหมาะสมของสถานที่ประเมิน




5. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของตัวอย่าง




6. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประเมิน




7. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลทางสถิติเบื้องต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




ไม่มี




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ไม่มี




      (ค) คำแนะนำในการประเมิน




  N/A




      (ง) วิธีการประเมิน




- การสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง




      (ก) คำแนะนำ




  หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ




  (ข) คำอธิบายรายละเอียด




- รหัสตัวอย่าง  หมายถึง การเขียนเลขรหัสตัวอย่างเป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อลดอคติของผู้ทดสอบและเพื่อสะดวกในการเสิร์ฟตัวอย่าง นิยมใช้เลขรหัส 3 หลัก และการเขียนรหัสตัวอย่างควรเขียนบนสติ๊กเกอร์และติดบนภาชนะ ไม่ควรใช้มาร์เกอร์หรือปากกาเคมีที่มีกลิ่นรบกวนตัวอย่างขณะที่ทำการประเมิน




- วิธีสุ่มลำดับการเสิร์ฟ  หมายถึง ลำดับในการเสิร์ฟจะส่งผลกระทบต่อความเข้าใจและมีผลทางด้านจิตวิทยาของผู้ทดสอบ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวจึงมีการสุ่มตัวอย่างอย่างสมดุล โดยทุกตัวอย่างต้องได้รับโอกาสที่จะอยู่ในลำดับการเสิร์ฟต่างๆ ของการประเมินเท่ากัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


การใช้ข้อสอบข้อเขียน



 


ยินดีต้อนรับ