หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์แนวโน้ม นำเสนอผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-AQP-6-091ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์แนวโน้ม นำเสนอผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


คุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม สาขาการแปรรูปสัตว์น้ำ อาชีพนักวิจัยและพัฒนา (การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท) ชั้น 6



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้มีความรู้ ทักษะทางเทคนิค ทักษะทางความคิด ในการวิเคราะห์ และนำเสนอแนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ตามข้อมูลความต้องการของลูกค้า และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อปรับปรุงการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (TSIC : C1022)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 349) พ.ศ. 2556 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการ    ผลิต และการเก็บรักษาอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
302041 วิเคราะห์ และนำเสนอแนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ 3020411 แนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ถูกวิเคราะห์ความเป็นไปได้อย่างถูกต้อง 302041.01 89380
302041 วิเคราะห์ และนำเสนอแนวโน้มผลิตภัณฑ์ใหม่ 3020412 แนวคิดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการนำเสนอถูกคัดเลือกเพื่อนำไปพัฒนาอย่างถูกต้อง 302041.02 89381
302042 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ตามข้อมูลของลูกค้า 3020421 ข้อมูลของลูกค้าถูกวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างถูกต้อง 302042.01 89382
302042 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ตามข้อมูลของลูกค้า 3020422 ข้อมูลของลุกค้าถูกวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงแก้ไขการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างถูกต้อง 302042.02 89383
302043 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต 3020431 ปัญหาของกระบวนการผลิตถูกวิเคราะห์ตามกระบวนการผลิตอย่างถูกต้อง 302043.01 89384
302043 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต 3020432 วิธีการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตถูกดำเนินการแก้ไขอย่างถูกต้อง 302043.02 89385

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (วัตถุเจือปนอาหาร น้ำหนัก ปริมาณที่ควรใช้ )




- ทักษะการสืบค้นข้อมูล




- การเลือกใช้วัตถุเจือปนอาหาร




- ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท




- ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือแปรรูป




- ความรู้เกี่ยววิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัส




- ทักษะการวิเคราะห์ การตัดสินใจ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ทักษะการสืบค้นข้อมูล    

  • การเลือกใช้วัตถุเจือปนอาหาร    

  • ทักษะการวิเคราะห์ การตัดสินใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย อย. (วัตถุเจือปนอาหาร น้ำหนัก ปริมาณที่ควรใช้ )    

  • ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท    

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือแปรรูป    

  •  ความรู้เกี่ยววิธีการทดสอบทางประสาทสัมผัส


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฎิบัติงาน (Performance Evidence)    




  • เอกสารรับรองการการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)     




  • เอกสารรับรองผลการศึกษาตามที่กำหนดในรายละเอียดกลุ่มบุคคลในอาชีพ    

  • เอกสารรับรองการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบควบคุมคุณภาพและบริหารคุณภาพ หลักการปฏิบัติที่ดีในการประกอบอาหาร (GMP) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS) การใช้เครื่องมือทดสอบ เป็นต้น    

  • เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน




(ค) คำแนะนำในการประเมิน    




  • การพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะให้ใช้หลักฐานการปฏิบัติงาน และ/หรือ หลักฐานความรู้ด้านใดด้านหนึ่ง    

  • การประเมินหน่วยสมรรถนะ โดยวิธีการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ สถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวน และมีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่พร้อมใช้งานตามวิธีการประเมิน    

  • เจ้าหน้าที่สอบต้องมีประสบการณ์ในหน่วยสมรรถนะนี้    

  • ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำแฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มรวบรวมประวัติการทำงานใช้เพื่อประกอบเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ระหว่างการสอบสัมภาษณ์




(ง) วิธีการประเมิน    




  • การสอบข้อเขียน    

  • การสัมภาษณ์    

  • แฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. ความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่    




  • การผลิตหรือเทคนิค    

  • การตลาด    

  •  การบริหาร    

  •  สิ่งแวดล้อม




2.ความปลอดภัยของพนักงาน




3.ลูกค้าหรือตลาด    




  • ลูกค้าในประเทศ    

  • ลูกค้าต่างประเทศ




4. ข้อมูล    




  • ข้อมูลสินค้าที่ขายในตลาด




5.ปัญหากระบวนการผลิต (กำลังการผลิต ของเสีย การสูญเสียในระหว่างการผลิต ความเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ประเมินผลทางด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติของการวิเคราะห์แนวโน้ม นำเสนอผลิตภัณฑ์ และปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยการสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ และแฟ้มสะสมผลงาน ตามรายละเอียดที่กำหนดในคู่มือ



 


ยินดีต้อนรับ