หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-FID-2-043ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ทดสอบ เพื่อเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส หน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสตามมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎกระทรวง เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4 เรื่อง สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111 เตรียมความพร้อมของตนเองก่อนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 1.สภาพร่างกายและจิตใจก่อนเข้าสู่การประเมิน 20111.01 88608
20111 เตรียมความพร้อมของตนเองก่อนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2. มาตรงตามเวลาที่ได้นัดหมาย 20111.02 88609
20112 ปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 1.อธิบายคุณสมบัติของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 20112.01 88610
20112 ปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส 2. ตรวจสอบตัวอย่างให้ถูกต้องตามแบบประเมิน 20112.02 88611

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะในการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส




2. ทักษะในการปฏิบัติตนตามคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส




2. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




ไม่มี




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ไม่มี




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  N/A




(ง) วิธีการประเมิน




- การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง




(ก) คำแนะนำ




  หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ




 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




- การเตรียมความพร้อมของตนเองก่อนการประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส หมายถึง การปฏิบัติตนของผู้ประเมิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ดังนี้




1.ทำความสะอาดร่างกายให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม และสวมเสื้อคลุมที่สะอาด




2.ถอดเครื่องประดับก่อนการปฏิบัติงาน




3.ล้างมือให้สะอาดก่อนเริ่มปฏิบัติงาน




4.ใช้ถุงมือที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และสะอาดถูกสุขลักษณะเพื่อจับอาหาร




5.สวมหมวกหรือผ้าคลุมผม




6.สวมรองเท้าที่สะอาด




7.ไม่ใส่ของที่ร่วงหล่นง่ายลงในกระเป๋าเสื้อ




8.ไม่เก็บเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัว เครื่องดื่ม และอาหารในบริเวณที่ปฏิบัติงาน




9.ไม่บริโภคอาหาร สูบบุหรี่ เคี้ยวหมาก บ้วนน้ำลาย ในระหว่างที่ปฏิบัติงาน




10.ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นหวัด ไอ จาม น้ำมูกไหล ท้องเสีย ควรละเว้นการปฏิบัติงานชั่วคราว 




- คุณสมบัติของผู้ประเมินคุณภาพอาหารด้านประสาทสัมผัส ได้แก่




1. สุขภาพแข็งแรง




2. มีความสนใจและกระตือรือร้น




3.มีเวลาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม




4. ความสามารถในการสื่อสาร




5. ทัศนคติที่ดี




6. ความซื่อสัตย์




7. ปัจจัยอื่นๆ เช่น อาชีพ เชื้อชาติ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประสบการณ์ด้านการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการสูบบุหรี่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


การใช้ข้อสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ